ลูกโก่งตัว ท้องแข็ง แตกต่างกันยังไง ต้องรีบหาหมอมั้ย? - Amarin Baby & Kids
ลูกโก่งตัว

ลูกโก่งตัว VS ท้องแข็ง แตกต่างกันยังไง ต้องรีบหาหมอมั้ย?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกโก่งตัว
ลูกโก่งตัว

อาการท้องแข็งที่ต้องรีบไปหาหมอ

นอกจากท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัวแล้ว ยังมีสาเหตุของอาการท้องแข็งอื่น ๆ เช่น คุณแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดขึ้นได้จากมดลูกไม่แข็งแรง มดลูกมีโครงสร้างไม่ปกติ มีเนื้องอกมดลูก หรือเกิดจากครรภ์แฝด เด็กตัวใหญ่ น้ำคร่ำมาก หรือแม้แต่มีตกขาว มีการอักเสบของปากมดลูก ก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย และมากกว่า 30% คือมดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดย “ไม่ทราบสาเหตุ” ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตตัวเองหากหากท้องแข็งบ่อยมากกว่าปกติ หรือเดี๋ยวแข็งเดี๋ยวหายติด ๆ กันเป็นชุด ก็ควรไปหาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของอาการท้องแข็ง เช็กสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกในท้องว่าแข็งแรงดีหรือเปล่า รวมไปถึงพิจารณาการคลอดเพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกเป็นหลัก

ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ
ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ

ดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อป้องกันอาการท้องแข็ง

  • ในช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอด คุณแม่ควรเริ่มที่จะหาวิธีทำตัวเองให้ผ่อนคลาย นอนพักผ่อนให้มาก ๆ
  • หลีกเลี่ยงการเดินเยอะ ๆ หรือการเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ เพราะจะทำให้ท้องยิ่งแข็งมาก
  • หากปวดปัสสาวะควรเข้าห้องน้ำทันที เพราะการกลั้นปัสสาวะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะที่มีน้ำปัสสาวะอยู่มากไปเบียดมดลูกให้แน่นขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดท้องแข็งได้
  • ไม่ควรบิดตัวหรือบิดขี้เกียจ เพราะการเอี้ยวตัวจะทำให้ช่องท้องมีปริมาตรเล็กลง ส่งผลความดันในมดลูกสูงขึ้น ทำให้ท้องแข็งได้
  • ไม่ควรกินอาหารอิ่มมากเกินไป และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะมากกว่าปกติ อาหารไม่ย่อย ทำให้กระเพาะอาหารแน่นไปเบียดกับมดลูกได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย การมีเพศสัมพันธ์ในบางท่าอาจกระตุ้นให้มดลูกเกิดการบีบตัว
  • ช่วงนี้คุณแม่ไม่ควรลูบท้องบ่อย ๆ หรือกระตุ้นให้ลูกดิ้น เพราะการลูบท้อง รวมถึงการสัมผัสกับอวัยวะที่ไวต่อการกระตุ้นอย่างบริเวณเต้านมที่คุณแม่อาจจะสัมผัสในขณะอาบน้ำทำความสะอาดจะส่งผลให้มดลูกบีบตัวได้
  • ระมัดระวังการลุกขึ้นลุกลง เพราะการลุกตัวขึ้นตรง ๆ จะทำให้ต้องเกร็งหน้าท้องเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ก็จะส่งผลทำให้มดลูกมันบีบตัวได้และทำให้ท้องแข็งได้ ดังนั้นเวลาจะล้มตัวนอนก็ควรค่อย ๆ ตะแคงลงช้าๆ เวลาจะลุกตัวขึ้นก็ต้องพลิกตัวแล้วตะแคงขึ้นอย่างช้า ๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้หมายถึงเวลาใกล้คลอดเสมอไป อาจเป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแม่และเบบี๋ในท้องที่ส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อคุณแม่รู้สึกท้องแข็งอาจเป็นสัญญาณเตือนให้คุณแม่เริ่มดูแลและสังเกตตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นท้องแข็งใกล้คลอดหรือท้องแข็งแบบผิดปกติ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ทันเวลานะคะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.momandbaby.netwww.komchadluek.net

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

 ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!

6 วิธีลด อาการท้องแข็ง ไม่อยากคลอดก่อนกำหนด อย่าทำสิ่งนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up