รับมืออารมณ์แปรปรวนกันดีกว่า
- อธิบายให้คนใกล้ตัวเข้าใจ : คนใกล้ตัวอาจจะเป็นคุณสามี ลูกคนโต หรือ เพื่อนสนิท ที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ด้วยกัน อธิบายให้เข้าใจว่าเราไม่ได้ตั้งใจ และอย่าถือโทษโกรธกัน หาเวลากระชับความสัมพันธ์ เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน และขอร้องให้ช่วยเป็นน้ำ เวลาคุณแม่เป็นไฟ
- ทำใจสบายๆ : คุณแม่บางท่านเป็น super woman ซึ่งมักจะทำทุกอย่างด้วยตนเอง และคาดหวังผลเลิศ ลองพยายามลดภาระงาน และภารกิจส่วนตัวลงบ้าง หัดปล่อยวาง บางครั้งผลงานอาจออกมาใม่สมบูรณ์แบบ บางอย่างที่ให้คนอื่นไปทำได้ ก็ความผ่อนภาระของตัวเองลงบ้าง
- หาที่ปรึกษาเพื่อพูดคุยเรื่องที่เป็นกังวล : การได้พูดสิ่งที่เป็นกังวลออกมากับคนที่เรารัก บางครั้งก็อาจได้คำตอบกับสิ่งที่สงสัย ขอให้คุณแม่พูดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา และอย่าลืมให้ผู้รับฟังได้แสดงความรู้สึกบ้างนะคะ
- ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกดี : หาเวลาส่วนตัวเพื่อนวดผ่อนคลาย ดูหนังเรื่องโปรด เดินช้อปปิ้ง หรือหาเวลางีบยามบ่าย
- กำจัดความเครียด : นอนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง กินอาหารคุณภาพดี ออกกำลังกายเบาๆ อาจเข้าคลาสโยคะ ฝึกสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียด
แต่ถ้าหากพยายามทุกวิถีทางแล้ว ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์แปรปรวนได้ หรือมีอาการหงุดหงิดนานกว่า 2 สัปดาห์ มีอาการกระวนกระวายมากขึ้น โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น นอนไม่หลับ รับประทานอาหารได้น้อย ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ ความจำสั้น หลงลืมง่าย โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งจะผ่านไปร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้า ซึ่งคุณแม่ต้องพบคุณหมอ และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา หรือการบำบัดทางจิตค่ะ
ข้อมูลโดย : พญ. กันดาภา ฐานบัญชา สูติแพทย์ โรงพยาบาลบี แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
คุณแม่ท้อง มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?
ประสบการณ์จริง เมื่อคุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ
ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด เพราะมีน้ำคร่ำมากไป
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่