5.ปวดหลัง บั้นเอว และสะโพก
เมื่อท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น หลังของคุณแม่จึงต้องแบกรับน้ำหนัก จนมีการแอ่นตัวเพื่อรักษาสมดุล เมื่อบวกกับฮอร์โมนรีแล็กซินที่ทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดกว่าปกติ อาการปวดหลังจึงเกิดขึ้น รวมไปถึงอาจปวดตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกายได้อีก เช่น ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า เข่า ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการอยู่ในอิริยาบถเดิมๆ ซ้ำๆ ระมัดระวังการนั่ง การยืน การเดินให้ดี และงดยกของหนัก
เทคนิคในการลดอาการปวดหลัง มีดังนี้
- เวลานั่งให้ประคับประคองหลังเอาไว้ให้ดี นั่งตัวตรง ใช้ผ้าเช็ดตัว ม้วน แล้วรองกับพนักเก้าอี้
- สวมรองเท้าส้นเตี้ย ไม่แบกของหนัก ไม่ใช้กระเป๋าสะพายไหล่
- ขึ้น-ลงบันได หรือรถช้าๆ ไม่รีบร้อน นอนในท่าตะแคง ใช้หมอนรองระหว่างขา
6.ปวดท้องเตือน
พอเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาการเจ็บท้องเหมือนจะคลอดอาจเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ใช่การเจ็บคลอดจริง เป็นเพียงการซ้อมหดรัดตัวของมดลูกเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมเท่านั้น มักรู้สึกเจ็บบริเวณช่องท้องนาน 15-30 วินาที บางครั้งนานถึง 2 นาที แต่เมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือทำกิจกรรมอื่น อาการก็จะหายไป
อาการอื่นๆ นอกจากปวดแล้วยังมีอาการอื่นๆ อีก เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อ่อนเพลีย เหนื่อย เป็นตะคริว และเท้าบวม เป็นต้น
เครดิต: medthai.com, www.lovelymomshop.com
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
คนท้อง ปวดหัวไมเกรน รับมืออย่างไร ?
เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ?
ปวดหลัง หลังคลอด ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้เสี่ยงอัมพาต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่