คนท้องกินอย่างไรไม่ให้อ้วน คุมน้ำหนักตอนท้อง ยังไงไม่ให้มากเกินเกณฑ์ กลายเป็นเรื่องยากสำหรับแม่ท้องหลายคน เพราะความอยากอาหารมันรุมเร้า จะหยุดกินตามใจปากไม่ใช่เรื่องง่ายแถมยังกังวลว่า ถ้ากินไม่มากพอลูกอาจตัวเล็ก เติบโตไม่เต็มที่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีน้ำหนักก็พุ่งพรวดจนคุณหมอสั่งเบรดไปคุมน้ำหนักด่วน
แม่ท้อง คุมน้ำหนักตอนท้อง ได้ไม่ดีเสี่ยงอันตรายทั้งตัวเองและลูกน้อย
แม่ท้องทราบหรือไม่ว่า การกินมากเกินไปหรือเพิ่มการกินเป็น 2 เท่าเพราะมีอีกคนในท้องต้องกินด้วย ความจริงแล้ว ปริมาณอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกายกลับสะสมอยู่ในตัวแม่ และแม้จะรู้สึกว่า “ถ้าชั้นกินเยอะตอนท้องไม่ใช่เรื่องผิด เพราะยังไงน้ำหนักต้องขึ้นอยู่” น้ำหนักส่วนเกินนี้กลายเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คลอดยาก และสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ เรื่องการ คุมน้ำหนักตอนท้อง ให้อยู่เกณฑ์เป็นสิ่งที่แม่ควรใส่ใจตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์
น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับแม่ท้อง
ถึงจะมีอีกหนึ่งชีวิตอยู่ในท้อง แต่ร่างกายขณะตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียง 20 % จากตอนปกติเท่านั้น การกินมากเกินไปทำให้แม่อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกๆ เดือน แม่ท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองน้ำหนักมากเกินไปหรือยัง
หากแม่อยากรู้ว่าตัวเองตอนนี้ “น้ำหนักเกิน” จนต้องถึงเวลาคุมน้ำหนักตอนท้องหรือยัง สามารถวิธีการคำนวนดัชนีมวลกาย (BMI) ดังต่อไปนี้
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก(กิโลกรัม)
ส่วนสูง(เมตร)2
ตัวอย่าง แม่ท้องน้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร
ดัชนีมวลกาย = 60_______
1.55 2
ดัชนีมวลกาย = 25.39
เทียบผลลัพธ์ดูว่าน้ำหนักอยู่ระดับไหน
BMI 18.5 – 24.9 น้ำหนักปกติ ควร คุมน้ำหนักตอนท้อง ให้อยู่ระหว่าง 11 – 15 กิโลกรัม
BMI 25 – 29.9 น้ำหนักเกิน ควร คุมน้ำหนักตอนท้อง ให้อยู่ระหว่าง 6.7-11.2 กิโลกรัม
BMI มากกว่า 30 อ้วน ควร คุมน้ำหนักตอนท้อง ให้อยู่ระหว่าง 4.9-9.0 กิโลกรัม
9 วิธีช่วยแม่คุมน้ำหนักตอนท้องให้ได้ผล
- ห้ามอดอาหาร แต่ให้เลือกกินแทน
พฤติกรรมการกินของแม่มีผลต่อพัฒนาการของลูกในท้อง การลดน้ำหนักที่นิยมกันทั่วไปอย่าง การอดอาหารบางมื้อ หรือการงดข้าวเย็น จึงไม่เหมาะสมกับแม่ท้อง และห้ามทำเป็นอันขาด แต่ควรหันมาใช้วิธีเลือกอาหารที่กินให้เหมาะสมแทน เพราะนอกจาก คุมน้ำหนักตอนท้องได้ดีแล้ว ตัวแม่และลูกน้องยังได้สารอาหารมีประโยชน์ครบถ้วนด้วย
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนคุมน้ำหนัก
โดยปกติแล้ว การลดน้ำหนักตอนท้องควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลเท่านั้น แม่ไม่ควรตัดสินใจจากความรู้สึกเวลาส่องกระจกแล้วเป็นว่าตัวบวมขึ้น หรือใส่เสื้อผ้าตัวเดิมไม่ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา นอกจากนี้แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการ คุมน้ำหนักตอนท้อง ที่ถูกต้องและไม่กระทบต่อสุขภาพของลูกน้อย
3.รู้ก่อนว่าตัวเองต้องกินเท่าไรใน 1 วัน
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติต้องการพลังงานอยู่ที่ 1900 – 2500 กิโลแคลอรีต่อวัน เมื่อตั้งครรภ์จะต้องการพลังงานเพิ่มเฉลี่ย 300 กิโลแคลอรี่ ในช่วงไตรมาสที่ 2 -3 หรือเพียง 20 % เท่านั้น ยกเว้นกรณีที่น้ำหนักก่อนท้องน้อยหรือสูงกว่าเกณฑ์ หรือมีลูกแฝด จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน หลังจากแม่ท้องทราบแล้วว่าตัวเองควรกินเพิ่มอีกเท่าไร ก็สามารถจัดสรรอาหารในแต่ละวันได้เหมาะสมต่อไป
4.เลี่ยงอาหารให้พลังงานสูง และของหวาน
อาหารจำพวกแป้งกินแล้วรู้สึกอิ่มท้อง แต่การกินแป้ง และของหวานที่ให้พลังงานสูงยิ่งทำให้น้ำหนักตัวแม่เพิ่มเร็วขึ้นด้วย แม่ท้องหลายคนชอบขนมหวาน เพราะกินแล้วรู้สึกสดชื่น มีแรง มีความสุข โดยเฉพาะช่วงแพ้ท้อง แต่น้ำหวาน ขนมหวาน หรือเบเกอรี่กลับเป็นเมนูที่ไม่มีสารอาหารที่ลูกน้อยต้องการ แถมอาจทำให้แม่ท้องเสี่ยงต่อ ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ด้วย
เมนูที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ น้ำอัดลม ของหวาน อาหารทอดน้ำมัน ชีสหรือนมสด (สูตรไม่พร่องไขมัน) เนื้อติดมัน คาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารทะเลสด และของหมักดอง เป็นต้น
อ่าน เทคนิคการดูแลน้ำหนักแม่ท้องให้ได้ผล หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่