แนวทางปฏิบัติตัวช่วงโควิด – ลำพังไม่มีปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บรอบตัวที่น่ากังวลใจ หญิงตั้งครรภ์ก็ย่อมใช้ชีวิตลำบากยากเย็นกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ยิ่งเป็นยุคที่มีการระบาดของโรคไปทั่วโลกยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจของคนท้อง ย่อมย่ำแย่และเต็มไปด้วยความวิตกกังวล เพราะทุกวันที่เหลือบมองดูตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิต นับวันจะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในเร็ววัน ไหนจะเรื่องการต้องฉีดวัคซีนป้องกันที่ก็ไม่แน่ใจว่าจะส่งผลกระทบอะไรกับลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ และเป็นที่รู้กันว่าความเครียดระหว่างตั้งครรภ์สามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เราจึงต้องช่วย บรรเทาความเครียดเหล่านี้ในสตรีมีครรภ์และหลังคลอด ดังนั้นวันนี้เราจึงมีแนวทางปฏิบัติตัวสำหรับคนท้องในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยกรมอนามัย มาฝากกันค่ะ
แนวทางปฏิบัตตัวช่วงโควิด สำหรับ คนท้อง แม่หลังคลอด ทารกแรกเกิด
ก่อนหน้านี้กรมอนามัยเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า สำหรับ คนท้องที่ติดเชื้อโควิดจะเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นแนวทางปฏิบัติตัวสำหรับคนท้องให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรค จึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับแนวทางในการปฏิบัตตัวสำหรับ หญิงตั้งครรภ์ แม่หลังคลอด และการดูแลทารกแรกเกิดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด- 19 มีดังนี้
หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด กลุ่มปกติ
กลุ่มปกติ ในที่นี้ หมายถึง กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ ให้ใช้หลักการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างเคร่งครัด โดย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
- รักษาระยะห่างทางสังคม ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ รักษาระยะห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส บริเวณดวงตา ปาก และจมูก
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
- แยกภาชนะรับประทานอาหาร และงดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด นานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อน รับประทานอาหาร หรือออกจากห้องน้ำ หากไม่มีสบู่ ให้ใช้ 70% alcohol gel
- ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
- แม่ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการป่วย เล็กน้อย ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
- หญิงตั้งครรภ์สามารถฝากครรภ์ได้ตามนัด
หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
- แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
- งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะ โดยไม่จําเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
- กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย ควรเลื่อนนัดเพื่อมาฝากครรภ์ ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือตรวจคัดกรองเบาหวานไปจนกว่าจะพ้นช่วงก าหนดเวลากักตัว (isolation) โดยให้อย่แต่ภายในที่พักอาศัย เป็ นเวลาอย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ
- กรณีเจ็บครรภ์คลอดต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อหรือติดเชื้อ COVID-19
- ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนม
- ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากทารกอื่น และต้อง สังเกตอาการ เป็นเวลา 14 วัน
- บุคลากรทางแพทย์ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจำเป็นและประโยชน์ของการแยกแม่-ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แม่เข้าใจและเป็นผู้ตัดสินใจเอง
- แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัส
ผ่านทางน้ำนม ดังนั้น ทารกจึงสามารถกินนมแม่ได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ข้อปฏิบัติในกรณีให้ทารกกินนมจากเต้า
- อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและ สบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70%ขึ้นไป
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้นมลูก
- งดการสัมผัสบริเวณใบหน้าของตนเองและทารก เช่น การหอมแก้มทารก
ข้อปฏิบัติในการบีบน้ำนม และการป้อนนม
- อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและ สบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70%ขึ้นไป
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนม การบีบน้ำนม และการให้นม
- งดการสัมผัสบริเวณใบหน้าของตนเองและทารก เช่น การหอมแก้มทารก
- หาผู้ช่วยเหลือหรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนำน้ำนมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน หรือถ้วยเล็ก
- ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เช่น ที่ปั้มนม ขวดนม ด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์และทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
กรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 แต่อาการไม่มาก สามารถกอดลูกและให้นมจากเต้าได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแม่และครอบครัว ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
กรณีแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 มีอาการรุนแรง หากยังสามารถบีบน้ำนมได้ ให้ใช้วิธีบีบน้ำนมและให้ ผู้ช่วยเป็นผู้ป้อนนมแก่ลูก หากไม่สามารถบีบน้ำนมเองได้อาจพิจารณาใช้นมผงแทน
กรมอนามัยเผย คนท้องติดเชื้อโควิด เสี่ยงป่วยหนัก แนะฉีดวัคซีนป้องกัน! หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
คนท้องติดโควิด รักษาอย่างไร? กระทบลูกในท้องหรือไม่?
งานวิจัยเผย! แม่ท้องติดโควิด เสี่ยงเสียชีวิตสูง!
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับแม่ ในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว
- อยู่ในที่พักอาศัยอย่างน้อย 14 วัน
- ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
- ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน ้า
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ นาน 20 วินาทีหรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ลูบจนมือแห้ง
- เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่น ประมาณ 1-2 เมตรหรือหนึ่งช่วงแขน
- หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง
- การทิ้งหน้ากากอนามัยให้ทิ้งใส่ถุงพลาสติก ปิ ดถุงให้สนิท ก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ทันที
- เมื่อไอจามให้ใช้ทิชชูปิ ดปาก ปิ ดจมูกถึงคางทุกครั้ง ทิ้งทิชชูใส่ถุงพลาสติก ปิ ดถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถัง ขยะที่ปิ ดมิดชิด จากนั้นท าความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ทันทีหากไม่มีทิช ชูใช้ต้นแขนด้านใน
- ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ด้วยน้ำยาฟอกขาวร้อยละ 5 (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วน) หรือเช็ดพื้นผิวสัมผัสด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ70
- ทำความสะอาดเสื้อผ้าผ้าปูเตียงผ้าขนหนูหรืออื่น ๆ ด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา หรือซักผ้าด้วยน้ำ ร้อน อุณหภูมิ70-90องศาเซลเซียส
ไม่มีใครบอกได้ว่าโควิดจะอยู่กับเราไปอีกนานเท่าไหร่ ดังการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองตลอดจนดูแลลูกน้อยด้วยแนวทางปฏิบัติป้องกันโรคที่เหมาะสมในช่วงนี้อย่างน้อยก็ช่วยลดโอกาสในการได้รับเชื้อ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเองและลูกน้อยในครรภ์ หรือทารกแรกเกิดของเรา
ในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น การให้ความรู้แก่พวกเขาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและวิธีการใช้ชีวิตในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้น จะช่วยให้พวกเขาเกิดการตระหนักรู้ที่ดีเกี่ยวกับการรักษาสุขอนามัยส่วนตัว เพื่อการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย การรักษาความสะอาดของร่างกาย การเว้นระยะห่างทางสังคม และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ย่อมช่วยให้เด็กๆ เกิดความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) และทำให้เด็กๆ ห่างไกลโรค ไม่เจ็บป่วยง่ายค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : covid19.anamai.moph.go.th , ops.go.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ภรรยาสาว เป้ วงมายด์ รีวิว ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง 6 เดือน ท้องแฝด!
ฉีดในคนแล้ว! ChulaCov19 วัคซีนโควิด ชนิด mRNA ฝีมือคนไทย!
รู้ก่อนฉีด! ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีน ป้องกันโควิด -19 เช็คเลย!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่