คนท้องเป็นตะคริว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สอง และเป็นเรื่องปกติที่ทำให้แม่ท้องเกิดความทรมาน คนท้องเป็นตะคริว มีสาเหตุค่ะ มาดูกันค่ะว่าทำไมถึงเป็นตะคริวได้บ่อย และมีวิธีป้องกันอย่างไรได้บ้าง
คนท้องเป็นตะคริว แก้ได้ไหม? ถ้าเป็นขณะเดินทางทำอย่างไร
ตะคริวคืออะไร?
ตะคริว (Muscle cramps) คือ อาการที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวหรือหดเกร็ง ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็ง อาการนี้จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดได้ อาการตะคริวจะเป็นร่วมกับอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อที่เกิดจากการหดเกร็ง แต่อาการนี้จะไม่เป็นไปตลอด จะเป็นอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วอาการจะทุเลาลงไปได้เอง ตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อส่วนไหนก็ได้ อาจจะเกิดกับกล้ามเนื้อเพียงมัดเดียวหรือหลาย ๆ มัดพร้อมกัน โดยมักเกิดขึ้นในขณะที่แม่ท้องกำลังออกกำลังกายหรือเดิน และในขณะนั่งพักหรือนอนพักเป็นเวลานาน
ทำไม? คนท้องเป็นตะคริว
ที่ คนท้องเป็นตะคริว บ่อย ๆ เป็นเพราะร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ต้องการใช้แคลเซียมเพิ่มขึ้นในปริมาณมหาศาล เพื่อใช้สร้างกระดูกและฟันของลูกในท้อง ในช่วงก่อนท้องร่างกายผู้หญิงต้องการแคลเซียมเพียงวันละ 500-600 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในขณะตั้งครรภ์แม่ท้องต้องการแคลเซียมมากถึง 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นแม่ท้องที่ขาดแคลเซียม ก็จะทำให้มีอาการตะคริวได้นั่นเอง นอกจากนี้ แม่ท้องที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไปในกระแสเลือด และการที่แม่ท้องมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ คนท้องเป็นตะคริว ได้เช่นกัน เพราะการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ขาทั้งสองข้างของแม่ท้องต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตตึงแน่นเกินไปบริเวณขา และการที่เลือดไหลเวียนไปที่ส่วนล่างได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดตะคริวได้
คนท้องเป็นตะคริวตอนไหน?
โดยทั่วไป แม่ท้องจะเริ่มเป็นตะคริวในช่วงสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ก่อนช่วงนี้มักจะไม่เป็นตะคริว เป็นเพราะในช่วงนั้น ร่างกายยังไม่ได้ต้องการแคลเซียมหนักมากเท่าช่วงนี้ (กระดูกและฟันของลูกในท้องจะเริ่มสร้างในสัปดาห์ที่ 16) และในช่วงสัปดาห์ที่ 16 นี่เอง มักจะเป็นช่วงที่แม่ท้องเริ่มหายแพ้ท้องแล้ว จึงรับประทานอาหารได้มากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ จึงเป็นสาเหตุที่เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี จนเกิดอาการตะคริวได้นั่นเอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่