ทดสอบเพศลูกในครรภ์ จากสีน้ำกะหล่ำปลีม่วงได้จริงหรือ? - amarinbabyandkids
ทดสอบเพศลูกในครรภ์

ทดสอบเพศลูกในครรภ์ จากสีน้ำกะหล่ำปลีม่วงได้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ทดสอบเพศลูกในครรภ์
ทดสอบเพศลูกในครรภ์

ทดสอบเพศลูกในครรภ์ จากสีน้ำกะหล่ำปลีม่วงได้จริงหรือ?

ทดสอบเพศลูกในครรภ์
kubenafamily.blogspot.com

อาจารย์เจษฎ์  จากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ว่า

การ ทดสอบเพศลูกในครรภ์ จากสีน้ำกะหล่ำปลีม่วงนั้น อาจารย์เจษฎ์ให้คำตอบว่า ไม่เป็นความจริงนะคะแม่ๆ เพราะการทดสอบนี้เป็นเพียงการวัดค่าพีเอชของปัสสาวะว่ามีความเป็นกรด หรือเบสมากกว่ากัน

จากแนวคิดของการทดสอบนี้ มาจากการที่กะหล่ำปลีม่วงนั้น เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นำมาต้ม แล้วคั้นน้ำของมันออกมาเพื่อใช้ในการทดสอบค่าพีเอช หรือค่าความเป็นกรด-เบส(ด่าง)ได้ ซึ่งในกะหล่ำปลีม่วงนั้น มีสารรงควัตถุสีออกม่วงๆ ชื่อแอนโทไซยานิน ที่สามารถละลายในน้ำได้ ซึ่งสารนี้ถ้าผสมกับสารละลายที่มีความเป็นกรด ก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ถ้าไปผสมกับสารละลายที่เป็นด่าง ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว

เพราะฉะนั้น การทดสอบเพศลูกในครรภ์ด้วยน้ำกะหล่ำปลีม่วง จึงเป็นเพียงแค่การตรวจค่าพีเอช ของปัสสาวะแม่นั่นเอง ซึ่งคงจะมีการตั้งสมมติฐานกันไว้ว่า ถ้ามีลูกชาย ปัสสาวะของแม่จะเป็นกรดมากขึ้น แต่ถ้าเป็นลูกสาว ปัสสาวะของแม่จะเป็นค่ากลาง คือไปทางพีเอช7 ….

สรุปนะคะแม่ๆ การทดสอบดังกล่าว ไม่สามารถใช้ทดสอบเพศลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะสนับสนุนการทดสอบด้วยวิธีนี้ แต่อาจจะเป็นแค่กิจกรรมสนุกๆให้คุณแม่ท้องได้ลองเสี่ยงนายกันเล่นๆ ก็ไม่เสียหายอะไรค่ะ

เกร็ดความรู้ค่าพีเอชในปัสสาวะของแม่ มักจะเป็นผลมาจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของเพศลูกในท้อง ซึ่งค่าพีเอชของปัสสาวะนั้น มีความแปรปรวนสูงมากในแต่ละวัน โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 4.5 – 8 แต่โดยรวมแล้วมักจะอยู่ที่ประมาณ 5.5 – 6.5 ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ ดังนั้น หากคุณแม่มีการทดสอบในวันที่รับประทานอาหารแล้วปัสสาวะเป็นกรดมากขึ้น ก็อาจทำให้เข้าใจผิดไปได้ว่าได้ลูกชายนั้นเอง

 

<<อ่านต่อหน้า 3 >>

ความสำคัญของการตรวจค่าพีเอช สำหรับแม่ท้อง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up