เรื่องจริงสุดเศร้าจากหมอสูติฯ เมื่อคุณแม่ท้องท่านหนึ่งประสบ ภาวะรกเกาะต่ำ แบบไม่ปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งแม่และลูก
โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลชุมชนอยู่ใกล้บ้าน ผมกำลังนั่งรอหน่อย (ชื่อสมมุติ) ภรรยาที่เข้าไปฝากครรภ์ หน่อยอายุ 26 ปี ตั้งท้องที่สอง ลูกชายคนแรกของเราอายุ 7 ปี คลอดโดยการผ่าตัดคลอดเพราะเชิงกรานแคบ
“พี่ภู (ชื่อสมมุติ) หมอเขาอยากเจอพี่แน่ะ หมออธิบายแล้วหน่อยไม่เข้าใจ” ผมเงยหน้าดูภรรยา หน่อยมีสีหน้าไม่สู้ดี ภรรยาพูดจบ ผมรีบเดินตามเธอเข้าไปพบหมอสูติคนเดิมที่เคยผ่าคลอดให้ภรรยาผมมาแล้ว หมอเชิญให้นั่ง แล้วอธิบายช้าๆ ว่า
“ตอนนี้คุณหน่อยตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ ผลเลือดปกติ แต่เมื่อหมอตรวจท้องด้วยอัลตร้าซาวนด์พบว่า รกของเด็กเกาะต่ำแบบไม่ปกติ หมอจะส่งตัวคุณหน่อยไปตรวจที่โรงพยาบาลจังหวัด”

ไม่ใช่เฉพาะภรรยา ผมก็ไม่เข้าใจว่า รกเกาะต่ำ คืออะไร หมอจึงนำหุ่นมดลูกของคนท้องมาให้ดู และอธิบายว่า
“นี่คือมดลูกที่มีเด็กอยู่ภายใน นี่คือรก ปกติรกจะเกาะที่มดลูกส่วนบน เมื่อเด็กคลอด มดลูกหดตัวก็จะห้ามเลือดจากบาดแผลที่รกเกาะ แต่หาก รกเกาะต่ำ เกาะบริเวณปากมดลูก…” หมอชี้ไปบริเวณปากมดลูก
“เมื่อเด็กคลอด ตอนเอารกออก ก็จะมีการตกเลือดอย่างมาก เพราะการหดตัวของมดลูก ไม่สามารถห้ามเลือดที่ออกเหนือปากมดลูกได้”
“อ้าว แล้วทำไมรกมันเกาะต่ำละครับ แล้วมันไม่ขึ้นไปอยู่ด้านบนเองหรือครับ” ผมถามอย่างคนไม่รู้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่