แม่ท้องฝึกสมาธิ ดีต่อลูกน้อยในครรภ์
แม่ท้องฝึกสมาธิ

แม่ท้องฝึกสมาธิ ดีต่อลูกน้อยในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ท้องฝึกสมาธิ
แม่ท้องฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิด้วยโยคะของคุณแม่ตั้งครรภ์

การฝึกโยคะระหว่างตั้งครรภ์ เป็นการฝึกสมาธิอีกวิธีหนึ่งในการฝึกจิตใจของคุณแม่ กำหนดลมหายใจเข้าออก พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง ปรับสมดุลร่างกายให้คุณแม่ เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การฝึกโยคะสำหรับคุณแม่ท้อง เริ่มฝึกได้เมื่ออายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป และไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายเมื่อฝึก ใช้ท่าโยคะพื้นฐานโดยประยุกต์ให้เหมาะสม­กับสรีระของคุณแม่ท้อง ท่านอนหงายสามารถฝึกได้ในไตรมาสที่ 2 (เดือนที่ 4-6) และควรงดฝึกในไตรมาสที่ 3 (เดือนที่ 7-คลอด) เพราะเมื่อหน้าท้องใหญ่ คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายเวลานอนหงาย ให้ฝึกด้วยท่านั่งหรือยืนจะดีกว่า

ชมคลิปโยคะคนท้อง ท่าง่ายๆ ทำได้เองที่บ้านได้ที่นี่

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ

1.บรรเทาอาการไม่สบายต่างๆ เนื่องจากตั้งครรภ์ เช่น คลื่นไส้ในตอนเช้า กล้ามเนื้อหรือข้อต่อต่างๆ เจ็บตึง

2.โยคะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง อาการบวม รวมทั้งอาการตะคริวที่เกิดขึ้นตามปกติในคุณแม่ตั้งครรภ์

3.ช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การหมุนเวียนโลหิต การหายใจ การย่อยอาหาร ตลอดจนบรรเทาอาการท้องผูก

4.พัฒนาการเจริญเติบโตของอวัยวะรวมทั้งจิตใจของทารก ส่งสารอาหารไปเลี้ยงทารกอย่างมีประสิทธิภาพ

5.การฝึกโยคะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างความยืดหยุ่น และแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ

6.โยคะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานแข็งแรง รองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

7.การฝึกโยคะช่วยให้รูปร่างคุณแม่หลังคลอดกลับสู่ปกติได้เร็วขึ้น

8.ขณะที่ฝึกโยคะ คุณแม่จะได้ฝึกสมาธิไปในตัว กำหนดการหายใจเข้าออก เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และทารก ช่วยให้จิตใจสงบ ลดอาการเครียด

9.การฝึกโยคะรวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้คุณแม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องราวการตั้งครรภ์

ฝึกลูกให้มีสมาธิ

“ลูกไม่มีสมาธิ มีสอนนั่งสมาธิสำหรับเด็กไหม?”

เป็นคำถามหนึ่งในใจของคุณแม่คุณแม่หลายคน ทั้งๆ ที่เด็กเป็นวัยที่มีพลังชีวิตสูง เขาจึงต้องเคลื่อนไหว ลูกไม่ได้มานอนเฉยๆ ให้เราเลี้ยง  แต่เขามาเพื่อทดสอบว่าพ่อแม่มีความอดทนมากแค่ไหน  และคนที่อดทนกับเขาที่สุดจะเป็นคนที่เขาไว้ใจที่สุดเมื่อโตขึ้น อย่าเริ่มโดยการบังคับให้เด็ก นั่งนิ่งๆ

  • เด็กบางคนสนใจกับการทำงานที่ใช้นิ้วมือเล็กๆ ตัดโน่น แปะนี่ เย็บนั่น ระบายสีนี่
  • เด็กบางคนสนใจการทดลองกับของเล่นธรรมชาติพวกดิน หิน ทราย น้ำ ใบไม้ใบหญ้า
  • เด็กบางคนสนใจกับเสียงดนตรีและจังหวะการเคลื่อนไหว

อะไรก็ตามที่ทำให้เขาอยู่กับสิ่งนั้นได้นานผ่านการเล่น เขาทำได้นานเพราะเขามีความสุข จิตใจก็จดจ่อต่อเนื่อง ลมหายใจที่เคยลุกลี้ลุกลนกับสิ่งเร้าภายนอก  ก็เริ่มผ่อนคลายสู่จังหวะที่สงบเย็น นั่นแหละสมาธิได้เกิดขึ้นแล้ว

“เสร็จหรือยังลูก”  “ทำแบบนี้สิ”  “อย่าทำสีเลอะนะ” คำพูดแบบนี้ล้วนแต่จะทำลายความมั่นใจของลูก และยังทำลายสมาธิที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง  เพราะลูกก็จะพาลหงุดหงิดเสียก่อน

เครดิต:หนังสือธรรมะกับโยคะสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โดย ฉัตริษา ศรีสานติวงศ์, เสถียรธรรมสถาน, AMARIN TVHD, Body&Soul Yoga Studio

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up