• ลูกเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จริงหรือ?
งานวิจัยของนักประสาทวิทยา เอลโน พาร์ทาเนนและคณะ จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ซึ่งตีพิมพ์ลงในรายงาน The Proceeding of the National Academy of Sciences ให้คุณแม่ท้องแก่กลุ่มหนึ่งฟังคำที่กำหนดไว้อย่าง “ทาทาทา” ซ้ำๆ โดยแทรกระหว่างเสียงเพลง และให้เปลี่ยนคำตรงกลางบ้าง เช่น เปลี่ยนเป็น “ทาโททา” หนูน้อยทั้งหลายจะได้ยินคำที่กำหนดไว้นี้มากกว่า 25,000 ครั้ง ก่อนลืมตาออกมาดูโลก เมื่อทำการทดสอบหลังคลอดโดยใช้เซนเซอร์ EEG จับคลื่นสมองของหนูน้อยก็พบว่า มีการตอบสนองที่แรงขึ้นเมื่อได้ยินคำคุ้นเคยที่แม่เคยเปิดให้ฟัง “จึงกล่าวได้ว่า ทารกในครรภ์สามารถเรียนรู้จดจำสิ่งต่างๆได้มากกว่าที่เราเคยคิดกัน” พาร์ทาเนนสรุป
3. คุยกับลูกในท้อง ช่วยให้เขาคุ้นชินกับภาษาได้
การพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์ผ่านการอ่านหนังสือ แม่อาจไม่รู้ตัวว่ากำลังพูดคุยกับลูกด้วยคำพูดที่เรียกว่า “Baby Talk” หรือ “ภาษาที่ใช้สำหรับทารก” คือ การพูดที่มีโทนเสียงสูงขึ้นกว่าปกติ และพูดช้ากว่าที่พูดในยามปกติ (บางคนพูดจาแบบเดียวกันนี้กับสัตว์เลี้ยงด้วย) อีริค ธีสเสน แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน อธิบายว่า การที่แม่สื่อสารกับลูกด้วยการพูดจาภาษาทารก เป็นการช่วยให้ลูกเรียนรู้คำต่างๆ ได้ดีกว่าแม่ที่พูดกับลูกด้วยโทนเสียงแบบที่พูดกับผู้ใหญ่ เพราะการพูดช้าๆ ชัดๆ ทำให้ทารกรับฟังได้อย่างชัดเจน แม้ลูกในท้องจะยังมองไม่เห็นโลกภายนอก แต่ก็ช่วยทำให้ลูกคุ้นชินกับการสื่อภาษาได้