แม่ๆเคยเป็นไหม เวลาเหนื่อยๆหรือร้อนจัด พอได้จิบน้ำอัดลมหวานแล้วรู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย มีแรงทำกิจกรรมต่างๆได้เต็มที่ แต่ผ่านไปไม่ถึงชั่วโมงอาการเดิมก็วนกลับมาอีก แถมยังรู้สึกอยากกินอะไรหวานๆอยู่ตลอด ภาวะแบบนี้เรียกว่า “ภาวะติดน้ำตาล”
น้ำอัดลม ยิ่งดื่มยิ่งสดชื่น ยิ่งดื่มยิ่งกระหาย
ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้น้ำตาลปริมาณสูงอย่างรวดเร็ว สมองจะสั่งให้ฮอร์โมนอินซูลินที่มากกกว่าปกติเพื่อกักเก็บน้ำตาลไว้เป็นพลังงาน ทำให้น้ำตาลที่เคยอยู่ในเลือดลดลงเร็วเกินไป สมองจึงสั่งให้ร่างกายรู้สึกอยากน้ำตาล วนไปแบบนี้ไม่สิ้นสุด
ความหวานของน้ำอัดลมทุกชนิดถูกคำนวนมาแล้วว่าควรอยู่ในระดับไหนที่สมองจะสั่งให้รู้สึกมีความสุข นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไมเราจึงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ดื่มน้ำอัดลม แต่ความร้ายกาจของ น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล ไม่ได้แปลว่าไม่หวาน เพียงแต่ใช้สารให้ความหวาน ซึ่งจะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
ความจริงแล้ว สารให้ความหวาน อย่าง แอสปาแตม หวานกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า ขณะที่ซูคราโลส หวานกว่าน้ำตาล 600 เท่าทีเดียว นี่กลับเป็นกลลวงที่ทำให้ผู้บริโภคคิดไปว่า ถ้าดื่มน้ำอัดลมชนิดนี้แล้วจะไม่อ้วน หรือหวานน้อยกว่า
การดื่ม น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล เป็นประจำทำให้อินซูลินหลั่งออกมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ตับอ่อนซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ล้า ทำงานผิดปกติ และไม่สามารถควบคุมการลั่งอินซูลินได้อีก โดยเฉพาะในระหว่างตั้งครรภ์ฮอร์โมนของคุณแม่จะแปรป่วนและอาจกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานผิดปกติได้ง่าย ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงเตือนให้แม่ท้องระมัดระวังในการกินของหวาน และควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มเร็วเกินไป
นอกจากนี้การดื่มน้ำอัดลมชนิดนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติในลำไส้ ต้นเหตุของโรคโครห์น ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ภูมิแพ้อาหาร และข้ออักเสบด้วย
แม่ท้องเป็นเบาหวาน ลูกในท้องเสี่ยงอะไร
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภัยร้ายที่แม่คนไหนก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะนำไปสู่ความผิดปกติต่อตัวแม่เอง และลูกน้อย ทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษ ทารกคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสแท้งสูง ลูกน้อยอาจพิการแต่กำเนิดหรือมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดยาก แม้คลอดแล้ว ลูกน้อยก็ยังเสี่ยงภาวะตัวเหลือง และน้ำตาลในเลือดต่ำด้วย
หากคุณแม่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงหรือเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต้องเพิ่มความระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มาก โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มน้ำตาลสูง เน้นเนื้อสัตว์ และผักผลไม้ที่ไม่หวานทดแทน ออกกำลังกายเบาๆอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
ที่สำคัญอีกอย่างคือก่อนที่คุณแม่เลือกซื้ออะไรมากิน ควรอ่านข้อมูลโภชนาการปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลบนฉลากสินค้าให้ดี เพราะคำโฆษณาชวนเชื่ออย่างน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล อาจทำให้เข้าใจผิดและส่งผลเสียที่ไม่คาดคิดตามมาได้
ส่วนหลังคลอดแล้ว คุณแม่ยังเป็นเบาหวานอยู่อีกหรือไม่นั้น อาจเกิดขึ้นได้โดยพบว่า แม่ที่เป็นเบาหวานมาก่อนอาจเป็นซ้ำอีกในครรภ์ครั้งต่อไปราว 1 ใน คน และคาดการณ์ว่า 20% ของแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเป็นโรคเบาหวานถาวร ภายใน 10 ปี รู้อย่างนี้แล้ว การดูแลสุขภาพให้ดีขณะตั้งครรภ์น่าจะเป็นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุด
บทความน่าสนใจอื่นๆ
เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์
คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?
มันฝรั่งทอด กินมากไปเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์
แหล่งข้อมูล: mgronline.com www.si.mahidol.ac.th
หนังสือ “สุดยอดวิธี กินดี ไม่มีป่วย” สำนักพิมพ์ AMARIN HEALTH
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่