เจ็บสะดือจี๊ดๆ ตั้งครรภ์ อันตรายหรือเปล่า ลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม คำถามคาใจแม่ท้อง ที่เป็นกังวลเมื่อเข้าใจว่าสะดือแม่่เชื่อมต่อกับสะดือลูก ความจริงเป็นเช่นไร
เจ็บสะดือจี๊ดๆ ตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม??
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอาการใด ๆ ที่ดูผิดปกติ เราก็ต้องกังวล คิดไปต่าง ๆ นานา อยู่นานสองนาน เพราะลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับแม่ทุกคน เวลาตั้งครรภ์คุณแม่จึงไม่อยากให้มีอาการใด ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ ทำให้เกิดคำถามคาใจเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลาแห่งการตั้งครรภ์นี้
อาการเจ็บสะดือจี๊ด ๆ คันสะดือ หรือพบว่าสะดือของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เป็นอีกหนึ่งคำถามคาใจยอดฮิตของบรรดาแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ว่าอาการดังกล่าวจะทำให้ลูกในท้องเป็นอะไรไหม อันตรายใด ๆ หรือไม่ ทางทีมแม่ ABK จึงได้นำข้อมูลมาให้คุณแม่ได้พิจารณากันเอาดูว่าอาการดังกล่าวเป็นเช่นไร
ว่าด้วยเรื่อง”สะดือ” คนท้อง
ช่วงท้องไตรมาส 2 คุณแม่อาจสังเกตได้ว่า หน้าท้องเริ่มใหญ่มากขึ้นตามอายุครรภ์ และการเจริญเติบโตของลูกในท้อง การขยายใหญ่ขึ้นของท้องของคุณแม่ทำให้สะดืออาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนี้
- สะดือโผล่เล็กน้อย
เมื่อท้องใหญ่ขึ้นจนอาจทำให้สะดือของคุณแม่โผล่ขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งส่งผลให้สะดือที่ยื่นออกมาเสียดสีกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือรำคาญได้ คุณแม่ที่มีสะดือตอนท้องลักษณะนี้ให้วางใจได้ว่าเป็นอาการที่ยังถือว่าไม่เป็นอันตรายมากนัก หากไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย สามารถแก้ไขอาการระคายเคืองได้โดยการหาผ้า หรืออุปกรณ์ห่อหุ้มหน้าท้องมาพันปิดรอบสะดือเอาไว้เพื่อป้องกันการเสียดสี แต่หากมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยจนรู้สึกเป็นกังวล แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
- สะดือแบนราบ
บางครั้งเมื่อหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นอาจทำให้ผิวหนังช่วงหน้าท้องคุณแม่นั้นมีการยืดตึง จนทำให้สะดือดูราบแบน และจะเปลี่ยนกลับไปมีลักษณะเหมือนเดิมอีกครั้งหลังจากคลอดลูกแล้ว
สะดือทารกในครรภ์เชื่อมกับสะดือของแม่หรือไม่??
สายสะดือ (umbilical cord) คือ สายเชื่อมระหว่างทารก กับรกเพื่อทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดมารดาไปให้แก่ทารก และนำของเสียออกมาสู่มารดา โดยสายสะดือจะประกอบด้วยเส้นเลือด 3 เส้น คือ
- หลอดเลือดดำ 1 เส้น เป็นเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ มีความดันเลือดประมาณ 20 มม. ปรอท ทำหน้าที่นำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปสู่ทารก ซึ่งเส้นเลือดชนิดนี้สามารถนำผ่านสารเคมี และยาบางชนิดไปสู่ทารกได้
- หลอดเลือดแดง 2 เส้น มีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดดำ มีความดันเลือดประมาณ 60 มม. ปรอท ทำหน้าที่ลำเลียงของเสียที่เกิดในทารกออกมาสู่มารดา ทั้งนี้ ในหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจพบหลอดเลือดแดงเพียงเส้นเดียวก็ได้ และถือเป็นความผิดปกติของสายสะดือในหญิงตั้งครรภ์ที่พบบ่อยที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง และรูปภาพจาก thai.luxurysocietyasia.com
เจ็บสะดือจี๊ดๆ ตั้งครรภ์
แม่ท้อง เจ็บสะดือจี๊ดๆ ตั้งครรภ์ อันตรายไหม??
อาการปวด หรือเสียวที่สะดือที่เป็นอาการที่ปกติ ที่ไม่น่ากังวลนั้น จะเป็นอาการที่เป็นเพียงแต่อาการเป็น ๆ หาย ๆ แสดงอาการไม่ชัดเจน เมื่อตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติ และโดยมากมักพบได้บ่อยในรายที่ตั้งครรภ์แล้วมีการยืดขยายของช่องท้องมาก ๆ เช่น ลูกตัวโต ตั้งท้องแฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นคุณแม่ก็ควรที่จะสังเกตว่าอาการเจ็บสะดือนั้นไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายใดใด
โรคที่ควรเฝ้าระวัง จากอาการเจ็บสะดือของแม่ตั้งครรภ์
Diastasis Recti
ภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกตัว หรือ Diastasis Recti หมายถึง กล้ามเนื้อที่บริเวณหน้าท้องแยกตัวออกจากกัน ทำให้ช่องว่างระหว่างกล้ามเนื้อด้านซ้ายและด้านขวาของช่องท้องกว้างขึ้น
ปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์สามารถพบภาวะนี้ได้บ่อย โดยพบได้ประมาณ 2 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด การมีลูกมากกว่าหนึ่งคน ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะหากตั้งครรภ์ใกล้กัน นอกจากนี้คุณยังมีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้นหากตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปีไปแล้ว หรือตั้งครรภ์ที่มีทารกน้ำหนักตัวมาก ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่สองคนขึ้นไป
การตั้งครรภ์จะเพิ่มแรงดันบริเวณท้อง ไม่สามารถคงรูปตามเดิมได้ เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องมีการแยกตัวออกเช่นนี้ ทำให้มดลูก ลำไส้ และอวัยวะอื่นๆ มีเพียงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางๆ ที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้นที่จะคอยยึดอวัยวะเหล่านี้ไว้ หากไม่มีกล้ามเนื้อที่คอยสนับสนุน จะทำให้การคลอดทางช่องคลอดทำได้ยากขึ้น
- ปวดหลังส่วนล่าง
- ท้องผูก
- ปัสสาวะเล็ด
- หายใจลำบาก และเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก
- กรณีที่เป็นรุนแรง จะพบอวัยวะภายในโผล่ออกมา หรือที่เรียกว่า ไส้เลื่อน (hernia) เนื่องจากเนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด แต่พบไม่บ่อยนัก
การดูแลให้หน้าท้องฟื้นตัว
การกายภาพบำบัดเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องกลับมาอยู่ในแนวเดิม แต่ก็มีการศึกษาพบว่าการใช้ Tupler technique ส่งผลดีต่อการฟื้นตัว โดยให้ออกกำลังกายด้วยท่าทางเฉพาะร่วมกับการสวมที่รัดหน้าท้องชนิดพิเศษ ซึ่งจะช่วยปกป้อง และช่วยยึดกล้ามเนื้อหน้าท้องไปพร้อม ๆ กัน
- สะดือมีรอยนูน หรือยื่นออกมา รอยนูนจะมีขนาดเท่าผลองุ่นไปจนถึงผลส้ม มักจะบวมขึ้นเมื่อไอ นั่ง หรือเข้าห้องน้กตอนเช้า และจะหายไปเมื่อนอนราบ
- ปวดท้อง ปวดแบบบิดบริเวณท้อง
- ท้องผูก คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งมักเกิดในกรณีที่มีอาการรุนแรง
การป้องกัน
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันอาการท้องผูก หากท้องผูกบ่อย ๆ จะทำให้เกิดแรงดันในลำไส้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน หรือหากเป็นอยู่แล้วอาจทำให้อาการแย่ลงได้
- ห้ามยกของหนัก การยกของหนักจะเป็นการสร้างแรงดันในช่องท้อง ทำให้เกิดไส้เลื่อนได้ง่ายขึ้น
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เช่น สวมชุดหลวม ๆ หรือกางเกงเอวต่ำที่ไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด
วิธีบรรเทาอาการเจ็บสะดือ
อาการเจ็บสะดือของคุณแม่ท้องสามารถบรรเทาได้ โดยมีหลากหลายวิธีดังนี้
- นอนตะแคง
ท่านอนตะแคงจะช่วยลดการกดทับของมดลูกบริเวณหน้าท้องได้ จะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น เพราะสามารถบรรเทาอาการเจ็บสะดือได้ดีมาก โดยอาจหาหมอนมาหนุนท้องไว้ด้วย ก็จะช่วยลดอาการเจ็บได้มากขึ้นไปอีก การนอนตะแคงยังช่วยให้คุณแม่หายใจสะดวก และลดอาการอึดอัด แน่นท้องได้อีกด้วย
- เข็มขัดพยุงครรภ์
การเลือกใช้เข็มขัดพยุงครรภ์ นอกจากจะช่วยพยุง และลดอาการปวดหลังแล้ว เข็มขัดยังช่วยลดอาการเจ็บสะดือได้อีกด้วย โดยให้คุณแม่ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์เมื่อต้องเดิน หรือยืนเป็นเวลานาน
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.petcharavejhospital.com/hellokhunmor.com /hd.co.th/konthong.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่