13 ความเสี่ยงเมื่อ ลูกคลอดก่อนกำหนด - Amarin Baby & Kids

พ่อแม่ต้องรู้หาก ลูกคลอดก่อนกำหนด กับ 13 ความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับร่างกายลูก

Alternative Textaccount_circle
event
  • การมองเห็น หาก ลูกคลอดก่อนกำหนด ก็อาจส่งผลทำให้ดวงตามีความเปราะบางและแตกง่าย มีเลือดออกและเกิดแผลเป็นในจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการมองเห็นได้ เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของเส้นเลือดจอประสาทตา จึงควรต้องได้รับการตรวจตาก่อนออกจากโรงพยาบาลและจะตรวจซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ที่ 7-9 หลังคลอด
  • การได้ยิน การที่ลูกคลอดก่อนกำหนดนั้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินสูงกว่าปกติ ลูกจึงต้องได้รับการตรวจสอบการได้ยินจากแพทย์ก่อนออกจากโรงพยาบาล และคุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาลูกมาเข้ารับการตรวจซ้ำเมื่อมีอายุ 3-6 เดือน

ลูกคลอดก่อนกำหนด

  • โลหิตจาง เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดส่งผลทำให้ธาตุเหล็กสะสมไว้น้อย และถูกนำออกมาทดแทนระดับฮีโมโกลบินที่ลดลงจากการเจริญเติบโต ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางโดยธรรมชาติที่รุนแรงและยาวนานกว่าทารกที่คลอดตามกำหนด
  • การหยุดหายใจในทารกแรกเกิด การที่ลูกคลอดกำหนดอาจส่งผลทำให้ลูกเกิดภาวะหยุดหายใจเอาเสียดื้อ ๆ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะให้การดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ซึ่งโอกาสที่จะหายก็มีความเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกคลอดก่อนกำหนดตอนที่มีอายุครรภ์ได้ 35 สัปดาห์ พอผ่านไป 2 สัปดาห์หลังจากนั้น โอกาสที่ลูกจะหายเป็นปกติก็มีได้
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากระบบทางเดินหายใจและปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ทารกหายใจเสียงดัง โดยเฉพาะในขณะที่นอนหลับ มีการหายใจไม่สม่ำเสมอ และอัตราการหายใจมีการเปลี่ยนแปลงมากในขณะตื่นและนอนหลับ
  • ภาวะโรคปอดเรื้อรัง เนื่องจากลูกยังหายใจไม่ได้เองในตอนแรก จึงจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อรักษาโรคปอดในระยะแรก เมื่อหายแล้ว แต่ยังหายใจเองไม่ได้ ไอเองไม่เป็นหรือไอไม่ค่อยแรง เสมหะก็ออกจากปอดไม่ได้ ก็ยังคงต้องทำให้ลูกต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงจุดที่ลูกมีน้ำหนักมากพอที่จะมีแรงไอได้ จากจุดนี้เองทำให้ปอดของลูกเกิดปัญหา แต่โรคปอดนี้หลังจากเอาเครื่องช่วยหายใจออกจะหายไปเองภายใน 1-2 ปี หากลูกมีปัญหามาก พอเด็กอายุประมาณ 9-10 ปีก็อาจจะเป็นโรคหอบได้
  • ภาวะลำไส้เน่าตายอย่างเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของทารกทั้งหมดที่เกิดมาตัวเล็ก ยิ่งตัวเล็กมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสเกิดเยอะมากขึ้นเท่านั้น ครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์จะมีอาการเพียงเล็กน้อย คือ ลำไส้ขาดเลือดเพียงชั่วคราว ท้องอืด กินนมแม่ไม่ได้ประมาณ 7-10 วัน อีก 25 เปอร์เซ็นต์ มีลำไส้ตายแต่ไม่ทะลุ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทำอะไรค่ะแค่งดนมร่วมด้วยประมาณ 1-2 อาทิตย์ เพราะลำไส้จะรักษาตัวได้เอง และหายได้เป็นปกติในที่สุด
  • เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ และเกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น ทารกหายใจลำบาก เกิดภาวะอุณหภูมิต่ำหรือตัวเย็น หัวใจวายจากเส้นเลือดบริเวณหัวใจปิดไม่สนิท เกิดอาการชักหรือเกร็ง เกิดภาวะตัวเหลืองและซีด และเสียชีวิตได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up