อาการแพ้ท้อง เป็น อาการที่บ่งบอกว่าเรากำลังจะเป็นแม่คน ซึ่งอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านมักเป็นกังวลมากว่าการแพ้ท้องจะมีผลต่อลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง เราจึงมีวิธีที่จะช่วยลด อาการแพ้ท้อง จากคุณหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มาฝากค่ะ
อาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่ควรรู้!
ในทางการแพทย์ การแพ้ท้อง คือ การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทั้งนี้อาการแพ้ท้อง คือ การคลื่นไส้อาเจียน คุณแม่ท้องบางคนอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง
♥ Must read : 15 สัญญาณ คุณอาจเป็น ‘แม่ท้องคนใหม่’
อาการของอาการแพ้ท้อง มีอะไรบ้าง
- คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
- น้ำหนักลด
- ขาดน้ำ
- ปัสสาวะสีเข้ม
- เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงทางเต้านม
อาการ คัดเต้านมจะเหมือนกับอาการแน่แน่นเต้านมช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่อาการจะมากกว่าและไม่ลดลง มักจะเกิดหลังจากที่ไข่ได้ผสมกับตัวเชื้อแล้วประมาณ 2 สัปดาห์
ระยะเวลาที่จะเกิดอาการแพ้ท้อง หลังจากตั้งครรภ์
ระยะเวลาที่จะเกิดอาการแพ้ท้องนั้น คุณแม่แต่ละท่านจะเกิดในเวลาที่ไม่เท่ากัน อาจเป็นเพราะ ฮอร์โมน และการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่จะเกิดอาการแพ้ท้องเริ่มแรกในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากปฏิสนธิ ซึ่งบางท่านอาจจะเกิดเร็ว หรือช้ากว่านี้ นิดหน่อย – และอาการแพ้ท้อง คุณแม่โดยทั่วไปจะหยุดแพ้ท้องช่วง 20 สัปดาห์ หรือ จะมีบางท่านที่แพ้ท้องไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ หรือบางท่าน ก็จะมีอาการแพ้ๆ หยุดๆ แล้วก็แพ้ท้องอีก ก็มีเหมือนกัน
จากสถิติพบว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีอาการแพ้ท้องเกินกว่า 50 % โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกที่เริ่มตั้งครรภ์ จะมีอาการเยอะ
อ่านต่อ >> “ระดับของอาการแพ้ท้อง ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Amarin Baby & Kids