อาการ และอาการแทรกซ้อน
รกค้างทั้งรก มีอาการที่สังเกตได้ คือ เลือดจะไหลไม่หยุดหลังจากคลอดทารก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณหมอจะทราบและให้การรักษาทันทีหลังคลอดทารกแต่ไม่คลอดรกเกิน 30 นาที ด้วยการล้วงรก หรือฉีดฮอร์โมนเร่งการบีบตัวของรก เพื่อลดการเสียเลือดจากภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยอาการจากรกค้างทั้งรก มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดที่ชัดเจน เพียงแต่จะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด อ่อนเพลีย ซีด และขาดเลือด
อาการรกค้างบางส่วน สามารถเกิดได้หลังคลอดทันที หรือหลังจากคลอดเกิน 24 ชั่วโมงถึง 3 เดือน โดยหากแสดงอาการหลังคลอดทันทีก็จะทำให้เกิดการตกเลือด เลือดไหลไม่หยุดมีอาการเหมือนกับรกค้างทั้งรก แต่หากเกิดภายหลังคลอดสักระยะหนึ่ง มักจะเกิดจากการติดเชื้อของรกส่วนที่ไม่ได้ถูกคลอดออกมา ทำให้เกิดการอักเสบภายในมดลูก นำไปสู่อาการโพรงมดลูกอักเสบตามมา อาการที่พบคือ มีไข้สูง มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคาวปลาสีแดง มีกลิ่นเหม็นไหลต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ปวดท้องน้อยจากการบีบตัวของมดลูก
แม่ที่เคยมีประวัติรกค้างจะสามารถมีลูกได้อีกหรือไม่
ภาวะรกค้าง สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก เนื่องจากการรักษาด้วยการขูดมดลูกจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เมื่อมีการตั้งครรภ์ใหม่ รกที่เกิดใหม่จึงฝังตัวแน่น และหลุดลอกยากกว่าเดิม จึงทำให้มีโอกาสเกิดรกค้างได้ แต่ไม่ต้องกังวล ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้สูง แต่คุณแม่ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยต้องแจ้งคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและวางแผนในการดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันและดูแลตนเอง ให้รู้เท่าทันภาวะรกค้าง
คุณแม่ที่เคยเกิดภาวะรกค้างมาก่อนหรือยังไม่เคยเกิด ก็สามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ขณะตั้งครรภ์ เช่น การศึกษาข้อมูล สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะรกค้าง และหาวิธีป้องกัน ดังนี้
- หากเคยมีประวัติรกค้าง ควรแจ้งคุณหมอตั้งแต่ฝากครรภ์ เพื่อจะได้เตรียมตัววางแผนในการคลอดได้อย่างปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูก
- ตรวจอัลตร้าซาวน์ครรภ์ เพื่อหาความผิดปกติของครรภ์ในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง และตรวจครรภ์ตามนัดหมายสำหรับคุณแม่ทั่วไป
- คุณแม่ควรดูแลร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรง อย่าวิตกกังวลมากจนเกิดความเครียด เพราะภาวะรกค้าง แม้จะเกิดได้แต่ก็สามารถรักษาได้
- หากเกิดความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดแบบผิดปกติ ปวดท้องน้อยต่อเนื่อง ควรรีบพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคแทรกซ้อนอันนำมาสู่ภาวะรกค้างได้
ภาวะรกค้างหลังคลอด ภัยเงียบคร่าชีวิตที่คุณแม่ไม่ควรละเลย แต่หากเข้าใจ รู้วิธีการเตรียมตัว และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้คุณแม่ปลอดภัย ไม่ต้องกังวลกับภาวะรกค้างหลังคลอดอย่างแน่นอน
อ่านต่อ บทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก
รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตราย ตายได้ทั้งแม่และลูก
รกเกาะติดแน่น อันตรายถึงต้องตัดมดลูก
ชมคลิป จำลองเหตุการณ์ “ภาวะตกเลือดหลังคลอด”
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
นพ.ปกรณ์ จักษุวัชร และ รศ.พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ.ความผิดปกติของรก (Placental abnormalities).
รศ.พญ.ประนอม บุพศิริ.รกค้าง (Retained placenta).
ศ.เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์.รก (Placenta).