สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ที่แม่ท้องควรรู้
2. หากคุณแม่ผู้ประกันตนคลอดบุตร แล้วต่อมาคุณแม่เองเสียชีวิต โดยยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตรนี้ ทายาทมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ : ทายาทของผู้ประกันตนมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ เนื่องจากเป็นสิทธิที่มีอยู่ก่อนที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต
3. กรณีฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้หรือไม่
คำตอบ : สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วนำเอกสารหลักฐาน มายื่นเรื่องเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา
4. กรณีลูกจ้างคลอดบุตรภายใน 6 เดือน หลังจากออกจากงาน จะใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ : จะใช้สิทธิได้หรือไม่ จะต้องตรวจสอบการส่งเงินสมทบย้อนหลังไป 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนจะออกจากงาน ว่าผู้ประกันตนมีการนำส่งเงินสมทบครบ 5 เดือนหรือไม่ ถ้าครบตามหลักเกณฑ์ก็ใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้
5. ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรได้กี่ครั้ง
คำตอบ : ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิกรณีคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ( ฉบับใหม่ 2558 )
6. กรณี สามีและภรรยาต่างก็ส่งเงินเข้าประกันสังคมทั้งคู่ แบบนี้เบิกค่า คลอดบุตรโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม คู่เลยได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ค่ะ สามารถเลือกใช้สิทธิเบิกได้แค่ 1 สิทธิ จากสามีหรือภรรยาเท่านั้น
7. ในกรณีคลอดบุตร ทางโรงพยาบาลบริการคลอดให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ใน กรณีที่ผู้ประกันตนฝากท้องกับหมอคลีนิคแล้วไปคลอดที่โรงพยาบาลโดยการผ่าตัด กรณีอย่างนี้ผู้ประกันตนต้องชำระค่าคลอดบุตรด้วยหรือไม่
คำตอบ : ผู้ประกันตนต้องชำระตามจริง สำนักงานประกันสังคมจะเหมาจ่ายให้ผู้ประกันตน จำนวน 13,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
8. ผู้ประกันตนชายสามารถเปิดค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้หรือไม่
คำตอบ : ผู้ประกันตนชายสามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร โดยผู้ประกันตนชายจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท
9. สามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันภรรยาสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้หรือไม่ กรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว
คำตอบ : ได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส
10. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ไม่ได้ทำงาน ไม่ใช่ผู้มีรายได้สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้หรือไม่
คำตอบ : สามารถใช้สิทธิได้ เนื่องจากเป็นการเหมาจ่ายเงินรวมกับค่าคลอดบุตร โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นจำนวน 7,200 บาท
สำหรับคำถามอื่นๆ นอกเหนือจากข้างต้นเกี่ยวกับ การคลอดบุตรโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม ผู้มีสิทธิ์สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนของประกันสังคม 1506 หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บสำนักงานประกันสังคมนะค่ะหวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายที่มีสิทธิประกันสังคม อย่าลืมใช้สิทธิเบิกเงินชดเชยนะคะ
อ่านต่อ >> “เอกสารต่างๆที่ต้องใช้ในการทำเรื่องเบิก กรณีคลอดบุตร” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่