ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด น้ำนมไม่ลด ไม่ส่งถึงลูก
ยาส่วนใหญ่ออกทางน้ำนมน้อยมาก เพียงไม่ถึง 1% ของปริมาณยาที่แม่ได้รับ ยาพื้นฐานที่ใช้กันส่วนใหญ่ เช่น ยาแก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ เป็นต้น สามารถใช้ได้ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีข้อห้าม
- ยาแก้หวัด แก้แพ้ ลดน้ำมูก
ยาลดน้ำมูกที่ใช้ได้ ไม่มีผลกับน้ำนม ได้แก่ ยาลดน้ำมูกชนิดที่ไม่ทำให้ง่วง คือ ยา Cetirizine และ Loratadine
ไม่แนะนำยาลดน้ำมูกชนิดง่วงเพราะทำให้เด็กง่วงซึมได้ และควรหลีกเลี่ยงยาผสมที่มีตัวยาหลายๆ อย่างในเม็ดเดียวกัน หรือที่ออกฤทธิ์นานๆ เพราะจะส่งผลต่อลูกเป็นเวลานานด้วย
ยาที่ไม่แนะนำ ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน เช่น บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) เพราะจะทำให้ลูกร้องกวน นอนไม่หลับ
ยาที่มีผลต่อน้ำนม กินแล้วน้ำนมลด
– คลอเฟนนิรามิน (chlorpheniramine) เป็นยาลดน้ำมูก ใช้ได้ แต่คุณแม่จะง่วงนอนบ้าง น้ำนมอาจลดได้บ้าง
– Actifed มียาลดน้ำมูกรวมกับยาแก้คัดจมูก อาจจะง่วง และเสมหะจะเหนียว ต้องดื่มน้ำมากๆ ในบางคนที่ไวต่อยานี้มาก อาจมีผลกดการสร้างน้ำนมได้ ทำให้น้ำนมน้อยลง ให้ลองสังเกตอาการดู ถ้ามีปัญหาน้ำนมลดลง ให้หยุดยา ก็จะดีขึ้น
– Pseudoephedrine เป็นยาแก้อาการคัดจมูก ไม่แนะนำให้ใช้ในระยะยาวเพราะอาจมีผลยับยั้งการหลั่งน้ำนม อาจใช้ยาแก้คัดจมูกในรูปแบบพ่นแทน เช่น ยา Oxymetazoline
- ยาแก้ปวด ลดไข้
ยาแก้ปวดลดไข้ ยาระงับปวดลดไข้ที่ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก ได้แก่ ยา paracetamol ,ibuprofen
กลุ่มยาแก้อักเสบ แก้ปวดกล้ามเนื้อที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่แนะนำ เช่น ยา Ibuprofen , Mefenamic Acid, Diclofenec
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
- ยาแก้ไอ ขับเสมหะ
– Dextromethorphan เป็นยากดอาการไอ ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก
– Diphenhydramine ยานี้อาจทำให้ลูกง่วงซึมได้
- ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ)
– กลุ่มที่ใช้ได้ คือ กลุ่ม Penicillin เช่น Amoxicillin ,Cloxacillin, Amoxicillin&Clavuranic acid, Ampicillin เป็นต้น และ กลุ่ม Cephalosporin’s เช่น Ceftazidime,Ceftriaxone
– กลุ่มที่ไม่ควรใช้ คือ Metronidazole, Chloramphenicol, Ciprofloxacin,Tetracycline หรือ Doxycycline ซึ่งจะทำให้ลูกมีปัญหาฟันดำในระยะยาว
- ยาระบาย
ที่ใช้ได้โดยไม่มีอันตรายต่อลูก คือ ยาที่มีคุณสมบัติพองตัวในน้ำ เพิ่มกากอาหาร เช่นยา Mucillin หรือ ยากลุ่มที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เช่น Docusate
- ยาลดกรด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม เพราะซึมผ่านน้ำนมได้น้อย คุณ แม่จึงใช้ได้อย่างสบายใจ ส่วนยารักษาแผลในกระเพาะแนะนำให้ใช้ Sucrafate ซึ่งซึมผ่านไปยังน้ำนมได้น้อย หรือ ranitidine
7. ยาฆ่าเชื้อรา
แนะนำให้ใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดสอด แทนการใช้ยารับประทาน เช่น ยา clotrimazole ชนิดเหน็บช่องคลอด
กรณีใช้ยารับประทานแนะนำ Fluconazole ชนิดรับประทานครั้งเดียว
แม้ยาเหล่านี้เป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อย สำหรับรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการใช้ยาในในคุณแม่ที่ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำร้านยา และต้องไม่ลืมแจ้งว่า “กำลังให้นมบุตร” ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกน้อยนะคะ
กรณีคุณแม่มีข้อสงสัยในการใช้ยาระหว่างให้นมบุตร สามารถเข้าไปตรวจสอบว่ายานั้นมีผลกับน้ำนมหรือไม่ ได้ที่ www.e-lactancia.org หากเป็นยาในกลุ่มสีเขียว และสีเหลือง ถือว่าปลอดภัยสามารถใช้ได้ค่ะ