ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด ไม่ส่งถึงลูก เมื่อแม่เป็นหวัด เป็นไข้ - amarinbabyandkids
ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด

ยาแก้หวัด แก้ไข้ ที่แม่ให้นมกินแล้ว นมไม่หด ไม่ส่งถึงลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด
ยาที่กินแล้วน้ำนมไม่หด

ยาที่ไม่มีผลต่อน้ำนม

10 ข้อควรรู้ก่อนแม่ต้องกินยา เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่กินนมแม่

กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ คุณแม่ควรทราบวิธีใช้ยาอย่างถูกต้องเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายของยาแก่ลูกน้อยให้ลดน้อยลงที่สุด ดังนี้

  1. แม่ที่ให้นมลูกควรเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็น หรือถ้าเป็นไปได้ให้เลื่อนการใช้ยาไปจนกว่าจะถึงเวลาที่ลูกหย่านม
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
  3. ควรเลือกใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุด เลือกยาที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้นที่สุด หรือใช้ยาในช่วงระยะเวลาสั้นที่สุด เท่าที่จะทำได้
  4. ควรเลือกใช้ยาที่มีรูปแบบสูดพ่นหรือใช้ภายนอก แทนการใช้ยาแบบรับประทานหรือฉีด เช่น ยาบรรเทาอาการคัดจมูก แบบสูตรพ่นแทนยาบรรเทาอาการคัดจมูกแบบรับประทาน
  5. ให้ลูกดูดนมก่อนให้ยามื้อถัดไป หรือรอมากกว่า 2-3 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาจึงให้นมบุตร
  6. ในกรณีที่ต้องรับประทานยาวันละหลายครั้ง คุณแม่สามารถบีบน้ำนมเก็บไว้ก่อนที่คุณแม่จะรับประทานยา
  7. หยุดให้นมลูกในกรณีที่เป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงให้นมบุตร
  8. ควรเลือกใช้ยาที่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าปลอดภัยสำหรับแม่และทารก
  9. ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งว่า กำลังให้นมบุตร
  10. คอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูก ว่ามีอาการผิดปกติอย่างไร เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

คำถามที่คุณแม่ควรถามคุณหมอก่อนกินยา

หากคุณแม่ไม่สบายด้วยโรคอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจาก เป็นหวัด หรือเป็นไข้แล้ว นอกจากแจ้งคุณหมอว่า คุณแม่กำลังให้นมบุตร ควรถามคุณหมอด้วยว่า ยาที่คุณหมอจ่ายนั้นจะมีผลต่อทารกอย่างไรบ้าง เพื่อทราบถึงอาการปกติ และอาการไม่ปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น

  1. ถามคุณหมอว่า จำเป็นต้องใช้ยานานแค่ไหน และยานั้นจะมีผลต่อลูกอย่างไรบ้าง เพราะยาบางตัว ใช้เพียงไม่กี่วัน ไม่เป็นอันตราย แต่หากใช้ติดต่อกันนานๆ อาจสะสมในร่างกายของทารกที่กินนมแม่ จนเป็นอันตรายได้
  2. ถามคุณหมอว่า ยามีผลทำให้ลูกเกิดอาการอย่างไรได้บ้าง และอาการแบบไหนที่ไม่ปกติ เช่น ง่วงซึม ร้องงอแงผิดปกติ อาเจียน ท้องเสีย เป็นผื่น หากพบอาการเหล่านี้จะได้หยุดยาทันเวลา
  3. ขอคำแนะนำจากคุณหมอว่า ควรกินยาเวลาไหน เพื่อให้ยาส่งผ่านถึงลูกน้อยที่สุด เช่น การให้ทิ้งช่วงการให้นมไป โดยให้กินยาหลังให้ลูกดูดนมอิ่ม หรือกินในช่วงที่ลูกจะหลับยาว เพื่อให้ระดับยาในเลือดและในน้ำนมแม่ลดลงจนไม่เป็นอันตรายต่อลูก เนื่องจากยาส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระแสเลือดสูงสุด 1-3 ชั่วโมงหลังจากกินยา

เพราะน้ำนมแม่เป็นสุดยอดอาหารใน 6 เดือนแรกของชีวิตลูกน้อย แม้คุณแม่จะไม่สบายก็ยังสามารถให้นมลูกได้ โดยไม่ต้องงดนมแม่ เพราะยาที่ปลอดภัย ไม่ทำให้น้ำนมหด และไม่ส่งผลต่อลูกน้อยนั้นมีอยู่หลายตัว เพียงแต่คุณแม่ต้องแจ้งคุณหมอและเภสัชกรให้ทราบ เพื่อจะได้จ่ายยาที่ปลอดภัยให้แก่คุณแม่ค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย

แม่ให้นมลูก ดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น ได้ไหม ?

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : 10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก


ขอบคุณข้อมูลจาก thaibreastfeeding.org , breastfeedingthai.com , healthymax.co.th , เพจนมแม่ , pharmacy.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up