แพ้ท้องหนักแค่ไหนถึงควรไปพบแพทย์ทันที?
อาการต่อไปนี้ หากเกิดขึ้นกับแม่ท้อง ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที
- ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ไม่สามารถที่จะทานอะไรได้หรือ (รวมถึงน้ำ)
- ปัสสาวะมีสีเข้มและมีกลิ่น
- ไม่ปัสสะวะภายใน 4-6 ชั่วโมง
- รู้สึกอ่อนแรง
- อ้วกเป็นเลือด
- มีไข้
- มีอาการปวดท้อง
การรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
สำหรับแม่ท้องที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง จนแพทย์วินิจฉัยว่าต้องเข้ารับการรักษาอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล จะมีแนวทางการรักษา ดังนี้
- ป้องกันการแพ้ท้องอย่างรุนแรงด้วยการให้ทานวิตามินบี 6 ที่จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในแม่ท้องได้ดี
- ให้ทานขิง เปเปอร์มินต์ เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- การใส่สายรัดข้อมือกดจุดอาจช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของแม่ท้องได้ (ทำงานโดยการให้ความดันที่ปลอกข้อมืดกดจุดที่เรียกว่า “เพอริคาร์เดียม 6“)
- ให้น้ำเกลือทดแทนภาวะขาดน้ำ (อาจมีการเพิ่มแร่ธาตุหรือวิตามินด้วย)
- ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก อาจให้อาหารทางสายยางหรือหลอดเลือดแทนการกินอาหาร
- ให้ยากันคลื่นไส้ เช่น Phenergan (promethazine), Antivert (meclizine) หรือ Inapsine (droperidol), doxylamine-pyridoxine(Diclegis) หรือ metoclopramide (Reglan) ในรูปยาทาน, ยาให้ทางเส้นเลือด หรือยาเหน็บ
- การบำบัดเสริมอื่น ๆ เช่น นวด, ฝังเข็ม, กดจุด หรือสะกดจิต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการแพ้ท้องรุนแรง มีผลอย่างไรกับแม่ท้องและลูกในท้อง?
สำหรับแม่ท้องที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง มักจะกังวลว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้างกับลูกในท้อง ขอบอกว่าไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงนั้น จะมีผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันของแม่ท้องเสียมากกว่า สำหรับลูกในท้องนั้น หากได้รับการรักษาเร็ว ก็จะไม่มีผลกระทบอะไรเลยกับลูกในท้องเลยค่ะ
ผลกระทบที่อาจเกิดกับแม่ท้อง
- ภาวะขาดน้ำ
- ภาวะขาดสารอาหาร
- เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ
- เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
- สมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
- ในแม่ท้องบางราย อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้แต่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ หลอดอาหารฉีกขาดจากการอาเจียนอย่างรุนแรง ปอดยุบ โรคตับ ตาบอด สมองบวมจากการขาดสารอาหาร ไตวาย เลือดแข็งตัวเป็นก้อน ชัก โคม่า เสียชีวิต
ผลกระทบที่อาจเกิดกับลูกในท้อง
- หากแม่ท้องไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้เพียงพอตามมาตรฐานในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ลูกในท้องเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ มีการเจริญเติบโตช้า เป็นต้น
วิธีป้องกันอาการ แพ้ท้องหนักมาก
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ควรหาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน
- ทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยมากขึ้น ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างนาน เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ของทอน อาหารรสจัด อาหารร้อนจัด อาหารเย็นจัด ของดอง เพราะจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้ง่าย
- ทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ไข่ต้มสุก ปลาทะเล เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ข้าวสวย ธัญพืช ขนมปังกรอบ เป็นต้น
- ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ให้คอยจิบน้ำบ่อย ๆ ระหว่างวัน และควรดื่มน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหารประมาณ 30 นาที และไม่ควรดื่มน้ำพร้อมกับการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำหลังทานอาหารในทันที
- ไม่ควรนอนทันทีหลังทานอาหารเสร็จ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ร้อนอบอ้าว สถานที่คนแออัด และหลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่แล้วสบายตัว เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี
สรุปแล้วอาการ แพ้ท้องหนักมาก หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะไม่มีผลกระทบใด ๆ กับลูกในท้องเลย แต่คนที่มีอันตรายนั่นก็คือแม่ท้องนั่นเอง ดังนั้น หากแม่ท้องสงสัยว่าตัวเองน่าจะมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษานะคะ
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก
15 วิธีแก้อาการแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่มือใหม่
จริงหรือไม่? แม่แพ้ท้องหนักมากจะทำให้ลูกฉลาด IQ สูง
คนท้อง ท้องอืด รับมือได้ไม่ยากอย่างที่คิด
ขอบคุณข้อมูลจาก : Honestdocs, Babycenter
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่