แม่ท้องนั่งท่านี้..! เร่งปากมดลูกเปิด และลดการเจ็บคลอดได้ - amarinbabyandkids
เร่งปากมดลูกเปิด

เคล็ดลับการนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์ ลดการเจ็บปวดและช่วย เร่งปากมดลูกเปิดเร็ว

event
เร่งปากมดลูกเปิด
เร่งปากมดลูกเปิด

เร่งปากมดลูกเปิด

ในระยะ 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอด ช่วงใกล้คลอดเป็นช่วงที่แม่ท้องต้องพักผ่อนให้มาก การบริหารต่างๆ ต้องลดลง ส่วนใหญ่จะให้ฝึกท่าที่ผ่อนคลายและการฝึกหายใจ ฝึกสมาธิ ฝึกเตรียมการคลอดเวลาเจ็บครรภ์คลอดซึ่งปกติการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน และจะคลอดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 37-43 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะคลอดในสัปดาห์ที่ 40–41 เมื่อเวลาใกล้คลอดจะมีอาการเจ็บครรภ์เตือน มดลูกเริ่มมีการบีบตัว ครั้งแรกๆ อาจจะเจ็บท้องเพียงเล็กน้อยเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวันแล้วหายไป เมื่อถึงเวลาจะคลอดจริงอาการปวดจะถี่ขึ้น และมีน้ำเดินตามมา ศีรษะเด็กจะลงมาในอุ้งเชิงกราน การคลอดจึงเกิดขึ้น คุณแม่ท้องจึงต้องฝึกหัดการหายใจเพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเมื่อเวลาเจ็บครรภ์จริง อย่างท่าผีเสื้อ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าสามารถช่วยลดกรเจ็บท้องคลอดละเร่งปากมดลูกเปิดเร็วขึ้นได้

วิธีฝึกปฏิบัติโยคะท่าผีเสื้อ

ประโยชน์ของโยคะท่าผีเสื้อ จะช่วยในระบบขับถ่ายปัสสาวะและลำไส้เล็ก อุ้งเชิงกราน มดลูกและรังไข่กระตุ้นระบบประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ บรรเทาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

เร่งปากมดลูกเปิด
การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด
  • ให้แม่ท้องนั่งลำตัวตรงยืดขา อยู่ในท่าเตรียมก่อนนั่งท่าผีเสื้อ
  • จากนั้นดึงฝ่าเท้าประกบกันไว้ ให้ส้นเท้าชิดกับฝีเย็บมากที่สุด แล้วเอามือจับเข่าทั้งสองกดลงแนบกับพื้นเท่าที่ทำได้แล้วปล่อย ทำหลายๆ ครั้ง ท่านี้ช่วยให้ข้อสะโพกและกระดูกหัวเหน่าขยายออก ช่วยให้การคลอดง่ายขึ้น
  • ต่อมามือทั้งสองจับปลายเท้าไว้ กดเข่าชิดพื้น ให้มากที่สุด หายใจเข้าช้าๆ ยืดอกขึ้นเต็มที่ ต่อมาหายใจออกค่อยๆ ก้มตัวลงหน้าผากชิดปลายเท้า เท่าที่ทำได้ ค้างสักครู่ หายใจเข้าเงยหน้าขึ้น ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
  • หลังจากนั้นให้ฝึกขมิบก้นต่อ โดยนั่งในท่าเดิมหายใจเข้าช้าๆ แล้วหายใจออกจนลมหมด ขมิบก้นและช่องคลอดค้างไว้ 5-10 วินาที และผ่อนคลาย ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง ฝึกเช้าเย็นทุกวันจะช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดมีความยืดหยุ่นขยายตัวดี

การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด

  • คุณแม่นั่งอยู่บนเตียงรอคลอดในท่าเตรียม (นั่งตัวตรงยืดขา)
  • ให้คุณแม่ดึงฝ่าเท้าเข้ามาประกบกัน โดยให้ส้นเท้าอยู่ชิดกับฝีเย็บมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เร่งปากมดลูกเปิด
ภาพที่ 1 การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด
  • จากนั้นนำหมอนมาวางบนโต๊ะคร่อมเตียงที่ด้านหน้าของคุณแม่ โดยให้ความสูงของหมอนอยู่ในระดับซอกรักแร้ โดยวางแขนแล้วคว่ำมือทั้ง 2 ลงบนหมอน ในท่านั่งที่เท้าประกบกันแล้ว ตามภาพที่ 2
เร่งปากมดลูกเปิด
ภาพที่ 2 การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด
  • แล้วให้คุณแม่ท้องเอนตัวไปข้างหน้า โดยให้แนวกระดูกสันหลังทำมุมประมาณ 15 องศากับแนวดิ่ง แล้วซบหน้าลงบนหมอนระหว่างแขนทั้งสองข้างที่กางออก โดยให้ตะแคงหน้าทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วค่อยๆ คลายหัวไหล่ออก งอข้อศอกออกเล็กน้อยพร้อมหันข้อศอกออกด้านนอก
  • จากนั้นทิ้งน้ำหนักตัวไปข้างหน้าตามสบาย หายใจเข้าออกตามธรรมชาติ ดังภาพที่ 3 และ 4 โดยเรียกท่านี้ว่าเป็นท่านั่งผีเสื้อประยุกต์
เร่งปากมดลูกเปิด
ภาพที่ 3 การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด
เร่งปากมดลูกเปิด
ภาพที่ 4 การนั่งท่าผีเสื้อประยุกต์รอคลอด เร่งปากมดลูกเปิด

:: ข้อห้ามในการจัดท่านั่งผีเสื้อประยุกต์ในระยะคลอด ::

ในการจัดท่านั่งระยะคลอดของคุณแม่ท้อง ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ จึงไม่ควรจัดท่านั่งผีเสื้อประยุกต์ให้คุณแม่ที่มีระยะใกล้คลอดซึ่งกำลังมีภาวะร่างกาย ดังต่อไปนี้

  1. ในคุณแม่ระยะคลอดที่มีการรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำ ในขณะที่ส่วนนำของทารกยังไม่เคลื่อนเข้าสู่ช่วงของเชิงกราน หรือส่วนนำยังไม่อยู่ที่ระดับ 0 เพราะอาจส่งผลให้เกิดสายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือถูกกด ทำให้ลูกน้อยอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
  2. คุณแม่ระยะคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุขณะนั่งในท่านี้ได้ ทำให้มีภาวะตกเลือดก่อนคลอด รกเกาะต่ำ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการเสียเลือดมากขึ้น มีการมดลูกหดรัดตัวแรงผิดปกติ เนื่องจากท่านั่งนี้จะเพิ่มแรงดันภายในมดลูกตามแรงโน้มถ่วงของโลก

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ”คลิก!


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความปวด และเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ในหญิงระยะคลอด / วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2558

http://db.hitap.net/articles/2597 , http://db.hitap.net/articles/2306 , http://db.hitap.net/articles/2375

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up