ยายับยั้งการคลอดมีกี่แบบ มีอาการข้างเคียงหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว หมอจะแนะนำให้ทำการคลอดใกล้กำหนดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่หากเกิดภาวะเสี่ยงขึ้น หมอก็จะรักษาเบื้องต้นก่อนการใช้ยา โดยอาจให้นอนพักและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อน แต่หากการนอนพักยังไม่ได้ผล หมอจะพิจารณาการให้ยายับยั้งการคลอด ร่วมกับยาเร่งการพัฒนาปอดของทารก โดยยายับยั้งการคลอดที่หมอใช้ มีดังนี้
ป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้อย่างไร
แม้ว่าจะยังไม่สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่จะทำให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้ ดังนี้
- การเย็บผูกปากมดลูก สำหรับแม่ท้องที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดและแท้งติดต่อกันเกิน 3 ครั้งขึ้นไป และปากมดลูกสั้นกว่า 2.5 เซนติเมตร หมอจะแนะนำให้ทำการเย็บผูกปากมดลูก
- การฝากครรภ์และการพบแพทย์ตามเวลานัด จะช่วยลดโอกาสภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ เพราะแพทย์และพยาบาลจะคอยแนะนำและดูแลแม่ท้องและลูกในท้องไม่ให้เกิดอันตรายได้
- การรับประทานอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิค ธาตุเหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 12 ไนอาซิน หรือสังกะสี เพื่อชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดหายไปในอาหารที่แม่ท้องทาน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เรื่องขนาดและปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่ควรจะได้รับในเงื่อนไขของหญิงตั้งครรภ์
- งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับลูกในท้อง
- ควรเว้นระยะห่างจากการตั้งครรภ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 6 เดือน อาจสามารถลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ต่อไปได้
- เพิ่มความระมัดระวังการทำกิจกรรม เช่น การออกกำลังกาย การยกของหนัก การทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก รวมถึงการกระแทก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
สรุปแล้ว ยายับยั้งการคลอด ไม่สามารถยืดการคลอดจนถึงกำหนดคลอดได้ในเข็มเดียว และการใช้ยาประเภทนี้ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้น แม่ท้องที่มีภาวะเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อร่วมกันหาแนวทางการยับยั้งการคลอดที่เหมาะสมที่สุดค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
13 ความเสี่ยงเมื่อ ลูกคลอดก่อนกำหนด
คลอดก่อนกำหนด อันตราย กว่าที่คิด!!!
น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร? แตกต่างกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : Thai Maternal and Child Health Network, Pobpad
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่