ปัญหาเกี่ยวกับ “เท้า” ที่คนท้องต้องเจอมีอะไรบ้าง?
- อาการบวมน้ำ อันมีสาเหตุมาจากในร่างกายของคุณแม่สะสมของเหลวมากเกินไป ส่งผลทำให้ท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น กระดูกเชิงกรานจึงไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่มีชื่อว่า เวนาคาวา ทำให้การไหลเวียนโลหิตนั้นไหลเวียนไม่ค่อยสะดวก ซึ่งพบมากในคุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่ในช่วงไตรมาสสามขึ้นไป
- เท้ามีรูปทรงผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น เท้ามีลักษณะการหมุนของเท้าจากข้างนอกบิดเข้าข้างใน พออายุมากขึ้น น้ำหนักตัวก็เริ่มมากขึ้นไปด้วย ส่งผลทำให้เดินไม่ค่อยถนัด และจะรู้สึกปวดมากกว่าคนท้องปกติทั่วไป
- เส้นเลือดขอด การเส้นเลือดขอดเกิดจากการที่ทารกมีขนาดโต ไปกดทับเส้นเลือดบริเวณหน้าท้อง หลัง และต้นขาทำให้การไหลเวียนของระบบเลือดผิดปกติ เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ยากขึ้น จึงเหลือค้างในเส้นเลือดฝอยที่ขา ประกอบกับขาที่เป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนล่างเลือดจึงค้างได้มาก และนานทำให้เกิดเส้นโป่งพองและขอดเป็นเส้น ๆ
- ปวดขา อย่างที่ทราบกันดีว่า ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไร น้ำหนักตัวของคุณแม่ก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วยฉันนั้น และอาการที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ อาการปวดขา ทำให้ขาต้องทำการหนัก เพราะรับน้ำหนักตัวของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปด้วย จึงทำให้เกิดอาการปวดในที่สุด