นายแพทย์พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์ จากโรงพยาบาลมนารมย์ ได้ทำการอธิบายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้ฟังว่า โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ
- ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมอง เช่นความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่สำคัญ สืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
- ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าปัจจัยทางอารมณ์ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่นหากเป็นภาวะซึมเศร้าในวัยเด็ก อาจมีสาเหตุจากความตึงเครียดในครอบครัว เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง หรือความคาดหวังทางการศึกษาเล่าเรียนที่สูงส่งเกินความสามารถของตน ภาวะซึมเศร้าในโรคประสาท ซึ่งอาจพบร่องรอยว่าถูกบีบคั้นอย่างมากในวัยเด็ก แล้วปะทุออกมาในช่วงชีวิตภายหลัง ภาวะซึมเศร้าเพราะความชรา เกิดเพราะความสามารถในการปรับตัวลดน้อยลง มีชีวิตโดดเดี่ยว ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยหรือปัญหาที่เรียกกันว่า ภาวะสะเทือน เป็นต้น
สำหรับวิธีบำบัดนั้น ทำได้ดังนี้
- ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาคุมนานเกินไป แนะนำให้รับประทานอาหารประเภท นมถั่วเหลือง ไข่ เนยแข็ง ตับ ข้าวโพด และปลาชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งสารอาหาร วิตามินบี6 และ บี12 มีส่วนช่วยทำลายสารที่ส่งผลข้างเคียงกับภาวะอารมณ์ได้
- อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
- พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
- คนรอบข้างจะต้องให้กำลังใจและพร้อมที่จะรับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย โดยไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรำคาญ
- อย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลา ช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น
ขอบคุณที่มา: Sanook, New18, Hamoor และ Gotomanager 360
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
- วิจัยเผย! แม่เลี้ยงลูกลำพังเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด!
- หน้า 7 หลัง 7 คุมกำเนิดแบบนับระยะปลอดภัยได้ผลจริงหรือ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่