มดลูกเข้าอู่ช้า

มดลูกเข้าอู่ช้า และอาการผิดปกติของมดลูกหลังคลอด

Alternative Textaccount_circle
event
มดลูกเข้าอู่ช้า
มดลูกเข้าอู่ช้า

มดลูกเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ ที่สามารถขยายตัวได้อย่างมากจนสามารถเป็นที่อยู่ของทารกได้ และเมื่อคลอดทารกออกมาแล้ว มดลูกก็หดรัดตัวเล็กลงเรื่อยๆ จนกลับคืนสู่สภาพปกติ เรียกว่า มดลูกเข้าอู่ แต่หากมดลูกไม่เข้าอู่ มดลูกเข้าอู่ช้า หรือมดลูกผิดปกติ จะมีวิธีสังเกตอย่างไร

ระยะหลังคลอด (Postpartum period) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดทารกและรกเสร็จสิ้น ไปจนถึงระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งการคลอดปกติทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด ในช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระและฮอร์โมนของคุณแม่หลังคลอดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ

ในช่วงหลังคลอดนี้จะมี น้ำคาวปลา/เลือด ของเหลวในโพรงมดลูกจะถูกขับออกมาทางช่องคลอด หลังกระบวนการคลอดทุกอย่างเสร็จสิ้น โดยในระยะ 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีสีแดง ระยะ 4-10 วันหลังคลอด สีของน้ำคาวปลาจะเป็นสีแดงจางลง หลังจากนั้น น้ำคาวปลาจะเป็นสีขาว ซึ่งอาจจะมีอยู่นานถึง 4-6 สัปดาห์

จะรู้ได้อย่างไรว่า มดลูกเข้าอู่แล้ว

มดลูกเข้าอู่ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์นับจากวันคลอด อาการที่พอจะสังเกตได้คือ น้ำคาวปลาหมด ไม่ออกมาอีก ไม่มีตกขาวกลิ่นเหม็น ไม่ปวดท้อง และมดลูกหดตัวจนเท่าขนาดปกติก่อนคลอด โดยจะคลำไม่พบก้อนแข็งที่หน้าท้องอีก

มดลูกเข้าอู่ช้า
มดลูกเข้าอู่ช้า

ทำอย่างไรให้มดลูกเข้าอู่เร็ว

การดูแลมดลูกหลังคลอดที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกกินนมแม่ เพราะจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนทำให้มดลูกมีการหดรัดตัว ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ค่ะ

ทั้งนี้ ช่วงหลังคลอด แพทย์จะนัดคุณแม่มาตรวจสุขภาพหลังคลอด ในเรื่องน้ำคาวปลา การขับถ่าย แผลฝีเย็บ แผลผ่าตัดคลอด มะเร็งปากมดลูก และตรวจดูมดลูกช่วงหลังคลอด ซึ่งแพทย์จะตรวจดูว่ามดลูกของคุณแม่หดรัดตัวกลับสู่ภาวะปกติหรือไม่ เพราะบางครั้งพบว่าคุณแม่เกิดภาวะความผิดปกติบางอย่างของมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่ช้า ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสมจากแพทย์ต่อไป หรือหากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำคาวปลาออกมามากผิดปกติ มีไข้ ปวดท้องมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขโดยเร็ว

บทความแนะนำ 10 เคล็ดลับบำรุง ‘มดลูก’ ให้แข็งแรง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ> มดลูกเข้าอู่ช้า มดลูกอักเสบ มดลูกเคลื่อน มดลูกหย่อน อาการผิดปกติหลังคลอดที่ต้องสังเกต คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up