ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ - amarinbabyandkids

ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event

เวิร์คกิ้งมัม

9.ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม

– น้ำนมแม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง 25 องศา จะเก็บได้นาน 6 ชั่วโมง หากสูงกว่า 25 องศาเก็บได้นาน 2 ชั่วโมง

– น้ำนมแม่เก็บในตู้แช่แข็งได้ 3 เดือน ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 เดือน ช่องธรรมดา 48 ชั่วโมง

– ก่อนให้ลูกดื่มนมแม่ ควรย้ายนมจากช่องแช่แข็งมาเก็บในช่องธรรมดาก่อน จะเก็บได้นาน 12 ชั่วโมง

– ไม่ควรเก็บน้ำนมแม่ไว้ที่ฝาประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่อาจลดระยะเวลาในการเก็บให้สั้นลง

– เลือกใช้ขวด หรือถุงที่บีบไว้ก่อนเสมอ

– ควรเก็บน้ำนมในปริมาณที่ลูกต้องการในแต่ละมื้อ โดยบรรจุถุง หรือขวดให้เท่ากับจำนวนที่ลูกกิน มื้อไหนบีบได้น้อยให้เก็บเท่าที่บีบได้ อย่านำมารวมกัน แต่สามารถนำมาละลายรวมกันให้พอตามปริมาณที่ลูกต้องการได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

– นมที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าเก็บไว้

– หากพบว่าน้ำนมแยกส่วนกันไม่ต้องตกใจ ปกติน้ำนมจะแยกเป็นส่วนอยู่แล้ว ข้นอยู่ด้านบน ใสอยู่ด้านล่าง

– สี กลิ่น และรสชาติของนมแม่จะเปลี่ยนไปตามอาหารที่แม่กิน เช่น สีเขียว หรือ สีแดง

– เวลานำนมออกมาใช้ ให้ละลายด้วยน้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อน ต้มให้เดือด และห้ามอุ่นเตาไมโครเวฟ เพราะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำลายคุณค่านมแม่ ทั้งนี้ลูกสามารถกินนมเย็นที่มาจากตู้เย็นได้เลย

10. กลางคืนให้ลูกดูดแค่เต้าเดียว เพื่อสะสมปริมาณน้ำนมให้สามารถบีบจากอีกเต้าได้ในปริมาณมาก แต่ถ้ามีอาการคัดระหว่างคืนให้รีบบีบออก การบีบหรือปั๊มออก ยิ่งช่วยสร้างน้ำนม

11. วันหยุด คือ นาทีทอง ให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้งที่เขาต้องการ และให้ดูดอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน เพื่อรักษาปริมาณน้ำนมไว้ เพราะการกระตุ้นที่ดีที่สุด คือการให้ลูกดูดโดยตรง

12. ให้ลูกดูดนมจากเต้าเต็มที่ ตั้งแต่ตอนก่อนออกจากบ้าน และให้รีบดูดทันทีที่แม่กลับมาถึง ให้ดูดนมแม่จากเต้าทุกครั้งที่ลูกหิว

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up