เสริมความฉลาด สร้างเซลล์สมอง ลูกน้อย - amarinbabyandkids

7 วิธี เสริมความฉลาด สร้างเซลล์สมอง ลูกน้อย

Alternative Textaccount_circle
event

4. การเล่นช่วยพัฒนาอัจฉริยภาพ

การเล่นมีผลต่อการพัฒนาสมองโดยตรง หากพ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นตามวัยอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยกระตุ้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อทำให้สมองเกิดการพัฒนาการเติบโตได้เป็นอย่างดี

5. พัฒนาสมองด้วยการอ่านหนังสือ

เซลล์สมองจะเชื่อมต่อได้ดีและแตกแขนงออกไปเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมผ่านการเรียนรู้และฝึกใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ โดยเฉพาะทางตาและทางหู การอ่านหนังสือมีอิทธิพลในการกระตุ้นเซลล์สมองที่สำคัญอย่างยิ่ง ช่วยให้เส้นใยสมองเพิ่มมากขึ้น

6. สมองเหมือนกันแต่ฉลาดต่างกัน

เด็กๆ อาจมีขนาดสมองไม่แตกต่างกัน แต่มีศักยภาพสมองที่แตกต่างกันได้ นอกจากพันธุกรรมที่ได้รับมาแต่กำเนิด จุดสำคัญที่ทำให้เด็กฉลาดแตกต่างกันก็คือปริมาณการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เซลล์สมองเด็กเกิดการเชื่อมต่อได้ตั้งแต่ลูกคลอดออกมาโดยให้ลูกได้กินนมแม่ซึ่งมีสารอาหารที่ดีต่อสมองอยู่มากมาย เช่น ดีเอชเอ

7. เครือข่ายใยประสาท

สมองของมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ ทุกครั้งที่เรานึกถึงความทรงจำหรือเกิดความคิดใหม่ๆ เซลล์สมองจะส่งผ่านกระแสไฟฟ้าภายในเซลล์สมองของตนเองและสื่อผ่านไปยังเซลล์อื่นด้วยสารสื่อประสาทอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นทุกๆ ครั้งที่เด็กถูกกระตุ้นให้คิด ให้ทำซ้ำๆ จุดเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นหรือที่มีอยู่แล้วก็จะแข็งแรงขึ้นยิ่งขึ้น4

 

ช่วงวัย 1-5 ปีแรกคือช่วงวัยทองของสมอง หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มต้นกระตุ้นมาตั้งแต่ช่วงที่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์ของแม่ และกระตุ้นต่อเนื่องหลังคลอดไปเรื่อยๆ  เพราะเมื่อถูกสมองถูกกระตุ้นจะยิ่งเกิดการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นหากอยากจะสร้างให้ลูกเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดไม่ใช่เรื่องยาก พ่อแม่คือผู้ช่วยคนสำคัญที่จะส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการทางสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัย และต่อยอดให้มีศักยภาพมากขึ้นเมื่อลูกเติบโตขึ้นในอนาคตข้างหน้า …ด้วยความใส่ใจจากทีมงาน Amarin Baby & Kids

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ

10 สุดยอด “อาหารบำรุงสมอง” ลูกน้อย
เทคนิคกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดอย่างถูกวิธี
การดูแลลูกในครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาส 1 – 3 ทุกวินาทีคือก้าวสำคัญ

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

1sites.google.com
2รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. www.si.mahidol.ac.th
3,4รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย. www.thaihealth.or.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up