เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีข่าวน่าเศร้าของเด็กหญิงวัย 14 ปี ที่ผูกคอเสียชีวิตภายในบ้านของตัวเอง ซึ่งร่างกายไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย พบชุดนักเรียนแขวนเอาไว้ในตู้เสื้อผ้า ใกล้ๆ กันพบจดหมายเขียนด้วยลายมือลงบนกระดาษสมุด ก่อนที่ ลูกน้อยฆ่าตัวตาย ในจดหมายมีข้อความว่า
“แม่หนูขอโทษ หนูรู้ว่าหนูอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ เดี๋ยวก็ไม่สบายอีก มันทำให้หนูคิดว่าอยู่ไปก็ทำให้คนในบ้านเหนื่อยอีก หนูอยากจะบอกว่าหนูรักพ่อและแม่นะ ขอบคุณที่ดูแลมา 14 ปี รักพ่อแม่ จากน้องพร”
เครดิตภาพ: กลุ่มคนอาสา กู้ชีพ กู้ภัย Thailand
จากการสอบสวน ญาติเล่าว่า น้องพรเป็นเด็กร่าเริง เป็นที่รักของคนในบ้าน และชุมชน เป็นเด็กเรียนดี แต่มาในระยะหลังมีอาการป่วยบ่อยๆ ซึ่งล่าสุดเพิ่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล เมื่อช่วงเช้าเห็นน้องพรตื่นขึ้นมารีดชุดนักเรียน เพื่อที่จะไปเรียนตามปกติ หลังจากที่พ่อแม่ออกไปค้าขาย และญาติไปทำงาน คุณแม่เห็นว่าลูกสาวยังไม่ออกมา จึงย้อนกลับไปดูที่บ้าน คิดว่าป่วย แต่กลับพบว่าน้องพรผูกคอตาย จึงพยายามช่วยลงมาแล้ว แต่สายเกินไป และคิดว่าลูกสาวคงไม่อยากเป็นภาระของครอบครัว เพราะเจ็บป่วยบ่อยๆ
การฆ่าตัวตายในเด็ก
การฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นการตั้งใจทำร้ายตัวเองเพื่อให้เสียชีวิต และการพยายามฆ่าตัวตายคือการทำร้ายตัวเองแต่ไม่เสียชีวิต เด็กที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จจะมีบางอย่างคล้ายกัน แต่ก็มีบางอย่างแตกต่างกัน ความคิดที่จะฆ่าตัวตายจะพบบ่อยในวัยรุ่น จากการสำรวจพบว่ามีเด็กพยายามฆ่าตัวตาย ตั้งแต่อายุ 12-18 ปี ประมาณ 2-8%
สาเหตุของการฆ่าตัวตาย
เด็กและวัยรุ่นชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการยิงตัวตาย หรือแขวนคอ ซึ่งรุนแรงกว่าการกินยา และกระโดดตึกที่มักทำโดยเด็กผู้หญิง สาเหตุที่ทำให้ฆ่าตัวตาย ได้แก่
1.การถูกจับได้ว่าทำผิด หรือการคาดโทษ จึงอยากหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย
2.การถูกดูถูก หรือการเยาะเย้ยจากเพื่อน รู้สึกไร้ค่า ไม่มีความสุขในชีวิต
3.การทะเลาะ หรือการถูกตัดความสัมพันธ์จากคนที่รัก ความรักในวัยรุ่นที่ยังควบคุมความพอดีไม่ได้
4.ความไม่เข้าใจในครอบครัว เนื่องจากไม่เปิดใจคุยกัน ทำให้ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
5.มีปัญหาที่โรงเรียน การขาดเรียน เนื่องจากสาเหตุต่างๆ
6.การที่ได้ยิน ได้เห็นคนใกล้ชิด หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือตัวละครในโทรทัศน์ฆ่าตัวตายสำเร็จ
7.มีอาการของโรคซึมเศร้า และอยากฆ่าตัวตายโดยไม่มีเหตุกระตุ้น
8.สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคจิตเวช มีอาการซึมเศร้า ความประพฤติผิดปกติ ท้อแท้ สิ้นหวัง
เด็กที่มีการฆ่าตัวตายสำเร็จมักจะมีการวางแผนล่วงหน้า เช่น เก็บสะสมยา ทิ้งจดหมายลาตาย ยกสมบัติให้คนอื่น ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กที่ฆ่าตัวตายสำเร็จจะบอกว่าฆ่าตัวตายล่วงหน้า 1 วันก่อนตาย โดยพบในเด็กหญิง 50% และเด็กชาย 25% โดยเคยมีความพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
อ่านต่อ ลักษณะของเด็กที่พยายามฆ่าตัวตาย กับวิธีแก้ปัญหาการฆ่าตัวตาย คลิกหน้า 2