-
ลูกชอบแคะจมูก
พฤติกรรมการแคะจมูกนั้น แม้ว่าจะเริ่มต้นในช่วงวัยเด็ก แต่ก็สามารถสืบเนื่องต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยสถิติหนึ่งในปี ค.ศ.1995 ระบุว่าประมาณร้อยละ 91 ของผู้ใหญ่แคะจมูกเป็นประจำ อีกทั้งร้อยละ 8 ของจำนวนดังกล่าวยังรายงานว่าได้รับประทานสิ่งที่ตนเองแคะออกมาด้วย
-
ลูกชอบดูดนิ้ว
เนื่องจากเมื่อครั้งยังเป็นทารก นิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่สัมผัสกับปากเด็กมากที่สุดในขณะที่เด็กดูดนม ดังนั้น โดยปกติแล้ว เด็กจึงนิยมดูดนิ้วหัวแม่มือเป็นหลัก ทั้งนี้ เด็กที่ดูดนิ้วส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก ซึ่งอาจเริ่มได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2-4 ขวบ เด็กบางคนอาจดูดนิ้วอื่นๆ ดูดมือ หรือดูดทั้งกำปั้น โดยบางคนจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวร่วมกับการดูดนิ้วหัวแม่มือ หรือบางคนอาจจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวแทนการดูดนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเหตุผลในการดูดนิ้วของเด็กส่วนใหญ่คือ เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ แต่หากลูกชอบดูดนิ้วบ่อยจนเกินไปทั้งที่อายุเกิน 4-5 ขวบไปแล้วอาจหมายถึงปัญหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันบนและฟันล่างเหลื่อมกัน (Overbite) หรือนิ้วติดเชื้อ รวมไปถึงการถูกล้อเลียนจนขาดความมั่นใจ
ทั้งนี้ยังมีปัญหาบุคลิกภาพของเด็กอื่นๆ ยังได้แก่ การกัดฟัน การโขกศีรษะ กัดริมฝีปาก การทำเสียงจากลำคอ เป็นต้น
สาเหตุของปัญหาบุคลิกภาพของเด็ก
ปัญหาบุคลิกภาพของเด็กๆ เหล่านี้ ถือเป็นพฤติกรรมที่สามารถทำให้เด็กรู้สึกดีได้ในทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น เด็กจึงกระทำต่อเนื่องจนติดเป็นนิสัย ซึ่งความเคยชินเหล่านี้อาจช่วยเด็กในการแก้ไขปัญหา แต่ก็สามารถอาจก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน พฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นความบันเทิงรูปแบบหนึ่งสำหรับเด็กที่รู้สึกเบื่อ
- สำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นกลไกในการผ่อนคลายความกังวล ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ตรงของเด็ก เพราะฉะนั้นเด็กจึงสร้างพฤติกรรมการกัดเล็บหรือม้วนผมเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียดในลักษณะเดียวกับที่ผู้ใหญ่ระบายความเครียดด้วยการออกกำลังกาย ในทางกลับกัน เด็กบางคนแสดงพฤติกรรมดังกล่าวเมื่อรู้สึกผ่อนคลาย เช่น เมื่อกำลังจะหลับ หรือกำลังฟังเพลงสบายๆ
- มาจากพฤติกรรมสืบต่อจากช่วงวัยทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูดนิ้ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมการผ่อนคลายตนเองของเด็ก อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับความรู้สึกพึงพอใจที่ได้จากการดูดนม ดังนั้น พฤติกรรมการดูดนิ้วจึงสามารถพบได้ทั่วไป ด้วยเพราะช่วยมอบความรู้สึกทางด้านบวกให้แก่เด็ก
- อาจเกิดจากครอบครัว โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าพฤติกรรมการกัดเล็บมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางพันธุกรรม หรือแม้กระทั่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เด็กเห็นจากการสังเกตพฤติกรรมของคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นหากในครอบครัวมีคนที่ชอบกัดเล็บ หรือมีประวัติการกัดเล็บ เด็กก็อาจมีปัญหาบุคลิกภาพตามไปด้วย อีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาบุคลิกภาพของเด็ก ได้แก่ การพยายามเรียกร้องความสนใจจากผู้ปกครอง โดยหากเด็กรู้สึกว่าเมื่อใดผู้ปกครองมีท่าทีไม่ใส่ใจพวกเขา เด็กจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวให้ผู้ปกครองเห็น ทั้งนี้เพราะเด็กรู้ว่าจะเป็นการกระตุ้นผู้ปกครองให้มาสนใจ พร้อมทั้งว่ากล่าวตักเตือนหรือห้ามปรามพวกเขาไม่ให้กระทำพฤติกรรมดังกล่าว