เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก มาดูกันว่าทำอย่างไร? - Amarin Baby & Kids
เด็กสายตาสั้น

เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก มาดูกันว่าทำอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กสายตาสั้น
เด็กสายตาสั้น

เด็กสายตาสั้น เป็นปัญหาสายตาที่พวกเขาอาจไม่รู้ตัว คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่าเวลาลูกสาวดูโทรทัศน์มักจะหยีตา และเพ่งมาก จึงพาไปตรวจ ปรากฎว่าสายตาสั้น 150 และเอียง 100! เด็กน้อยอายุ 6 ขวบจึงได้สวมแว่นสายตาไปตามระเบียบ

เด็กสายตาสั้น ป้องกันได้ตั้งแต่ยังเล็ก

เด็กอายุ 5 – 7 ขวบสวมแว่นสายตาแล้ว?? แบบที่ไม่ใช่เพราะพันธุกรรมอย่างเดียว แต่สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ เด็กสายตาสั้น จนต้องใส่แว่นสายตาตั้งแต่อายุยังน้อยจนน่าตกใจ ตามที่คุณหมออธิบายคือเด็กยุคนี้อยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น เล่นเกมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน หรือกดเกมไอแพดที่มีแสงและสีแสบตานานเกินไป บางคนก็ดูโทรทัศน์มากเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อสายตาของเด็กๆ ได้มากกว่าสมัยก่อนที่ยังไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาสายตาก่อนวัยอันควร

บทความแนะนำ สายตาเสีย ตั้งแต่เล็กเพราะทำ 8 พฤติกรรรมเสี่ยง!

ปัญหา เด็กสายตาสั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กๆ ซึ่งพ่อแม่ย่อมไม่อยากให้เกิด มาช่วยกันดูแลสายตาลูกน้อยตั้งแต่วันนี้กันดีกว่าค่ะ

ความหมายของสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง

อาการสายตาสั้นเป็นอย่างไร
สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แตกต่างก้นอย่างไร


สายตายาว
 (hyperopia) หมายถึง คนที่จำเป็นต้องสวมแว่น ชนิดเลนส์นูนเหมือนกันแต่จะเป็นความผิดปกติในสายตา เกี่ยวกับการหักเหแสงจากวัตถุเข้าสู่ลูกตา ไม่ไปปรากฏบนจอภาพ(retina) คือ ภาพตกเลยจอรับภาพ จำเป็นต้องสวมแว่นตาเลนส์นูน (convex lens) เพื่อดึงภาพที่ตกเลยจอรับภาพไป ให้เข้ามาตกที่จอรับภาพพอดีตามภาวะของสายตาที่จะต้องใช้เลนส์กำลังพอเหมาะนั้น สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กอายุ ๑ ขวบ จนกระทั่งหนุ่มสาว สายตายาวในเด็กเล็กๆ แรกเกิดแหละเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้เกิดภาวะตาเข (accommodative esotropia)

สายตาสั้น (myopia) คือภาวะที่ภาพจากวัตถุตกหน้าจอรับภาพทำให้ต้องใช้เลนส์ชนิดเว้า (concave lens) ใส่เพื่อถ่างแสงให้ภาพไปตกพอดีที่จอรับภาพ พบได้ในคนอายุน้อยๆ หรือวัยกำลังศึกษา เริ่มต้นทำงาน

สายตาเอียง (astigmatism) เป็นภาวะที่กระจกตาดำมีความโค้งไม่เท่ากัน ในแนวใดแนวหนึ่ง การมองเห็นจะพร่า และมีอาการปวดกระบอกตามากเพื่อเพ่งมองอะไรนานๆ จำเป็นต้องใช้แว่นตาชนิดรูปทรงกระบอก (cylindrical lens) มาช่วยปรับแสงที่ผิดปกตินั้นๆ ให้สู่แนวปกติ เพื่อภาพจะได้รวมไปตกที่จอรับภาพได้ดี ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร พบในคนทุกอายุ พบมากในหนุ่มสาว โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา

ลูกสายตาสั้นทำไงดี

ไปตรวจสายตาสม่ำเสมอโดยจักษุแพทย์

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเช็คระบบประสาทตา และสายตาโดยรวม เพราะการตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงเรียนอาจไม่เพียงพอ มีงานวิจัยระบุว่า ผลการตรวจสุขภาพประจำปีมีโอกาสผิดพลาดได้ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว! ทางที่ดีพาลูกไปตรวจสายตาด้วยตัวคุณเอง เพื่อความมั่นใจค่ะ

สังเกตอาการ เด็กสายตาสั้น

ลูกมีอาการดังนี้หรือเปล่า

  1. ขยี้ตาบ่อยๆ
  2. เวลาโยนรับ-ส่งลูกบอลมักพลาดบ่อยๆ
  3. ปวดหัวเป็นประจำ
  4. เวลาอ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์มักเพ่งหรือหยีตา
  5. ไม่สามารถดูภาพยนตร์สามมิติได้

ถ้าพบว่ามีอาการใดอาการหนึ่ง ให้รีบพาลูกไปตรวจสายตา

 

ดูแลสายตาด้วยวิธี 20 / 20 / 20

ทุกครั้งที่ลูกดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ ให้เขาละสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที แล้วมองสิ่งอยู่ห่างไปประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลา 20 วินาที แล้วค่อยกลับมาดูใหม่

ลูกสายตาสั้น
ดูแลสายตาลูกน้อยด้วยวิธี 20 / 20 / 20

การวัดสายตาในเด็ก

(นพ.วรากร เทียมทัด จักษุแพทย์เฉพาะทาง ด้านโรคตาในเด็กและตาเข ศุนย์จักษุวิทยาเฉพาะทาง โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์)

วิธีวัดสายตาสั้น
วิธีวัดสายตาสำหรับเด็ก

เนื่องจากธรรมชาติของเด็กชอบเพ่ง จ้องทำให้วัดค่าสายตาได้เป็นสายตาสั้นมากกว่าความเป็นจริง หรือวัดค่าสายตายาวได้น้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องระงับหรือหยุดการเพ่งของเด็กชั่วคราว โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 12ปี ซึ่งวิธีที่เป็นมาตรฐาน คือ การหยอดยาเพื่อลดการเพ่ง แล้วทำการวัดสายตาก็ทำให้ทราบค่าสายตาจริงๆ ของเด็ก ยาชนิดนี้ไม่ใช่ยากลุ่มเดียวกับยาขยายม่านตาในผู้ใหญ่

วิธีวัดสายตาสั้น
วิธีวัดสายตาสั้นสำหรับเด็ก

หลังจากตรวจวัดสายตาเสร็จ จักษุแพทย์จะทำการสั่งแว่นตาตามความเหมาะสม จากนั้นจะนัดตรวจติดตามเป็นระยะเนื่องจากค่าสายตาในเด็กมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด โดยทั่วไปจะหยอดยาวัดสายตา ปีละ 1 ครั้ง จนกระทั่งอายุ ประมาณ 11 ถึง 12 ปี ก็จะสามารถวัดสายตาได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เนื่องจากกำลังการเพ่งลดลงใกล้เคียงผู้ใหญ่ และส่วนมาก ค่าสายตาก่อนหยอดยาและค่าสายตาหลังหยอดยาไม่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลว่าไม่ต้องหยอดยาวัดสายตาในเด็กกลุ่มนี้

 

การเตรียมตัวในการตรวจวัดสายตาในเด็ก

1. ควรเป็นวันที่ไม่มีไข้ ร่างกายปกติดี ไม่มีการสอบหรือการเรียนที่ต้องใช้สายตามากในวันรุ่งขึ้น เพราะยาจะทำให้มองที่ใกล้ไม่ชัด ประมาณ 1 วัน

2. เตรียมแว่นตาดำ หรือหมวกมาด้วย เพราะหลังการตรวจม่านตาจะขยายเล็กน้อยอาจทำให้มีการแพ้แสงได้ ประมาณ 1 วัน

3. หยอดยาวัดสายตา ทุก 5 ถึง 10 นาที 2 ถึง 3 ครั้งทั้งสองตา จากนั้นรอประมาณ 30 นาทีจะสามารถตรวจได้ ในระหว่างหยอดยาเด็กอาจงอแงได้ เนื่องจากยาหยอดตาแสบ

4. หลังตรวจวัดสายตาเรียบร้อย จักษุแพทย์จะทำการตรวจจอประสาทตา เนื่องจากม่านตาขยายพอที่จะสามารถตรวจได้

5. หลังตรวจเรียบร้อยควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง พักผ่อนในบ้าน ไม่ควรโดนแสงไฟสว่างมากๆ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แชร์ประสบการณ์! ลูกติด ipad เพราะแม่ใช้เลี้ยงตั้งแต่เล็ก เสี่ยงเป็นออทิสติก

ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร AMARIN Baby & Kids
(ความหมายของสายตา ที่มาจาก doctor.or.th)

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up