5.อย่ามีคำถามมาก
การตั้งคำถามกับลูกขณะนั่งอ่านหนังสือ หรืออ่านนิทานด้วยกันเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมกับหนังสือ ทำให้ลูกกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ถามลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกเบื่อการอ่านหนังสือไปเลยก็ได้ เพราะต้องมาคอยคิด และตอบคำถามมากมายทั้งๆ ที่บางเรื่องก็รู้อยู่แล้ว รวมทั้งหมดสนุกกับการติดตามเรื่องราวต่อไป
6.อย่าขัดคอขัดจังหวะขณะอ่าน
เมื่อลูกออกเสียงไม่ชัด หรือพูดผิด คุณพ่อคุณแม่อย่าขัดคอ ตำหนิลูก หรือแสดงความเอ็นดูด้วยการหัวเราะขบขันเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ลูกเกิดอาการกล้าๆ กลัวๆ ไม่มั่นใจในการอ่านออกเสียงครั้งต่อไป จนอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่นกับการอ่านออกเสียงขณะเรียนหนังสือที่โรงเรียนก็เป็นได้
7.อย่าตำหนิ ต่อว่า
ไม่ว่าลูกจะไม่ชอบอ่านหนังสือไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตามการแก้ปัญหาควรเริ่มต้นที่ ความรัก ความเข้าใจ และตามมาด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเหลือ ดังนั้น การตำหนิ การต่อว่า การเปรียบเทียบกับพี่น้องคนอื่นการข่มขู่ หรือการลงโทษ จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกรักการอ่านแล้วยังอาจเป็นการเร่งให้เขายิ่งไม่อ่านและทำในสิ่งตรงกันข้ามเพื่อประชด
8.อย่าเบื่อลูก
พฤติกรรม หรือการแสดงออกของพ่อแม่มีผลต่อชีวิตลูกทั้งทางตรง และทางอ้อม เรื่องนี้จึงต้องระวัง เมื่อพ่อแม่ตั้งใจที่จะสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านแล้ว ก็ขอให้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ ถ้าลูกสนใจในหนังสือ แล้วต้องการให้พ่อแม่มานั่งอ่านด้วยกัน ถ้าทำในทันทีไม่ได้ ต้องสร้างเงื่อนเวลา เช่น ให้แม่ทำกับข้าว ซักผ้า ถูบ้านให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะอ่านหนังสือที่ลูกเลือกไว้ให้ฟังได้ แต่ทั้งนี้พ่อแม่ต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้ลูกผิดหวัง และไม่เชื่อพ่อแม่อีกต่อไป
เชื่อได้เลยว่า การฝึกลูกรักของคุณให้เป็นนักอ่านตั้งแต่ตัวน้อยๆ จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาทันที ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจหลักและเรียนรู้เทคนิคต่างๆเหล่านี้ ถึงเวลา “สร้างลูกรักให้เป็นนักอ่าน” กันแล้ว ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัวนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th , www.dumex.co.th
อ่านต่อ เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
อยากให้ลูกฉลาด ต้องอ่านหนังสือให้ลูกฟัง