6 เทคนิคพัฒนาสมองลูกให้ฉลาดปราดเปรื่อง ตามคำแนะนำจากหมอ - Amarin Baby & Kids

6 เทคนิคพัฒนาสมองลูกให้ฉลาดปราดเปรื่อง ตามคำแนะนำจากหมอ

Alternative Textaccount_circle
event

การกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองของลูก เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนให้ความสนใจกันมาก แต่ก็มีบางคนในจำนวนหลายคนนั้น ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจนนำไปสู่การกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างไม่ถูกทาง
มีงานวิจัยจาก พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มองว่า คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยเลี้ยงลูกผิดวิธี ส่งผลให้เด็กยิ่งเติบโตพัฒนาการด้านต่าง ๆ ยิ่งลดต่ำลง

พ่อแม่บางคนฝึกเด็กแบบไม่ประณีต แต่เป็นแบบสำเร็จรูปแทน บางคนเลี้ยงลูกด้วยโทรทัศน์ ถึงแม้โทรทัศน์จะมีรายการสาระน่ารู้ดีๆอยู่มากมาย แต่หารู้ไม่ว่า โทรทัศน์ไปทำลายสมองส่วนหน้า ทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบคิด และกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น

สอดรับกับงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่เปรียบเทียบระดับไอคิวของเด็กที่ดูโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมงกับเด็กที่ไม่ดูโทรทัศน์เลย พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ระดับพัฒนาการของเด็กที่ดูโทรทัศน์จะต่ำกว่าเด็กที่ไม่ดูอย่างชัดเจน

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจพัฒนาการของลูก ด้วยการพูด และอ่านหนังสือกับลูกบ่อย ๆ รวมทั้งเด็กก่อน 6 ขวบ ซึ่งควรได้สัมผัสกับของจริงมากกว่าการดูจากโทรทัศน์ เพราะจะเป็นพื้นฐานต่อยอดให้เด็กเข้าใจความหมายที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น ที่สำคัญความอ่อนโยน ละเมียดละไมจากสัมผัส และน้ำเสียงของพ่อแม่จะเป็นแรงกระตุ้นวงจรในสมองเด็ก ทำให้ลูกเติบโตอย่างสวยงาม และมีความฉลาดทางอารมณ์

เราจึงมีข้อแนะนำในทางปฏิบัติที่ดีจาก พญ.จันทร์เพ็ญ ให้คุณพ่อคุณแม่นำไปช่วยลูกปฐมวัย หรือก่อน 6 ขวบ เพื่อกระตุ้นสมอง และพัฒนาการทางภาษาอย่างถูกวิธี ตามแนวทางดังต่อไปนี้

เทคนิคกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดอย่างถูกวิธี

101786217

คุยกับลูกอย่างสนุกสนาน

ลูกต้องคุ้นเคย และได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่บ่อยที่สุดเท่าที่จะบ่อยได้ บอกเขาว่า คุณคือใคร คุณกับลูกอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ และอธิบายถึงสิ่งรอบตัวที่ลูกเห็น ได้ยินเสียง และสัมผัสได้ เริ่มจาก สิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ไปสู่สิ่งที่ใหญ่ขึ้น และไกลตัวออกไป รวมถึงการทักทายเด็กตั้งแต่ตื่นนอนเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับโอบกอด หอมแก้ม หรือหยอกล้อไปด้วยจะยิ่งกระตุ้นสมองมากขึ้น

seksualnost

รับฟังลูกอย่างอดทน และตั้งใจ

แม้ในช่วงแรก ๆ จะยังไม่เข้าใจภาษา หรือคำพูดที่ลูกใช้ แต่เมื่อลูกรับรู้ว่ามีคนตั้งใจฟังเขา จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาอยากฝึกออกเสียง หรือเปล่งคำพูดใหม่ ๆ มากขึ้น และอย่าเบื่อที่จะตอบคำถามลูก เพราะการขยันตอบคำถามลูกวัยเด็กเล็กก็เพื่อกระตุ้นสมองให้เด็กเป็นคนกล้าคิด ทำให้เกิดวงจรเรียนรู้แบบถาวร

อ่านต่อ >> เทคนิคกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดอย่างถูกวิธี” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up