ให้เวลาลูกตอบสนองหรือตอบคำถาม
เพราะต้องไม่ลืมว่าเด็กเล็ก ๆ ต้องการเวลาทำความเข้าใจ เพื่อเรียบเรียงความคิดก่อนที่จะสามารถสื่อสารกับคุณได้ ดังนั้นอย่าใจร้อน เร่งรัด หรือพูดแทน หรือพยายามเติมคำในช่องว่างเวลาที่ลูกพูดกับเรา ควรให้เขาได้พยายามคิด และพูดออกมาด้วยตัวเอง
พูดคำง่าย ๆ สั้น ๆ และช้า ๆ
เพราะในสมองลูกยังมีคำจำกัด อายุเขาต่างจากเรามาก ความเข้าใจในถ้อยคำต่าง ๆ จึงยังมีไม่มาก หากต้องอธิบายอะไรให้ลูกเข้าใจ ต้องปรับประโยคให้ง่าย สั้น ชัดเจน พูดทีละเรื่อง แล้วลูกจะเรียนรู้คำต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
ตอบสนอง และชื่นชมกับความพยายามของลูกที่จะสื่อสารกับเรา
ไม่จำเป็นต้องคอยแก้ไขคำพูดที่ลูกพูดผิด แต่สิ่งที่ควรทำคือ ทบทวนคำ หรือประโยคที่ลูกพูดให้ถูกต้อง เช่น ลูกพูดว่า “แม่ไปหลาด” แทนที่จะตำหนิว่า “ไม่ใช่ ๆ ลูกพูดผิด” ควรทวนประโยคของลูกด้วยประโยคที่ถูกต้อง คือ “จ้ะ แม่ไปตลาด
เล่าให้นิทานให้ลูกฟัง
ลองคิดเรื่องขึ้นเอง เด็กเล็กชอบฟังเรื่องที่มีตัวเขาเป็นผู้แสดง หรือเกี่ยวกับเรื่องที่เขาคุ้นเคยในกิจวัตรประจำวัน อ่านหนังสือกับลูกทุกวัน พูดคุยกับเขา อธิบายรูปภาพ สี รูปทรง จำนวน และคำต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือ เชื่อมโยงภาพเข้ากับคำ ทั้งนี้ยังสามารถใช้งานศิลปะง่าย ๆ เช่น ปั้นแป้งโด ใช้สีเทียนแท่งโต ๆ วาดภาพขณะที่อ่านหนังสือ และคุยกับลูกไปพร้อม ๆ กันก็ได้
ดังนั้น ถ้าอยากให้ลูกฉลาดมีไหวพริบที่ดี ก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่ต้องขยันตั้งใจจริง กระตุ้นสมองลูกให้ถูกวิธี ถูกทาง และที่สำคัญต้องมีความรักเป็นองค์ประกอบเสมอนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th