เคล็ดลับ ทำการบ้านให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก - Amarin Baby & Kids

เคล็ดลับ ทำการบ้านให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก

Alternative Textaccount_circle
event
การขยับชั้นจากอนุบาลมาประถม เป็นการเปลี่ยนแปลงของการเรียนอย่างมากช่วงหนึ่ง จากชั้นอนุบาลที่เน้นทักษะการช่วยเหลือตัวเอง และการเรียนรู้วิชาการยังไม่เข้มข้นมาก การบ้านลูกอนุบาลมีไม่มาก หรือบางโรงเรียนอาจมีมากแต่ก็ไม่ยาก พอขึ้นชั้นประถม การเรียนวิชาการชัดเจนขึ้น สำหรับเด็กวัยนี้การบ้านเริ่มไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อีกต่อไป

 

คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นคนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกดีกับการบ้าน และผ่อนคลายกับช่วงเวลาที่ไม่สนุกนัก

 

• ทำเช็คลิสต์ให้เห็นฝั่ง  จดวิชาที่มีการบ้านลงในกระดาษ พอทำเสร็จแต่ละอย่าง ก็ให้ลูกทำเครื่องหมายบอก จะใช้สีระบายเป็นสัญลักษณ์หรือวาดรูปก็ได้แล้วแต่เขา ให้รู้ว่าวิชาไหนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เด็กน้อยจะรู้สึกว่าการบ้านเป็นสิ่งที่เขาควบคุมได้ ทำได้ เพราะมองเห็นเป้าหมาย

 

• ช่วยเรียงลำดับการบ้านมีทั้งยากและง่าย ทั้งที่เขาชอบและไม่ชอบ การให้ลูกเลือกทำอะไรก่อนหลังอาจไปได้ดีกับลูกที่มีสมาธิต่อเนื่อง ดังนั้นควรต้องรู้จักและสังเกตลูกของคุณด้วย หากลูกเป็นเด็กเบื่อง่าย ความอดทนน้อย การช่วยลำดับการทำการบ้านยากง่ายให้เหมาะกับความสนใจและสมาธิของลูกจะช่วยให้เวลาทำการบ้านไม่ใช่เวลาสุดทรมานของเขาและคุณ

 

• สถานที่ทำการก็ทำสำคัญ ลูกที่เสียสมาธิได้ง่าย มุมทำการบ้านที่มีข้าวของมากมายดึงสายตา ใกล้ทีวีหรือสิ่งเร้ามากๆ ย่อมไม่ส่งเสริม เด็กขี้เบื่อ ขี้ร้อนอึดอัดหงุดหงิดง่าย ถ้าต้องทำการบ้านในที่เดิมนานๆ หรือมุมปิดเกินไป ก็ทำให้ความสนใจลดลงง่ายๆ อีก ควรจัดบริเวณทำการบ้านให้สอดคล้องกับลักษณะของลูก

 

• คอยสอบถามและให้กำลังใจ วัยอนุบาลคุณต้องอ่านโจทย์หรือคำสั่งและคอยแนะนำใกล้ชิด แต่ถึงแม้ลูกจะ ขึ้นประถมแล้ว เริ่มอ่านได้ แต่ก็ยังไม่คล่องนัก การคอยอยู่ข้างๆ สอบถาม ชมบ้าง ให้กำลังใจหรือให้ความช่วยเหลือเท่าที่ลูกต้องการจะทำให้เขารู้สึกมีเพื่อน หรือจะให้ดีกว่านั้น คุณจะทำงานของคุณไปข้างๆ ลูกก็ยังได้ ให้เขามีเพื่อนพูดคุยระหว่างทำการบ้าน บรรยากาศก็ยิ่งผ่อนคลาย เขาต้องทำการบ้านที่อยากทำบ้างไม่อยากทำบ้าง พ่อก็ต้องทำงานที่อยากทำบ้าง ไม่อยากทำบ้างเหมือนกัน แต่ทุกคนมีหน้าที่ ต้องรับผิดชอบและถึงไม่ชอบนัก เขาก็มีคุณเป็นเพื่อนอยู่ข้างๆ

 

• คุยกับครูของลูก ครูก็เป็นหนึ่งในทีมฝึกสอนและพัฒนาลูกไปพร้อมกับคุณ การพูดคุยกับคุณครูของลูกเป็นระยะๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ จะช่วยให้ทั้งคุณและคุณครูได้รู้จักลูกมากขึ้น และเห็นจุดแข็งจุดอ่อนของลูกที่คุณจะนำไปส่งเสริมหรือพัฒนาต่อได้ถูกทาง

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up