6. หากดูรายการที่น่ากลัวก็อาจเก็บไปฝันร้ายได้
7. บางคนใช้ทีวีเลี้ยงลูก เปิดรายการเด็กให้ดูตลอดทั้งวันเพราะคิดว่าไม่มีพิษภัย ถึงตอนนี้เราเลือกโปรแกรมให้ลูกได้ แต่เมื่อเขาใช้รีโมทเป็น ก็จะเลือกเปิดดูรายการเอง
8. มีค่านิยมที่ผิด เช่น ต้องหน้าตาดี หุ่นผอมบางแบบนางแบบจึงจะสวย ไม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตใจ เนื่องจากทีวีไม่สามารถนำเสนอความเป็นจริงได้ทั้งหมด
9. มีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ คล้ายเด็กไฮเปอร์สมาธิสั้น คล้ายเด็กออทิสติก หมอเคยพบเด็กอายุ 3 ขวบมาด้วยเรื่องไม่พูด ไม่สบตา ชอบเล่นคนเดียว คุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ แต่พอพบจิตแพทย์เด็ก คุณหมอยังไม่ฟันธงว่าเป็นอะไร แต่บอกให้ที่บ้านปิดทีวี เพราะเด็กดูทีวีตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนเลย ผู้ใหญ่ก็ต้องยอมอดดูไปด้วย (ผลพลอยได้คือผู้ใหญ่ก็รู้สึกได้รับการปลดปล่อยพันธนาการจากทีวีด้วย ทำให้มีเวลาทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เช่นไปเดินเล่น หรือปิ๊กนิคกัน) ผลคือลูกสบตาและพูดคุยกับคนอื่นมากขึ้นภายใน 2 วัน
10.การให้ลูกเลิกดูทีวี แม่ต้องใจแข็ง ลูกโวยวายก็อย่าตามใจ ถ้าร้องไห้หนวกหู ก็หาอะไรอุดหูไว้ อาจบอกว่าทีวีเสียหรือสัญญาณล่ม หรือเครื่องเล่นแผ่นซีดีพัง แล้วหากิจกรรมอื่นให้ลูกทำ อย่าให้เขาว่าง เพราะจะคิดถึงทีวีมากขึ้น เวลาผ่านไป 2-3 อาทิตย์ ค่อยเปิดทีวีได้ แต่อธิบายว่า ต่อไปนี้ไม่มีการดูเกินวันละ 1 ชม.และเลือกโปรแกรมที่ดีเท่านั้น ไม่ให้ดูประเภทต่อสู้ ถึงเวลานี้เขาก็เริ่มชินกับการไม่มีทีวีและรู้จักใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่น ที่สร้างสรรค์มากขึ้น บอกลูกถึงข้อเสียของการดูทีวี พูดไปเถอะค่ะ ไม่เข้าใจตอนนี้ก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ควรดูทีวีเยอะเช่นกัน
สำหรับใครที่ให้ ลูกดูทีวี ที่เป็นสื่อการสอนอยู่ แล้วพบว่าลูกเรียนรู้ได้เยอะ ก็ต้องระวังนะคะ เพราะการเรียนรู้ผ่านทีวี ไอแพด ไอโฟน เป็นการเร้าที่ค่อนข้างมาก จึงทำให้เด็กสนใจจดจ่อได้นาน ถ้าเมื่อไรที่ลูกจะต้องเรียนรู้ผ่านสื่อที่ไม่เร้าแรงเท่าทีวี เช่น การอ่านหนังสือนิทาน หนังสือเรียน หนังสือสารานุกรมสำหรับเด็ก หรือ เวลาครูสอนในห้องเรียน จะไม่เร้าใจ ก็จะรู้สึกเบื่อ ไม่อยากเรียน ไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ กลายเป็นเด็กเรียนหนังสือไม่เก่งได้ค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- 11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก
- ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
- สัญญาณเตือนสมาธิสั้น 7 ข้อที่พ่อแม่ต้องสังเกต
เครดิต : เพจคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
ขอบคุณภาพประกอบ : www.huffingtonpost.com