ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี เพื่อป้องกันลูกน้อยฟันผุ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกซื้อยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ทันตแพทย์แนะนำ และแปรงให้ถูกวิธี ก็จะช่วยดูแลฟันลูกให้แข็งแรงตั้งแต่ซี่แรกได้เลยทีเดียว
ฟันผุ เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ลักษณะของฟัน น้ำลาย อาหาร (โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวานหรือคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล แป้ง ลูกอม ขนมหวาน น้ำอัดลมรวมถึงน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ) คราบจุลินทรีย์ พันธุกรรม และพฤติกรรมการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยบอกให้ลูกระมัดระวังการเลือกกินอาหารหรือแปรงฟันให้สะอาด แต่ทั้งนี้ลูกน้อยก็อาจจะยังไม่สามารถทำได้ในทันที จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องดูแลฟันของลูกน้อยให้แข็งแรง
โดยเริ่มดูแลได้ตั้งแต่วันที่ลูกน้อยวัยทารกมีฟันซี่แรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกได้แล้ว!!! เรื่องนี้คุณหมอฟัน ผศ. ทพญ. ดร.เข็มทอง มิตรกูล ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีเคล็ดวิธีการดูแลฟันของลูกน้อยแต่ละช่วงวัยมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี ช่วยป้องกันลูกฟันผุ
แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน เลือกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง!
แปรงสีฟันและยาสีฟันในท้องตลาดมีมากมายเหลือเกิน คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกสับสนว่า ควรจะเลือกให้ลูกรักอย่างไรดี Amarin Baby & Kids จึงมีคำตอบจากคุณหมอให้ ดังนี้ค่ะ
แปรงสีฟัน
การเลือกแปรงสีฟันควรเลือกให้มีขนาดพอเหมาะกับช่องปากของลูกน้อย ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปส่วนลักษณะของแปรงสีฟันที่เหมาะสมคือ ด้ามแปรงและหัวแปรงมีลักษณะตรงเป็นแนว หัวแปรงมีลักษณะแคบเพื่อให้ทำความสะอาดด้านหลังของฟันซี่ในสุดได้ หน้าตัดของขนแปรงควรมีลักษณะเรียบ ขนแปรงควรเป็นไนลอนชนิดนุ่มเพื่อไม่ให้ระคายเคืองช่องปาก สำหรับแปรงสีฟันไฟฟ้ามีการศึกษาพบว่า แปรงสีฟันไฟฟ้าบางชนิดมีประสิทธิผลในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ดีกว่าแปรงธรรมดา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกและความเหมาะสม
ยาสีฟัน
ยาสีฟันสำหรับเด็กมี 2 ประเภท คือ
- แบบที่มีฟลูออไรด์ ได้แก่ ยาสีฟันทั่วไปที่มีขายในร้านค้า ชนิดนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเด็กสามารถบ้วนปากได้แล้วและไม่มีนิสัยชอบกลืนยาสีฟัน (ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเด็กโดยตรง) เพราะหากกลืนยาสีฟันชนิดนี้เข้าไปอาจได้รับธาตุฟลูออไรด์สะสมในร่างกายมากเกินไปจนเกิดอันตรายต่อฟันได้
- อีกชนิดหนึ่งคือ แบบที่ไม่มีฟลูออไรด์ ชนิดนี้เด็กกลืนได้ และไม่ได้มีผลทำให้ฟันสะอาดหรือแข็งแรงมากขึ้นกว่าการแปรงฟันด้วยน้ำเปล่า แต่เป็นแค่ตัวจูงใจทำให้เด็กสนุกกับการแปรงฟันมากขึ้นเท่านั้น ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันคุณหมอให้เด็กๆ ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ ซึ่งมีคำแนะนำจากองค์กรวิชาชีพทันตแพทย์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ให้ประชากรทุกวัยตั้งแต่เบบี๋ที่มีฟันซี่แรกจนถึงผู้สูงวัย ใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm เนื่องจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในฟลูออไรด์ปริมาณนี้สามารถลดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของทุกวัย
แนวทางการใช้ฟลูออไรด์ 2560
โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1,000 1,055 1,100 และ 1250 ส่วนในล้านส่วน (ppm. หรือ mgF/g)สามารถลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้ได้เฉลี่ยร้อยละ 23 (ร้อยละ 19-27) โดยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1,500 ส่วนในล้านส่วน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ในฟันน้ำนมการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ประมาณ 1,000 ส่วนในล้านส่วนสามารถลดฟันผุได้ร้อยละ 31 สาหรับประสิทธิภาพในการลดฟันผุของยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์น้อยกว่า 600 ส่วนในล้านส่วน ยังไม่ชัดเจน
ข้อบ่งชี้√
แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในทุกกลุ่มอายุ และทุกระดับความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เพราะเป็นการป้องกันฟันผุขั้นพื้นฐาน
วิธีใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ♥
- แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็ก คือ การกลืนยาสีฟัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและเพิ่มโอกาสการเกิดฟันตกกระเพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จึงแนะนำการใช้ดังตารางตารางปริมาณยาสีฟันที่ผสมเข้มข้นฟลูออไรด์ด้านล่างนี้ คลิกอ่านต่อ! ข้อมูลแนวทางการใช้ฟลูออไรด์สำหรับเด็ก 2560 ฉบับเต็ม ได้ที่ >> Guidelines for using fluoride for children 2560
♥ กดที่ภาพ เพื่อขยายดูขนาดที่ใหญ่กว่า!!
อ่านต่อ >> “การดูแลฟันลูกตั้งแต่แรกเกิด – 12 ปี”
และรวมยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ที่คุณหมอแนะนำ คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!
- ทำความสะอาดช่องปาก และฟันน้ำนมลูกน้อย
- ลูกฟันหลุดรักษาได้อย่าทิ้ง! (อาจต่อได้)
- ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ปัญหาสุขภาพฟันลูกที่แม่กลุ้มใจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่