ขั้วและก้าน
ขั้วและก้านของทุเรียนแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม แห้ง ลูบแล้วสากมือเพราะคายน้ำออกมามาก ส่วนทุเรียนอ่อนขั้วยังติดกับเปลือก มีสีเขียวอยู่ ก้านยังเป็นสีน้ำตาลอ่อนและอวบเต่ง
ปากปลิง
หรือรอยต่อบริเวณก้านทุเรียนที่แบ่งเป็นปล้องๆ ปากปลิงของทุเรียนสุกแล้วจะบวมโต หรือแตกออกมา ขณะที่ทุเรียนยังสุก ปากปลิงจะเรียบติดกันเป็นแท่งยาว
เกร็ดน่ารู้ “ดูตรงนี้ไม่รู้หรอก ทุเรียนสุกไหม”
*ดมกลิ่น
ใครคิดว่าทุเรียนสุกจะกลิ่นแรง รู้หรือไม่ ทุเรียนบางพันธุ์อาจไม่มีกลิ่น ขณะที่บางพันธุ์ก็มีกลิ่นตั้งแต่ยังอ่อน กลิ่นแรงของทุเรียนอย่างเดียวบอกไม่ได้ว่าสุกหรือยัง
*สีเปลือก
เปลือกที่มีสีเขียวเข้ม หรือเขียวอ่อนไม่สามารถบอกได้ว่าทุเรียนสุกหรือไม่ แต่สีไม่เหมือนกันในแต่ละลูกขึ้นอยู่ว่าโดนแดดมากหรือน้อย ทุเรียนลูกหนึ่งอาจมีสีไม่เสมอกันทั้งหมด
ซื้อทุเรียนสุกไม่พอ แก้ไขอย่างไร
แม่ๆเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ไหมคะ พ่อค้าทุเรียนเจาะเปลือกให้ดูเนื้อ ลองกดดูแล้วนิ่มกินได้ แต่พอซื้อกลับมาบ้าน เนื้อไม่สุกทั้งหมด นี่คือลักษณะเฉพาะของทุเรียนเป็นบางสายพันธุ์ โดยเฉพาะ “หมอนทอง” ที่จะไม่สุกพร้อมกันทั้งลูก แต่จะเริ่มสุกจากล่างขึ้นบน
ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะป้ายฮอร์โมนเอสทีรีนก่อนจัดส่ง เพื่อให้อุณหภูมิในผลสูงขึ้น เร่งการคายน้ำ และทำให้แป้งเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเท่ากันจึงสุกเท่ากันเมื่อถึงมือคนซื้อ ฮอร์โมนดังกล่าวจะสลายได้เอง ไม่ตกค้าง สังเกตง่ายๆว่า ทุเรียนป้ายฮอร์โมนจะสุกจากบนลงล่าง ทุเรียนสุกปลอดยา จะสุกจากล่างขึ้นบน
แต่ถ้าใช้ วิธีเลือกทุเรียน แล้วแต่ยังได้ทุเรียนไม่แก่พอที่ต้องการ ยังสามารถบ่มทุเรียนให้สุกต่อได้ 2 แบบ
ทุเรียนที่ยังไม่แกะ ให้ห่อด้วยผ้าหรือกระดาษ วางในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่ควรวางบนพื้นปูนหรือกระเบื้อง (โดยไม่ห่อ) เพราะอุณหภูมิด้านที่สัมผัสพื้นลดลง ทำให้สุกไม่เท่ากัน
ส่วนทุเรียนแกะแล้ว ไม่ควรเก็บในกล่องปิดสนิท เพราะทุเรียนบางพันธุ์น้ำเยอะ เละไว การเก็บในกล่องทำให้เน่าเร็ว วิธีดดีที่สุดคือ ไม่ต้องแกะออกจากพู แล้วใช้แผ่นพลาสติกถนอมอาหารห่อไว้ เก็บไว้รอสุกตามต้องการโดยไม่เน่าก่อน
“แม่ชอบกินทุเรียน” ได้ประโยชน์อะไรบ้าง
นอกรสหวานหอมเฉพาะตัวที่หาไม่ได้จากผลไม้ชนิดอื่น จะทำให้ทุเรียนกลายเป็นผลไม้โปรดของคุณแม่หลายคนแล้ว ผลไม้ชนิดนี้ยังให้สารอาหารมีประโยชน์มากมาย โดยในทุเรียน 100 กรัมจะให้พลังงานราว 174 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงานแก่ร่างกาย 27.09 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม เส้นใยอาหาร 3.8 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด ได้แก่ โฟแลต สุดยอดวิตามินสำหรับลูกในครรภ์ วิตามินซี วิตามินบี1 บี 6 บี 12 ซึ่งใช้สร้างเล็บ ผม และผิวหนังของทารก โพสแทสเซียมช่วยควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุเหล็ก
แม้จะไม่มีข้อห้ามการกินทุเรียนในคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ให้นม ซึ่งต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารเป็นพิเศษ เพราะมีผลต่อลูกน้อย แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น แม่ท้องต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จึงแนะนำให้คุณแม่กินทุเรียนได้ไม่เกินวันละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับกล้วยไข่ ซึ่งเป็นผลไม้รสหวานเช่นกัน
ส่วนคุณแม่ให้นมที่กังวลว่า กินทุเรียนแล้วจะลงน้ำนม มีกลิ่นเหม็นลูกกินไม่ได้ ความจริงขึ้นอยู่กับปริมาณที่กิน เพราะอาหารทุกอย่างที่กินเข้าไป ทารกสามารถรับรู้กลิ่นรสผ่านนแม่ได้ ดังนั้นถ้าอยากกินจริงๆ ก็ไม่ควรกินเกิน 1 – 2 พูต่อวัน เพราะเด็กบางคนอาจไม่กลิ่นทุเรียน อาจทำให้ลูกงอแงและพาลไม่อยากกินนม หรือเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อุจจาระเปลี่ยนสี แผลร้อนในในปากลูก หรือท่อน้ำนมของคุณแม่อุดตันได้
บทความน่าสนใจอื่นๆ
กินทุเรียน ช่วยให้ท้องง่าย จริงหรือ?
แม่ท้องกินทุเรียน ช่วยให้ลูกฉลาดได้จริงหรือ!?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่