5. โรงเรียนสองภาษา
English Program หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อคือ อีพี (EP) เป็นโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการเรียนการสอน และสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ แต่มีข้อแตกต่างต่างคือ จะมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ยกเว้นบางวิชา เช่น วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ที่มีเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยและประเพณี วัฒนธรรมไทย โดยแต่ละโรงเรียนก็มีสัดส่วนการสอนเป็นภาษาอังกฤษแตกต่างกันไปตามจำนวนขั้นต่ำที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ เช่น
- ระดับอนุบาลสอนภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของการเรียนการสอนทั้งหมด
- ระดับประถมจะมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา
- ระดับชั้นมัธยมเรียนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชายกเว้นวิชาภาษาไทยและวิชาสังคม
สำหรับโรงเรียนเอกชนที่เปิดหลักสูตร English Program โดยเฉพาะ ก็อาจนับรวมเป็นโรงเรียนสองภาษาได้ หรือบางโรงเรียนจะสอนภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศอีก 1 ภาษา ซึ่งอาจเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน และบางแห่งมีการสอนถึง 3 ภาษา ทั้งไทย-อังกฤษ-จีน ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้จะต้องผ่านการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการเช่นกัน
สิ่งที่ควรคำนึง :
โรงเรียนสองภาษาแต่ละแห่งยังมีความแตกต่างทางด้านครูที่สอน โดยบางโรงเรียนอาจจะมีคุณครูชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษามาสอนโดยเฉพาะ บางโรงเรียนอาจมีคุณครูที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษาแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษแทน นอกจากนี้ ก็อย่าลืมว่าโรงเรียนสองภาษาก็ยังมีสัดส่วนนักเรียนไทยค่อนข้างเยอะอยู่ เด็กๆ จึงอาจไม่ได้พบเจอกับเพื่อนต่างชาติเท่าไรนัก ทางที่ดีที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปสำรวจบรรยากาศ และคุณครูในสถานที่จริง ก่อนทำการตัดสินใจ
6. โรงเรียนนานาชาติ
International School คือโรงเรียนที่มีระบบการเรียนการสอนที่ใช้หลักสูตรต่างประเทศที่ได้รับมาตรฐานและอยู่ภายใต้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ภาษาต่างประเทศในการเรียนการสอน นักเรียนที่เข้าร่วมโรงเรียนนานาชาติมักจะมาจากหลากหลายประเทศและศาสนา เชื้อชาติ
จุดเด่น :
ข้อดีของโรงเรียนนานาชาติ คือ เรื่องภาษา แน่นอนว่าทักษะด้านภาษาของเด็กอินเตอร์เป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่เห็นได้เด่นชัด และในปัจจุบันที่เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า โลกไปไกลกว่าเดิมมาก การที่เราให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาที่หลากหลายจะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่า เด็กประถม ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ การให้เขามีทักษะการฟัง อ่าน เขียน พูด หลายภาษาในช่วงนี้จึงเหมาะสมที่สุด และการที่ต้องเรียนกับเพื่อน ๆ หลากหลายประเทศ ทำให้รู้จักที่จะเคารพความแตกต่างของผู้อื่น ด้วยความที่วัฒนธรรมของชาวต่างชาติมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมของไทย ทั้งวิธีการสื่อสาร การแสดงออก และอื่นๆ ทำให้เด็กที่เรียนโรงเรียนนานาชาติจะได้เรียนรู้และซึมซับทักษะต่างๆ ที่แตกต่างออกไป ทำให้เด็กอินเตอร์มีความกล้าแสดงออก และมีกิจกรรมต่างๆ ที่เปิดกว้าง พัฒนาให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสอนให้เด็กมีกระบวนการคิดวิเคราะห์
สิ่งที่ควรคำนึงถึง :
ค่าใช้จ่ายในการเรียนที่ค่อนข้างสูง เพราะหลักสูตรที่ใช้เรียนจะอ้างอิงจากหลักสูตรต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกัน อังกฤษ หรือออสเตรเลีย นักเรียนจะได้เรียนเหมือนประเทศเจ้าของหลักสูตร เพียงแต่มีวิชาภาษาไทยมาเป็นวิชาบังคับด้วย (ตามกฎของกระทรวงศึกษาธิการ) แต่หากใครคิดว่าเป็นการจ่ายครั้งเดียวจบครบทุกทักษะที่ต้องการสอนลูก ไม่จำเป็นต้องหาโรงเรียนเรียนภาษาเสริมแล้วละก็ นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีอีกโรงเรียนหนึ่ง
3 หลักการในการเลือกโรงเรียนลูก !!
- คุณภาพของครูผู้สอน พิจารณาได้จากสัดส่วนของครูต่อเด็ก และจำนวนเด็กในกลุ่ม และควรพิจารณาวุฒิการศึกษาของคุณครูร่วมด้วย หากคุณครูผู้สอนเรียนจบด้านเด็กปฐมวัยมาโดยตรงและมีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก รวมทั้งมีการอัพเดตความรู้อย่างต่อเนื่องก็จะยิ่งเพิ่มคุณภาพการเรียนมากขึ้น อีกทั้งการไม่เปลี่ยนครูผู้สอนบ่อย ๆ ก็จะทำให้คุณครูคุ้นเคยและเข้าใจเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
- นโยบายของโรงเรียนเรื่องความสะอาด และการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ในสภาวะปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้การเลือกการจัดการของโรงเรียนในเรื่องความสะอาด และป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นส่วนสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง โดยเราสามารถดูได้จาก มีการทำความสะอาดของเล่นอยู่เป็นประจำ สอนให้เด็กล้างมือก่อนและหลังการรับประทานอาหาร หรือหลังจากเข้าห้องน้ำเสร็จทุกครั้ง และมีระบบจัดการอย่างไรเมื่อพบเด็กป่วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังดูว่า มีการพิจารณาเรื่องความปลอดภัยของของเล่นที่นำมาให้เด็กเล่นหรือความปลอดภัยของบริเวณที่เด็กเล่นควรมีความอ่อนนุ่มเหมาะสมต่อการรองรับหากเกิดการพลัดตกหกล้มระหว่างที่เด็กเล่น โรงเรียนมีแผนรองรับหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นอย่างไร
- กิจกรรมหรือหลักสูตรของโรงเรียนเหมาะสมต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามช่วงวัยหรือไม่ ซึ่งได้แก่
-
- ทักษะความสมบูรณ์ของร่างกาย ควรมีกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกายเพื่อเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีความยืดหยุ่นและฝึกการทรงตัว รวมทั้งมีการจัดการด้านโภชนาการที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเด็กควบคู่กันไปด้วย
- การเสริมสร้างพัฒนาการ ควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านภาษา กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และทักษะด้านสังคม เช่น การวางแผน การทำตามกฎ การแบ่งปัน รวมทั้งการเล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน นอกจากนี้ควรฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองและช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วัยเรียนและเป็นการพัฒนาตัวตนให้ชัดเจนมากขึ้น เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นควรมีความเป็นตัวของตัวเองและอยู่ในภาวะพึ่งพิงน้อยลง
- สมาธิและความจดจ่อ ควรส่งเสริมให้เด็กสามารถทำกิจกรรมให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป โดยตัดสิ่งเร้ารอบข้างที่ไม่จำเป็นออกไปได้
และนี่คือ หลัก และข้อแนะนำอย่างคร่าว ๆ ในการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เลือกโรงเรียนประถมศึกษาของลูกได้อย่างเหมาะสมกับทั้งตัวลูก และตัวคุณพ่อคุณแม่เอง อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ ความต้องการของการเลือกโรงเรียนของแต่ละครอบครัวย่อมแตกต่างกันไป ดังนั้น สิ่งสุดท้ายในการตัดสินใจเลือกโรงเรียนคงจะเป็นความเห็นของคนในครอบครัวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของคุณพ่อ คุณแม่ หรือแม้แต่ตัวลูกเอง ก็ควรได้รับการรับฟังความคิดเห็นในการเลือกโรงเรียนของเขาด้วยเช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.nisittutor.com/https://www.bangkokhospital.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่