หัดเขียน ให้ลูกด้วยดินสอไม้ หรือปากกาลูกลื่นดีกว่ากัน?? - Amarin Baby & Kids
หัดเขียน ให้ลูกใช้ดินสอไม้หรือปากกาดี

หัดเขียน ให้ลูกด้วยดินสอไม้ หรือปากกาลูกลื่นดีกว่ากัน??

Alternative Textaccount_circle
event
หัดเขียน ให้ลูกใช้ดินสอไม้หรือปากกาดี
หัดเขียน ให้ลูกใช้ดินสอไม้หรือปากกาดี

หัดเขียน ให้ลูกอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้ในการขีดเขียนเบื้องต้นจำเป็นต้องเป็นดินสอไม้ไหม ปากกาลูกลื่นให้ลูกฝึกเขียนอันตรายต่อพัฒนาการมือเด็กจริงหรือ เรามีคำตอบ

หัดเขียน ให้ลูกด้วยดินสอไม้ หรือปากกาลูกลื่นดีกว่ากัน??

อุปกรณ์การเขียน มีส่วนสำคัญในการหัดเขียนของลูก เพราะความสำคัญของการเขียนนั้น เพื่อให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้ฝึกฝนการควบคุมน้ำหนักมือ และทิศทางการเคลื่อนไหว  ทำให้สมองพัฒนา และช่วยควบคุมตนเองได้ดีขึ้น

ดินสอไม้ กับ ปากกาลูกลื่น

อุปกรณ์การเขียนนั้นมีหลากหลาย อุปกรณ์ที่สวยงาม สะดวกสบาย จะใช่อุปกรณ์ที่ดี ที่เหมาะกับเด็กทุกคนจริงหรือ ปัจจุบันเรามักเห็นเด็กหยิบจับปากกาลูกลื่นขึ้นมาเขียน ด้วยเพราะเป็นอุปกรณ์ที่หาง่าย สะดวกสบาย ไม่ต้องเหลา แต่ความลื่นของปากกานอกจากจะช่วยให้การเขียนดูลื่นไหล แต่ก็นำมาซึ่งโทษที่เมื่อนำมาใช้กับเด็กที่ยังพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือในการเขียนได้ ก็พาลทำให้กลายเป็นเด็กลายมือไม่สวย เขียนไม่ถูกต้อง ขยุกขยิก และร่างกายเรียนรู้วิธีการจับปากกาเขียนไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อจับไม่ถูกเสียตั้งแต่เด็กจนเลยวัยที่จะปรับแก้แล้ว ก็คงยากต่อการปรับเปลี่ยนวิธีเขียน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพมือของลูกในอนาคตได้

ปากกาลูกลื่น หัดเขียน ได้หรือไม่
ปากกาลูกลื่น หัดเขียน ได้หรือไม่

ดินสอไม้ มีความแข็งแรง ทนต่อแรงกดของเด็ก ด้ามจับที่ทำจากไม้ ที่มีผิวสัมผัสไม่ลื่นเหมือนปากกา ส่งผลต่อการจับดินสอเขียนที่มั่นคง การที่ไม่มีน้ำหมึกที่เขียนลื่นเหมือนปากกา ยังช่วยเด็กฝึกสมาธิ ให้ค่อย ๆ เขียน ค่อย ๆ คิดได้ดีกว่าอีกด้วย

เราควรเริ่มให้เด็กใช้ปากกาได้ในช่วงวัย 10 ปีขึ้นไป โดยปากกาที่ควรเป็นปากกาเริ่มต้น คือ ปากกาหมึกซึม หรือปากกาคอแร้ง เพราะจะช่วยฝึกทักษะในการเขียนได้ดี เช่น หากกดน้ำหนักมือมากไป หัวปากกาจะแตก หรือน้ำหมึกซึมทะลุไปยังหน้ากระดาษหน้าอื่น ๆ เป็นต้น การให้เด็กเริ่ม หัดเขียน จากปากกาหมึกซึมก่อนการใช้ปากกาลูกลื่น ก็จะทำให้เป็นการพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้ในการจัดระเบียบการเขียน และได้ฝึกพัฒนากล้ามเนื้อได้ดีกว่าอีกด้วย

นอกจากนี้ “ท่าทางการนั่ง” ก็ส่งผลต่อการเขียนของเด็กเช่นกัน ไม่ควรนอน หรือ นั่งพื้นเมื่อเขียนหนังสือ เพราะเป็นท่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เมื่อยล้า และเสียสุขภาพ อาจทำให้หลังงอ และสายตาเสียได้

ทราบหรือไม่การขีด ๆ เขียน ๆ ของเด็กสร้างสิ่งดี ๆ หลายอย่างให้แก่ลูก??

เมื่อลูกเริ่มขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง จะเป็นช่วงเวลาที่เขามีความสุข มีความอยากรู้อยากเห็นสนใจไปเสียทุกสิ่ง การลอกเลียนแบบในพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ดูจะเป็นสิ่งที่ลูกชื่นชอบมาก ดังนั้นพฤติกรรมการขีดเขียนของเด็กจึงเริ่มต้นกันตั้งแต่เมื่อเขาสามารถหยิบจับสิ่งของได้เลยทีเดียว และการขีดเขียนของลูกยังมีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการพัฒนาสมอง

น่าอ่าน :  10 ทักษะที่ลูกต้องมีก่อนพ่อแม่ฝึกลูกเขียนหนังสือ

เด็ก หัดเขียน ได้เมื่ออายุเท่าไหร่
เด็ก หัดเขียน ได้เมื่ออายุเท่าไหร่

พัฒนาการเขียนของเด็ก

ลำดับพัฒนาการการจับอุปกรณ์การเขียนของเด็กนั้น เริ่มกันตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียนเสียอีก ความสามารถในการเขียนของเด็กขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้หนังสือที่หลากหลาย รวมถึงการจดจำตัวอักษร การตีความเสียง การจดจำรูปแบบจากตัวหนังสือในนิทานแม้เขาจะอ่านยังไม่ออกก็ตามที ดังนั้นจึงไม่สามารถชี้วัดด้วยหลักที่แน่ชัด ฟันธงได้ว่า เด็กอายุเท่านี้จะต้องมีพัฒนาการการเขียนตามรูปแบบที่กำหนดที่เราจะกล่าวถึงต่อไป เพราะเด็กไม่ได้เหมือนกัน การกำหนดกฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดโดยทั่ว ๆ ไป ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรกังวล วิตกจนเกินไปนัก เพราะเมื่อถึงวัยที่เหมาะสม เด็กก็จะสามารถพัฒนาทักษะได้ตามเกณฑ์อย่างแน่นอน

วัย 1-2 ปี : การเขียน คือ การต่อยอดความคิด

เป็นขั้นตอนแรกของพัฒนาการการเขียน เด็กวัยนี้เริ่มหยิบจับอุปกรณ์ขึ้นมาขีดเขียนโดยการทำตามแบบของผู้ใหญ่ การสนับสนุนด้วยการไม่ขัดขวาง และชื่นชมเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของลูก “ฉันก็เป็นนักเขียนเหมือนกัน” คือความคิดของลูกคุณในขณะขีดเขียน

หากคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูลูกในระหว่างขีดเขียนนี้จะพบว่าเด็กขีดเขียน หรือวาดภาพ ไปพร้อมกับพูด หรือเล่าเรื่อง เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เด็กได้ตระหนักว่าความคิดของเขาสามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยการเขียน

น่าอ่าน : จับ หนีบ เล่น 20 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เล่นกับลูกในบ้านง่าย ๆ 

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะกับเด็กวัยนี้

เด็กในวัย 1-2 ปีนี้ พัฒนาการของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการควบคุมน้ำหนักมือ ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ อุปกรณ์ที่มีรูปร่างอ้วน และทนต่อแรงกดเวลาเขียนอย่าง สีเทียน จึงเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการหัดเขียนของเด็กวัยนี้

วัย 2-4 ปี : ตัวอักษรเริ่มเข้ามาสู่ผลงานลูก

แม้ว่าเด็กในวัยนี้จะเริ่มขึดเขียนเป็นตัวอักษรแล้ว แต่ก็ยังเป็นการเขียนแบบตัวอักษรสุ่ม ไม่เป็นคำ เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจในการสร้างคำ หรือเข้าใจในคำศัพท์ แต่เขาเริ่มเข้าใจว่าตัวอักษรเป็นการสร้างสัญลักษณ์พิเศษเฉพาะได้ การสอนให้ลูกเขียนชื่อตัวเองเป็นการสอนให้เขาเข้าใจว่าตัวอักษรใช้สร้างคำ และเด็กก็จะเรียนรู้พัฒนาคำศัพท์เพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ การอ่านจึงเป็นส่วนช่วยในการเรียนรู้ด้านการเขียนของเด็กวัยนี้เช่นกัน การอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังทุกวันนอกจากเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านแล้ว หากเราอ่านเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ลูกก็จะสามารถจดจำคำศัพท์บางคำในหนังสือนิทานได้ เมื่อจำได้ลูกก็จะสามารถถ่ายทอดสิ่งนั้นออกมาทางการเขียนได้เช่นกัน

น่าอ่าน : รวม 70 นิทานสำหรับเด็ก 4-7 ปี กระตุ้นจินตนาการ พัฒนาสมองลูกน้อย

การอ่าน ช่วยพัฒนาการเขียนได้เช่นกัน
การอ่าน ช่วยพัฒนาการเขียนได้เช่นกัน

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะกับเด็กวัยนี้

เด็กในวัยนี้ เริ่มมีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดีขึ้น ดังนั้นสามารถให้เขาใช้ “ดินสอไม้” ที่มีด้ามจับที่ใหญ่กว่าปกติ หรือเป็นด้ามสามเหลี่ยมที่ทำมาให้เหมาะกับมือเด็กมากยิ่งขึ้น การเลือกใช้อุปกรณ์ในช่วงวัยนี้มีความสำคัญ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกดีกับการเขียน ให้เขาได้อิสระ ไม่บังคับเขียน และการเขียนตัวอักษรได้สวยงามยังไม่ใช้เป้าหมายของเด็กวัยนี้ แต่พ่อแม่สามารถปรับท่าทางการจับดินสอของลูกให้มาสู่ท่าที่ถูกต้องได้ เป็นวัยที่เรายังปรับเปลี่ยนได้อยู่

วัย 4-7 ปี : ระยะคล่องแคล่ว

ในช่วงต้น ๆ ของวัยนี้ เด็กมักจะเขียนตัวหนังสือกลับด้าน หรือสะกดไม่ถูกต้องอยู่บ้าง แต่เขาเข้าใจในเรื่องที่ว่า คำประกอบด้วยเสียง และตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงเหล่านั้น ข้อผิดพลาดเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการเขียนและการสื่อสารของลูก

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะกับเด็กวัยนี้

ยังคงเป็นดินสอ แต่จะเน้นในเรื่องของการจับดินสอให้ถูกต้อง การจับดินสอที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็กไม่เมื่อยล้า และไม่เกิดการเสียดสีที่บางนิ้วมือจนเป็นตุ่มพอง เด็กจะเขียนได้ดี และควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้นเมื่อจับดินสอได้ถูกต้อง

การฝึกเด็กจับดินสอให้ถูกวิธี
การฝึกเด็กจับดินสอให้ถูกวิธี

เคล็ดลับ : วิธีการฝึกจับดินสอที่ถูกต้อง

  1. นั่งหลังตรง สองเท้าวางราบกับพื้น เพื่อให้สมองจดจำท่านั่งที่ใช้เขียน และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อบริเวณแผ่นหลัง และหน้าท้องว่าให้ผ่อนหรือเกร็ง ในครั้งต่อ ๆ ไป เวลานั่งก็จะไม่ได้ต้องมาคอยเตือนว่าให้นั่งท่าไหน เพราะสมองเรียนรู้ และได้จดจำไปแล้ว
  2. การฝึกเด็กเล็ก เราควรใช้อุปกรณ์การเขียนขนาดใหญ่ เช่น ดินสอไม้แท่งอ้วน สีเทียน เป็นต้น แล้วค่อยลดขนาดลงไปทีละน้อย
  3. สามารถใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ยางฝึกจับดินสอ
  4. หมั่นทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น โยนรับลูกบอล เล่นคีบของ นับเลขด้วยนิ้วมือ เป็นต้น
  5. กิจกรรมระบายสีก็เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการฝึกจับดินสอสำหรับเด็ก
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.babycenter.com/

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

4 วิธีสนุก ดึงดูดลูกจับดินสอเขียน

ลูก 5 ขวบ อ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี? มาช่วยลูกให้ “อ่านออก” กัน

เด็กพร้อมจับดินสอได้เมื่อไหร่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ ทำไงดี?

“ฝึกลูกกินเอง” การหั่นอาหาร blw หั่นกินแบบไหนไม่ติดคอ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up