สัญญาณบ่งบอกว่าลูกถูกทำร้าย
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเด็กๆ และนี่คือสัญญาณเตือนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้เป็น หากลูกถูกทำร้ายจะได้รีบแก้ไขปัญหาได้ทัน
- โหยหาพ่อแม่ ถ้าปกติลูกไม่เคยโผเข้ากอดพ่อแม่หลังไปรับ แต่จู่ๆลูกวิ่งเข้าหาพ่อแม่แบบโหยหา หรือร้องไห้ใส่ทันทีที่เห็นหน้า ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าอาจมีเหตุไม่ปกติเกิดขึ้นกับลูก หรือมาร้องไห้ทันทีที่ถึงบ้านเพราะอยู่ต่อหน้าครูที่โรงเรียนแล้วไม่กล้าร้อง
- มีความหวาดกลัว ไม่อยากไปเนอสเซอรี่ ยิ่งถ้าปกติลูกเป็นเด็กร่าเริงแล้วอยู่ๆกลายเป็นไม่พูด เงียบ ไม่ร่าเริงเหมือนเก่า งอแง และร้องไห้ไม่ยอมไปเรียน ให้ถามลูกได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น
- พัฒนาการช้า ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าที่ควรเป็นตามวัย งอแง ขี้ตกใจ
- พบรอยเขียวช้ำตามตัว ควรสังเกตตามตัวลูกว่ามีรอยแผลเขียวช้ำหรือเปล่า โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นเป็นประจำ และควรเช็คในบริเวณร่มผ้าด้วย เพราะส่วนใหญ่พี่เลี้ยงมักทำร้ายในที่ที่มองเผินๆไม่เห็น
ถ้าลูกถูกทำร้ายจากเนอสเซอรี่ควรทำอย่างไร
- เมื่อสอบถามลูกแล้วพบว่าถูกทำร้าย ให้รีบพาลูกไปตรวจร่างกาย เพื่อให้แพทย์เช็คความผิดปกติ ถ่ายรูปร่องรอยที่ถูกทำร้ายและเก็บหลักฐานทางการแพทย์ไว้
- หากลูกไม่ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงและไม่ได้มีอาการผิดปกติ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีสืบจากเพื่อนในห้องหรือผู้ปกครองคนอื่นๆ ก่อน เพื่อหาพยานและหลักฐาน จากนั้นให้รีบแจ้งผู้บริหารเนอสเซอรี เพื่อขอเช็คกล้องวงจรปิด และขอแนวทางแก้ไข
- หากลูกบาดเจ็บหนัก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและศูนย์ดำรงธรรมหรือมูลนิธิคุ้มครองเด็กให้เข้ามาดูแล
- ย้ายเนอสเซอรี่ทันที เพื่อป้องกันลูกถูกทำร้ายอีก
เตรียมความพร้อมให้ลูกเอง ไม่ยาก !!
แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ที่ทำงาน ไม่มีเวลาให้ลูกได้ทั้งวัน แต่เราก็สามารถเตรียมความพร้อมให้กับเขาได้ด้วยตนเอง ได้ไม่ยาก เพียงแค่หาเวลาว่างจากงาน มอบเวลาคุณภาพให้กับลูกน้อย และร่วมกันทำกิจกรรมเหล่านี้ ก็เป็นการช่วยใน การ เตรียม ความพร้อมให้กับลูก ๆ ได้มากมาย
- แนะวิธีจัดการอารมณ์อย่างถูกวิธี เช่น สอนกลวิธีรับมือเมื่อลูกของคุณอารมณ์เสีย เช่น หายใจเข้าลึก ๆ นับถึงสิบ
- กำหนดตารางเวลาและกิจวัตรประจำวันที่บ้านอย่างชัดเจน และพ่อแม่ทำตามเป็นตัวอย่างด้วย ไม่เพียงแค่ทำตามตารางที่โรงเรียน ที่บ้านก็ต้องสอนให้สอดคล้องกัน
- รับประทานอาหารร่วมกันเป็นครอบครัวอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ
- อ่านนิทานให้ลูกฟังด้วยกันบ่อย ๆ หรือกำลังเวลาแน่นอนที่ลูกจะได้ฟังนิทาน
- หากิจกรรมยามว่างที่ชื่นชอบร่วมกัน เช่น ทำงานศิลปะง่าย ๆ ด้วยกัน เล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น
- ให้ลูกออกไปเล่นกลางแจ้งให้ได้มากที่สุด
- สอนลูกให้รู้จักดูแลตนเอง เช่น สอนลูกให้แต่งตัว และถอดเสื้อผ้าเอง
- เล่นกับลูกให้มากที่สุด ทำตามการเล่นของพวกเขา
- พาออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และสถาบันทางวัฒนธรรมอื่น ๆ
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่สนับสนุนให้เขาอยู่กับหน้าจอ หากิจกรรมอื่น ๆ มาทดแทน เพื่อพัฒนาการที่ดีในระยะยาวของลูกน้อย
- ให้เวลากับลูกเต็มที่ ไม่ดูหน้าจอ เล่นโซเซียล ขณะอยู่กับลูก
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://story.motherhood.co.th/https://www.nakornthon.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ส่งลูกเข้า เตรียมอนุบาล จำเป็นมั้ย? ควรให้ลูกเข้าเรียนตอนกี่ขวบดี?
หมอชี้! หลักการ เลือกโรงเรียนให้ลูก โรงเรียนที่ดีต้องมี 3 ข้อนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่