3 ข้อดี โรงเรียนรัฐบาล vs โรงเรียนเอกชน ต่างกันอย่างไร? - Amarin Baby & Kids
โรงเรียนรัฐบาล

3 ข้อดี โรงเรียนรัฐบาล vs โรงเรียนเอกชน ต่างกันอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
โรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนรัฐบาล

ปฏิเสธไม่ได้ว่า โรงเรียนรัฐบาล นั้นเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่พ่อแม่หลายคนเลือกให้ลูกได้เรียน เพราะเป็นทางออกที่ช่วยให้พ่อแม่สบายใจต่อกระเป๋าเงินที่สุดในยุคที่เศรษฐกิจค่าครองชีพก็เริ่มเพิ่มขึ้น

ความแตกต่างของ โรงเรียนรัฐบาล vs โรงเรียนเอกชน

สำหรับประเทศไทยนั้นมีการแบ่งโรงเรียนออกเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โดยโรงเรียนรัฐนั้นจะบริหารจัดการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนโรงเรียนเอกชนจะบริหารจัดการโดยกลุ่มบุคคลหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่มีใบอนุญาตจัดตั้ง (อ้างอิง th.wikipedia.org)

ข้อแตกต่างโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนรัฐบาล

โรงเรียนรัฐบาล นั้นนอกจากจัดเป็นโรงเรียนกระแสหลักที่ช่วยคุณพ่อคุณแม่ประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเทอมได้ค่อนข้างย่อมเยากว่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนตัวเลือกอื่น ๆ ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นตัวเลือกธรรมดา แต่ปัจจุบันโรงเรียนรัฐฯ ก็มีการเรียนการสอนที่เข้มข้นไม่แพ้กับโรงเรียนในหลักสูตรอื่น ๆ โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียน นำการสอนแบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียน เน้นให้นักเรียนดูแลและพึ่งพาตนเอง และอ่านเขียนได้ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยประถมศึกษา มีความชัดเจนในเรื่องของจำนวนนักเรียนต่อห้อง และเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้มีการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กพิเศษได้สามารถมาเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติได้

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนรัฐบาลหลายแห่งเปิดสอนหลักสูตรโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English Program) และอาจมีให้นักเรียนต่างชาติเข้าเรียนได้ ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างจากโปรแกรมปกติ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าโรงเรียนนานาชาติมาก

สำหรับครูผู้สอนที่จะเข้ามาสอนในโรงเรียนรัฐบาลได้นั้นก็ต้องผ่านการสอบเข้าบรรจุเป็นครู ซึ่งจะต้องใช้เวลา 5-6 ปี ดังนั้นครูที่สอนในโรงเรียนรัฐฯ จะมีประสบการณ์ ในส่วนของกฎระเบียบก็จะค่อนข้างเข้มงวด ตั้งแต่ทรงผมจนถึงเครื่องแบบ การแต่งกาย และกระเป๋า

3 ข้อดีที่พ่อแม่เลือกส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่ คือ

  • เลือกโรงเรียนเพราะค่าเทอมที่ไม่แพง
  • ความมีชื่อเสียงของโรงเรียนที่เปิดมานาน ศิษย์เก่าที่จบออกไปมีชื่อเสียง
  • ถ้ามีโรงเรียนรัฐเปิดใกล้บ้านก็จะสะดวกต่อการเดินทาง สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงได้ดีทีเดียวเชียว

โรงเรียนรัฐบาลจึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ครองใจผู้ปกครองมาโดยตลอด ทั้งนี้อาจมีแม่ ๆ สงสัยว่าจะให้ลูกเข้าโรงเรียนรัฐ เริ่มต้นตอนกี่ขวบดี ในเรื่องนี้ นพ.ธีระเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ได้สั่งเซ็ตซีโร่รับเด็กอนุบาลปี 2562 โดยย้ำเด็กอนุบาล 3 ขวบต้องให้ท้องถิ่นหรือโรงเรียนเอกชนดูแล ส่วนอนุบาลในสังกัดสพฐ. รับเด็กอนุบาล 4 ขวบ และได้สั่งการให้ สพฐ.ไปเปลี่ยนการเรียกชั้นอนุบาล เพราะสพฐ. รับอนุบาล 4 ขวบ ก็ควรจะเปลี่ยนเป็นอนุบาล 2 อนุบาล 3 

ดังนั้นเด็กที่อยู่ในวัย 3 ขวบทุกคน ก็ยังสามารถเริ่มต้นเข้าเรียนอนุบาล 1 ได้เหมือนเดิม เพียงแต่จะให้เข้าเรียนในโรงเรียนในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสถานศึกษาเอกชน (สช.) เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรับนักเรียน และเมื่ออายุครบ 4 และ 5 ขวบแล้ว ก็สามารถสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. (หรือโรงเรียนรัฐบาล) ในชั้นอนุบาล 2 และ 3 ได้นั่นเอง

ส่วนการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ตามประกาศ สพฐ.หลักเกณฑ์การนับอายุฯ ให้นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิดไปจนถึง วันแรกของการเปิดภาคเรียนที่ 1 คือวันที่ 16 พฤษภาคม ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิด สถานศึกษา พ.ศ. 2549 เด็กบางคนที่เกิดหลังเดือนพฤษภาคมก็อาจจะต้องรอเข้าโรงเรียนในภาคเรียนต่อไป

เอกชนกับรัฐบาล ต่างกันยังไง

โรงเรียนเอกชน หมายถึง สถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบ ที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อ้างอิง sites.google.com)

สำหรับโรงเรียนเอกชนในประเทศไทยนั้น ถือได้ว่ามีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาไม่น้อยไปกว่าโรงเรียนของภาครัฐ ซึ่งโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในระบบจะจัดการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่จะมีสภาพแวดล้อม อุปกรณ์การเรียนการสอนหรือสื่อที่ใช้แตกต่างจากโรงเรียนรัฐบาล บางโรงเรียนมีการนำรูปแบบการสอน English Program (EP) เข้ามาในหลักสูตร และโรงเรียนนานาชาติก็รวมอยู่ในประเภทโรงเรียนเอกชนด้วยเช่นกัน

แม้ว่าโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าโรงเรียนรัฐฯ แต่ก็เป็นตัวเลือกที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐาน มีการดูแลและให้ความสำคัญกับเด็กอย่างทั่วถึง คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าถึงครูและคุยสอบถามเกี่ยวกับตัวลูกได้ง่าย และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่ทันสมัย จึงทำให้ภาพลักษณ์ของโรงเรียนเป็นโรงเรียนในฝันของเด็ก ๆ

โรงเรียนเอกชน

ด้านครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนจะคัดเลือกและทำการสอบอาจารย์ที่จบหลักสูตรการเรียนการสอนมาตรงกับวิชาที่เข้าสอน ส่วนวิชาภาษาอังกฤษหรือหลักสูตร English Program จะมีครูชาวต่างชาติเป็นผู้สอน

3 ข้อดีที่พ่อแม่เลือกส่งลูกเรียนโรงเรียนเอกชน

  • มีหลักสูตรต่างประเทศได้เรียนทั้งไทยและอังกฤษ
  • การดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างทั่วถึง
  • สภาพแวดล้อมในโรงเรียนและสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย

ความต่างเหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาเป็นข้อมูลเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจเพิ่มเติมขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยมีโรงเรียนมากมายทั้งแบบรัฐบาลและเอกชนที่มีชื่อเสียง และมีการเรียนการสอนที่ให้ความรู้อันเป็นสิ่งสำคัญต่อบุตรหลานในการศึกษา และประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้นการเลือกโรงเรียนให้เหมาะกับลูกนอกจากเป็นสิ่งสำคัญอันดันต้นแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ต่างก็เป็นสถานศึกษาที่จะมอบความรู้ให้นักเรียนได้เท่าเทียมกันอย่างแน่นอนค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ :

ข้อดี vs ข้อเสีย ส่งลูกเข้า โรงเรียนเตรียมอนุบาล

อัพเดทล่าสุด! ค่าเทอมโรงเรียนอนุบาล 2563 ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

Summary
Review Date
Reviewed Item
โรงเรียนรัฐบาล
Author Rating
31star1star1stargraygray

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up