การนอน
ท่านอนทารก ช่วยลูกฉลาด และพัฒนาการดีจริงหรือ?
คุณแม่ๆขา การเลือกท่านอนให้ทารกน้อยนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อให้ลูกศีรษะทุยสวยงามอย่างเดียว แต่แม่ๆรู้หรือไม่ว่า ท่านอนทารก ช่วยให้ลูกฉลาดได้อีกด้วยนะคะ
โทรศัพท์ touch screen ทำ ‘สมองลูกเติบโตช้า’
วัยเด็ก เป็นวัยที่ต้องการการนอนหลับอย่างเพียงพอ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาของสมอง เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการที่ส่งผลไปตลอดชีวิต แต่รายงานจากนักวิจัยมหาวิทยาลัย Birbeck ในลอนดอนพบว่า เด็กอายุ 6-11 ขวบ ที่ ติดโทรศัพท์จนนอนดึก มีพัฒนาการทางสมองช้าลง
เพราะเหตุใดทารกถึงนอนสลับเวลา!
มีคุณแม่มือใหม่หลายคน เป็นกังวลไม่น้อยกับเรื่องที่จะต้องปรับตัว เมื่อมีเด็กน้อยอีกหนึ่งคนเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องการเลี้ยงดูเด็กเป็นครั้งแรก เรื่องน้ำนมที่ยังไม่ไหล รวมไปถึงเรื่องการนอนของลูกน้อย
พลังของการนอน !!!! ขุมคลัง… พลังสมองของลูกน้อย
คุณแม่รู้มั้ยคะ…การนอนช่วยให้เด็กเติบโต ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้หลายด้าน เด็กจะประมวลผล และเกิดการกระตุ้นของประสาทสัมผัสและเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ ในขณะที่เขาหลับ การนอนมีส่วนสำคัญในการประมวลผลความจำจากกิจกรรมที่เด็กทำในขณะตื่น พลังของการนอน…ต่อยอดรอยหยัก สร้างการประมวลผลสมองลูก? การนอนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสร้างความทรงจำระยะยาว (long-term memory) ดังนี้ เด็กจะรับรู้ผ่าน 5 ประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้นและสัมผัสทางกาย ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะถูกส่งไปยังสมองส่วนการรับรู้ มองเห็น ขยายมิติภาพที่มองเห็น ไปบันทึกเก็บไว้เป็นความจำ หากเด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบสื่อสารกับสิ่งกระตุ้นนั้นซ้ำๆ ก็จะจำเป็นประสบการณ์จนเกิดความคุ้นเคย เมื่อรับรู้ จดจำได้ เวลาเด็กได้รับการกระตุ้นเหล่านั้นอีกก็จะสามารถเข้าใจและสื่อสารโต้ตอบได้ค่ะ ขณะเด็กหลับ จะเกิด กระบวนการประมวลผลความจำของสมอง” จากข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การนอนถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสมองในเด็ก ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่า สมองทำงานแม้ยามหลับ การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่าสมองยังทำงานขณะหลับคือการทำ PET scan (Positron Emission Tomography) หรือ fMRI (functional Magnetic Resonance Imaging) แสดงให้เห็นถึงส่วนของสมองที่ยังทำงานในกระบวนการสร้างความทรงจำแม้ขณะเด็ก “หลับ” […]
ผลวิทยาศาตร์ยืนยัน…หลับดี มีโอกาสต่อยอดพัฒนาสมอง
คุณแม่หลายท่านคงสงสัยในใจว่า ลูกน้อยของเราเอาแต่นอนและนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ช่วงอายุ 3 เดือนแรก เด็กนอนมากถึง 16-18 ชม ต่อวัน เมื่อพออายุลูกถึง1ขวบ ลดชั่วโมงการนอน เหลือ 12-13 ชม ต่อ วัน มีอะไรซ่อนอยู้ในการนอนของลูกเรานะ และอะไรหนอ ทำให้ลูกน้อยนอนได้มากมายขนาดนี้ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การนอนถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสมองในเด็ก 1. โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะสมองมีพัฒนาการเร็วที่สุด โดยขนาดสมองโตถึง 80% ของสมองผู้ใหญ่ 2. ช่วงเวลานอน เป็นช่วงที่มีความสำคัญในการเก็บสะสมข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาในแต่ละวัน พร้อมเป็นเป็นคลังข้อมูลที่จะเรียกเก็บกลับมาเรียกดู เรียกใช้ในเวลาต่อมา 3. การนอนหลับที่ดีเป็นช่วงเวลาสำคัญเพื่อสุขภาพของสมอง และสุขภาพกาย ตระเตรียมสะสม ลบล้างข้อมูล เพื่อวันใหม่ที่มาถึง รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการนอนที่ดี เริ่มตั้งแต่คืนนี้ กันเลยนะคะ ข้อมูลอ้างอิง: Born J, Wilhelm I. System consolidation of memory during sleep. Psychological Research (2012) 76:192–203
พาลูกเข้านอนไว มีชัยไปกว่าครึ่ง
ศูนย์การแพทย์เพื่อการรักษาการนอนแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า การสร้างลักษณะนิสัยการนอนที่ดีให้เด็กได้แก่ การเข้านอนเวลาเดิมเป็นประจำ และเข้านอนก่อนสามทุ่มจะเป็นผลดีอย่างมาก
ลูกเตาะแตะยังต้องนอนกลางวันอยู่หรือเปล่า
พอเข้าวัยเตาะแตะ พ่อหนูแม่หนูต้องการเวลานอนน้อยลง บางคนถึงกับไม่ยอมนอนกลางวันเอาเสียเลย ทำเอาคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล เอ…ลูกเราจะพักผ่อนพอหรือเปล่า
ลูกไม่ยอมนอน ตื่นบ่อย ทำไงดี? เมื่อไหร่ลูกจะนอนยาว?
ลูกไม่ยอมนอน ทำไงดี? แม่หลาย ๆ คนเฝ้ารอให้ลูกนอนหลับยาวตลอดคืน ไม่ตื่นบ่อย เพื่อที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่เมื่อไรล่ะ ลูกถึงจะยอมนอนยาว?
ฝึกลูกตื่นสาย ให้ตื่นเช้า
ไม่ว่าคุณจะแกล้งเดินย่ำเท้าเสียงดังๆ ตะโกนปลุก หรือแม้แต่ขู่ว่าจะไม่ให้ทำอะไรเป็นกรณีพิเศษอีกต่อไป