ทำลายสมอง – AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 พฤติกรรมเสี่ยงส่งผลเสียต่อสมองของลูกน้อย

พ่อแม่ทุกคนต่างก็อยากให้ลูกน้อยของตัวเองเป็นเด็กฉลาด มีความรู้ ความสามารถรอบด้าน เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่คุณพ่อ คุณแม่รู้หรือไม่ ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ ส่งผลเสียต่อสมอง ทำให้พัฒนาการของลูกน้อยช้าลง ส่งผลต่อศักยภาพการเรียนรู้ของลูกน้อย

สมองเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยความรุนแรง กับเด็กปกติ

คุณพ่อ คุณแม่เคยได้ยินคำนี้มั้ยคะ “เด็กจะดี จะชั่ว ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเอง” ความคิดนี้อาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป เพราะการที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีที่สมบูรณ์นั้น ต้องใช้ปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน รวมถึง การเลี้ยงดู ของพ่อแม่ ที่อาจจะเปลี่ยนโลกของเขาทั้งใบ

ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?

มีความเชื่อหนึ่งที่ว่า การปล่อยให้ ลูกร้องไห้นาน เป็นการบริหารปอด ความเชื่อนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสมองของลูกน้อย เพราะเมื่อลูกถูกปล่อยให้ร้องไห้เป็นเวลานาน สมองของลูกน้อยจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดคอร์ติโซล (cortisol) ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง ทำลายพัฒนาการได้

ห้ามลูกกิน! 18 อาหารอันตราย เสี่ยงทำลายสมอง พัฒนาการช้า

“อาหาร” ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ช่วยในการพัฒนาสมองของลูกน้อย  แต่ในทางกลับกัน  อาหารบางประเภทก็อาจเป็น อาหารอันตราย ส่งผลร้าย ทำลายสมองลูก ของคุณได้

ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก

เด็กกับผู้ใหญ่ มีความแตกต่างเรื่องบุคลิกภาพ ผู้ใหญ่มักจะดูนิ่งกว่าเด็ก มีความคิด และนิสัยที่ชัดเจน สามารถแยกแยะความถูกผิดได้ในระดับหนึ่ง ส่วนแด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิดอยู่ทุกวัน การที่ให้ลูกดูทีวีนานๆ อาจนำ ภัยจากทีวี มาฆ่าสมองลูกน้อยได้โดยไม่รู้ตัว นพ. กิจจา ฤดีขจร กล่าวว่า อาการของโรคสมาธิสั้น และออทิสติก ในเด็กเกิดจากปัจจัยของการพัฒนาสมอง และบุคลิกภาพของเด็กเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 2 อย่าง คือ ปัจจัยภายใน มีผลมาจากพันธุกรรม และปัจจัยภายนอก มาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ครอบครัว สังคม เพื่อน และโรงเรียน ในประเทศไทยมีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และออทิสติกอยู่ประมาณ 5-10% ซึ่งมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู 30-40% การดูโทรทัศน์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น แสดงผลเร็ว ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้น โทรทัศน์เป็นตัวกระตุ้นให้แสดงอาการของโรคสมาธิสั้น เพียงงดไม่ให้ลูกน้อยดูทีวี อาการที่อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น ก็จะดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน และหายไปในที่สุด โดยไม่ต้องใช้การรักษาอย่างอื่นร่วมด้วย ส่วนโรคออทิสติก […]

keyboard_arrow_up