โรคเอ๋อ – AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

Hypothyroidism ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งป้องกันได้ ลูกไม่เอ๋อ!

Hypothyroidism ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด หากรู้เร็ว มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ เพื่อป้องกันปัญหาด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตของเด็ก

โรคเอ๋อ ในเด็ก สาเหตุ อาการ การป้องกัน

ตอนท้องส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการทานโฟลิก ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ระหว่างการอุ้มท้องแม่ๆ อาจลืมให้ความสำคัญกับอาหารการกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไอโอดีน รู้ไหมหากขาดไอโอดีนตั้งแต่ตอนท้อง สามารถส่งผลให้ลูกเกิดมาเป็น โรคเอ๋อ ได้นะ! ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลที่น่าสนใจถึงอาการเอ๋อที่อาจเกิดกับเด็กๆ มาให้ทราบค่ะ

“โรคเอ๋อ” จากภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

มิใช่เพียงผู้ใหญ่ที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ทารกแรกเกิดก็มีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดนี้ เป็นภาวะที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของภาวะปัญญาอ่อน หรือที่สมัยก่อนเรียกกันติดปากว่า “โรคเอ๋อ” นั่นเอง

เบบี๋น้ำลายไหลย้อย ผิดปกติหรือไม่?

ปัญหาเรื่องน้ำลายไหลในเด็ก พบได้ในเด็กปกติ ส่วนใหญ่มักเป็นไม่นานหรือเป็นตามช่วงอายุ เช่น อายุ 3-4 เดือน ที่ชอบเล่นน้ำลาย ชอบทำเสียงพ่นน้ำลายออกมา หรืออายุ 6 เดือน เป็นช่วงที่ฟันกำลังขึ้น อาจมีอาการเจ็บที่เหงือก หรืออาจมีอาการเจ็บป่วย ติดเชื้อบางอย่าง เป็นแผลในปาก หรือมีการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ ทำให้กลืนน้ำลายไม่ได้ น้ำลายจึงยืดออกมา แต่มักเป็นไม่นาน จึงไม่ต้องใช้ผ้ากันเปื้อนหรือผ้ากันน้ำลายตลอดเวลา  ข้อเสียของการมีน้ำลายไหลยืด คือทำให้ผิวหนังบริเวณที่โดนน้ำลายเป็นผื่นแดง อักเสบติดเชื้อ ข้าวของหรือหนังสือเสียหายจากน้ำลายที่เปรอะเปื้อน และเด็กเกิดความอับอายเพราะถูกล้อเลียน เด็กที่มีน้ำลายไหลยืดนานกว่าคนอื่นอาจเกิดจากภาวะต่อไปนี้ ▶ การสบฟันผิดปกติ ควรปรึกษาทันตแพทย์ ▶ ใช้จุกหลอก หรือดูดจุกขวดนมนานเกินช่วงวัย ควรหยุดการใช้โดยเร็ว ▶ ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคสมองพิการ ซึ่งวินิจฉัยได้โดยแพทย์เท่านั้น ▶ เด็กมีโรคประจำตัวภูมิแพ้ หายใจทางจมูกไม่สะดวก ต้องอ้าปากช่วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ ▶ แนวโน้มพัฒนาการสื่อสาร ภาษาล่าช้า ควรปรึกษาแพทย์พัฒนาการเด็ก เพื่อส่งต่อฝึกพูด ▶ กล้ามเนื้อรอบปากไม่แข็งแรง โทนกล้ามเนื้อต่ำ มีปัญหาการเคี้ยวกลืน ควรปรึกษาแพทย์พัฒนาการเด็ก เพื่อส่งต่อนักกิจกรรมบำบัด […]

keyboard_arrow_up