กินน้อย – AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นิสัยกินน้อย กินยาก ทำเด็กวัย 1-3 ปีมีโอกาสขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่น

เด็กเล็กในช่วงวัย 1-3 ปีมีโอกาสขาดสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ  ลองสังเกตดูสักนิดว่าลูกรักที่อยู่ในวัยเด็กเล็กกำลังมีพฤติกรรมกินยาก เลือกกิน และชอบปฏิเสธอาหารที่คุณแม่จัดให้กินบ่อยๆ หรือเปล่า แพทย์หญิงกิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก  ให้คำตอบว่า ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินของเด็กในวัยนี้ที่เริ่มไม่เป็นไปตามที่คุณแม่คาดหวัง จากเดิมที่ในช่วงก่อนขวบ ไม่ว่าคุณแม่จะจัดอาหารตามวัยแบบไหนให้ ลูกมักจะไม่ปฏิเสธเพราะว่ายังกินเองไม่ค่อยได้ คุณแม่ยังต้องคอยป้อน คอยกระตุ้นให้กินอาหารดีมีโภชนาการ กินผักกินผลไม้ แต่พอช่วงหนึ่งขวบไปแล้วไปจนครบสองขวบ เป็นช่วงวัยที่ลูกเริ่มมีความเป็นตัวเอง รู้จักเลือก รู้จักปฏิเสธ อะไรชอบจะกิน อะไรไม่ชอบก็ส่ายหน้า เลือกกินแต่เมนูที่ชอบซ้ำๆ แม้แต่ผักที่เคยกินกลับไม่กิน และไม่ค่อยยอมลิ้มลองรสชาติอาหารใหม่ๆ ด้วยวัยที่สามารถกินอาหารได้คล้ายผู้ใหญ่เกือบทุกอย่าง อาหารที่เด็กวัย 1-3 ปีกินได้จึงมีมาก ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ถ้าหากคุณแม่ยึดหลักการจัดอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีคุณค่าโภชนาการครบห้าหมู่ ให้กินนมรสจืดเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน ขนมกรุบกรอบ  น้ำอัดลม ฯลฯ ก็วางใจได้ว่าจะไม่ประสบปัญหาการขาดสารอาหารในช่วงวัยนี้ คุณแม่จึงต้องใส่ใจเรื่องกินของลูกวัยเด็กเล็ก 1-3 ปีให้มาก ควรฝึกนิสัยการกินที่ดี สร้างวินัยเรื่องกินหากเริ่มสังเกตพบว่าลูกกำลังมีพฤติกรรมกินยาก ปฏิเสธอาหารมีคุณค่าที่คุณแม่จัดให้ “การขาดสารอาหารในที่นี้หมายถึงปริมาณสารอาหารที่ช่วงวัยของลูกควรได้รับนั้น เขาได้รับไม่พอในแต่ละวัน โดยเฉพาะสารอาหารกลุ่มรอง (Micronutrient) จำพวกวิตามินแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งพบในเด็กที่มีภาวะโภชนาการขาด เช่น ผอมมาก […]

กินยาก แก้ด้วย 6 กลยุทธ์สร้างความคุ้นชินกับเมนูใหม่ๆ ให้เจ้าตัวน้อย

การรับประทานอาหารและการทำกิจกรรมในแต่ละวันให้สมดุลมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กมาก เรามาสร้างความคุ้นชินกับเมนูใหม่ๆ ให้เจ้าตัวน้อยแสนกินยากกันดีกว่า

ขวบกว่าๆ เบบี๋มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

พัฒนาการของลูกวัยขวบกว่ามีอะไรที่น่าตื่นเต้นเยอะแยะเลย เป็นช่วงที่พ่อแม่สนุกกับการได้สังเกตพัฒนาการของลูกก็ไม่ผิดค่ะ มีอะไรบ้างไปดูกัน!

keyboard_arrow_up