5. ใบโหระพา/ใบกะเพรา
เพราะจะทำให้ใบโหระพานั้นแห้งและเหี่ยวไว ไม่เพียงเท่านั้น ใบโหระพายังดูดซับกลิ่นจากตู้เย็นเข้ามาไว้ในตัวอีกด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะนำไปประกอบอาหารไม่ได้อีกต่อไป
⇒ Must read : แม่แชร์สูตร! อาบน้ำใบกะเพรา ระเบิดพุง แก้ปัญหาลูกท้องผูก
⇒ Must read : อาหารบำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอด
6. ฟักทอง
อย่าปล่อยให้ความเย็นในตู้เย็นทำรสชาติของฟักทองหายหมด แต่ควรเก็บไว้นอกตู้ในที่ที่เป็นอุณหภูมิห้อง เพื่อรักษาความเหนียวและรสชาติหวานๆ ของฟักทองให้ยังคงอยู่
7. กล้วย
หากลูกน้อย หรือคุณพ่อคุณแม่ชอบกินกล้วยแช่เย็น ก็คงต้องเลือกหน่อยแล้ว เพราะถ้าหากนำกล้วยที่เปลือกยังมีสีเขียวไปแช่ในตู้เย็น ความเย็นจะกักเก็บความสดไว้ ทำให้กล้วยสุกช้าลงมาก ทางที่ดีควรเก็บกล้วยที่ยังเขียวเอาไว้นอกตู้เย็น เพื่อรอให้มันสุกได้ที่แล้วค่อยนำไปแช่จะดีกว่า แม้ว่าเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่เนื้อด้านจะยังคงสุกพร้อมกินเหมือนเดิม
⇒ Must read : อุทาหรณ์! ลูกไม่โต เพราะ กล้วยอุดตันลำไส้ จนเน่า
8. แตงโม
หลายคนคิดว่าการแช่แตงโมไว้ในตู้เย็นจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการกินมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วแตงโมที่ถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิต่างหากจะมีรสชาติที่พอดี และเนื้อสัมผัสจะยังคงสดใหม่ไม่ช้ำง่าย ถ้าอยากจะกินแบบเย็นขึ้นมา แนะนำให้ตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ แล้วค่อยนำไปแช่
9. เมล่อน
ควรจัดเก็บเมลอนไว้บนเคาท์เตอร์เพื่อรสชาติที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับแตงโม แคนตาลูป และเมล่อนผิวเรียบ งานวิจัยของ USDA พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องจะไม่ทำให้เมล่อนสูญเสียสารต้านอนุมูลอิสระและเมื่อหั่นเป็นชิ้นก็ควรเก็บไว้ในตู้เย็นประมาณ 3-4 วัน
10. ส้ม
ทั้งส้มและเลมอนต่างก็เป็นพืชในตระกูลเดียวกัน และก็ต้องไม่เก็บไว้ในตู้เย็นเช่นเดียวกัน ทางที่ดีควรเก็บไว้นอกตู้เย็น วางไว้ในที่ที่เย็นและไม่มีแสงส่องถึง อุณหภูมิห้องจะดีต่อพืชผลเหล่านี้มากที่สุด
⇒ Must read : น้ำผลไม้ (น้ำส้มคั้น) อย่าให้ลูกอายุน้อยกว่า 1 ขวบกิน!!
อ่านต่อ >> “อาหารห้ามแช่ตู้เย็น ทำรสชาติผิดเพี้ยน และเสี่ยงทำลายสุขภาพลูกน้อย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่