ลูกเกรี้ยวกราดจัดการด้วยบันได 6 ขั้น
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองสงสัยกันไหมคะว่า บันได 6 ขั้น ที่จะใช้ในการ ปราบลูกเกรี้ยวกราด นั้นคืออะไร จริงๆ แล้วบันได 6 ขั้นก็คือหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่สามารถใช้ในการแก้ไขเด็กที่มีอาการ พฤติกรรมไม่น่ารักที่ชอบอาละวาด เกรี้ยวกราด ซึ่ง ทั้ง 6 วิธีแก้ไขนี้ เป็นคำแนะนำจาก ผศ.ดร. ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาฟื้นฟูสำหรับเด็กพิเศษ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี[2] โดยเท่าที่ผู้เขียน อ่านข้อมูลที่คุณหมอเขียนแนะนำไว้นั้น จริงๆ แล้ว บันได 6 ขั้น เป็นการปรับพฤติกรรมพ่อแม่ เพื่อให้สามารถรับมือกับลูกได้ เวลาที่พวกเขาแสดงอาการเกรี้ยวกราดออกมา ไปทำความเข้าใจพร้อมกันค่ะว่า พ่อแม่ต้องทำอย่างไรกันบ้าง…
- เช็กก่อนว่าเรารู้สึกอย่างไรอยู่ การนำสติกลับมาอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของเรา ลองคิดดูสิคะ ถ้าเรารู้หรือคิดได้ว่า การที่ลูกกรี๊ดโวยวายนั้นเป็นเพราะเขาต้องการจะสื่อสารอะไรบางอย่าง เราก็จะไม่เลือกที่จะตะโกนด่าว่าลูกให้หยุด หรือเงื้อมมือตีลูกแน่ๆ
- อยู่นิ่งๆ ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งเอาอารมณ์เราไปเล่มตามเกมลูก หายใจเข้า-หายใจออก
- ค่อยๆ อธิบาย เดินไปหาแล้วบอกลูกว่า ลูกร้องไห้ได้ แต่ก็ต้องบอกได้ว่าลูกร้องไห้ทำไม ถ้าบอกไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกถามเป็นคำถามหรือลองเดาว่า เพราะเหตุนี้ใช่หรือไม่อย่างไรก่อน
- ให้ทางเลือกลูกในการอธิบาย ในกรณีที่ลูกอธิบายได้ไม่ดี หรือคุณแม่ฟังไม่เข้าใจ หรือคิดว่าเหตุผลที่ลูกร้องไห้นั้นช่างไม่สมเหตุสมผลเลย เช่น น้องอาจได้ขนมในขณะที่ตัวเขาไม่ได้ หรือแม่ซื้อของให้น้องแต่ไม่ซื้อให้เขา ก็เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการอธิบายว่าเพราะเหตุใดถึงทำเช่นนั้น เปิดโอกาสตัวเองในการอธิบายเพื่อไม่ให้ลูกเข้าใจผิด รวมถึงให้โอกาสลูกในการพูดถึงอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกเสียใจ รู้สึกโกรธ
- เข้าอกเข้าใจลูก เมื่ออธิบายจบแล้ว ถ้าลูกยังคงร้องไห้อยู่ คุณแม่อาจแนะนำทางเลือกอื่น เช่น พาลูกไปดูของอย่างอื่น ชวนลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น พร้อมกับบอกด้วยว่า ลูกสามารถบอกอารมณ์และความคิดของลูกได้โดยที่ไม่ต้องกรี๊ดหรือโวยวาย และนั่นทำให้แม่เข้าใจได้ดีกว่าการที่ลูกร้องโวยวายเสียอีก
- ยืนหยัดอย่างมั่นคง รวมถึงทุกๆ คนในครอบครัวควรทำแบบเดียวกัน การปรับพฤติกรรมจะไม่ได้ผลเลยถ้าแต่ละคนในครอบครัวเลือกที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กต่างกัน เด็กมักจะเลือกที่จะแสดงอาการไม่พอใจไปจนเกรี้ยวกราดใส่คนที่ตนเองคิดว่า สามารถให้ของหรือให้ในสิ่งที่ตนเองต้องการเป็นลำดับแรกเสมอ ดังนั้น เรื่องการปรับทัศนคติในตรงกันจึงควรเป็นเรื่องพื้นฐานของครอบครัว[2]
บทความแนะนำ คลิก >> Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน
ในเบื้องต้นนั้น หากครอบครัวไหนที่กำลังเจอกับลูกที่อยู่ในช่วงวัยนี้ แล้วมีอาการ Tantrum ลองทำตามคำแนะนำจากคุณหมอทั้ง 6 วิธีนี้ ก็น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่งเลยค่ะ ที่สำคัญสุดคือพ่อแม่ต้องหนักแน่นในการให้ความร่วมมือกันทั้งสองคนด้วย อย่างผู้เขียนกับเพื่อนๆ ที่ลูกมีปัญหาในเรื่องนี้ก็ได้ทำตามที่คุณหมอแนะนำพ่อแม่ คือทำแล้วช่วยได้ผลดีมากเลยค่ะ
อ่านต่อ 4 เทคนิคปราบลูกดื้อ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่