พัฒนาบุคลิกภาพลูก – เด็กทุกคนมีบุคลิกเฉพาะตัวเมื่อเกิดมา แต่สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับการเลี้ยงดูก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดบุคลิกภาพของเด็กเช่นกัน ดังนั้นในช่วงวัยของเด็ก พ่อแม่ และผู้ดูแล ต่างก็มีความรับผิดชอบสำคัญในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสม เพื่อช่วยพัฒนาลักษณะของบุคลิกภาพที่ดีให้กับเด็ก
การพัฒนาบุคลิกภาพในเด็ก
บุคลิกภาพของเด็กมีหลายลักษณะ อาทิ ความมั่นใจ ความกล้าหาญ และความภาคภูมิใจในตนเองต่อวิธีที่พวกเขาปฏิบัติต่อตัวเองและผู้อื่น ในช่วงอายุสามถึงหกขวบ เป็นช่วงที่บุคลิกภาพของเด็กจะมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกฝังค่านิยม และแนวปฏิบัติบางอย่างที่จะช่วยให้พวกเขาเป็นคนที่มีความคิดเชิงบวกส่งผลต่อการมีบุคลิกภาพที่ดี เมื่อเด็กเรียนรู้ และจำลองพฤติกรรมและการสั่งสอนของพ่อแม่แล้ว พ่อแม่จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของลูก
วิธีพัฒนาบุคลิกภาพเด็ก
ผู้ปกครองหลายคนคิดว่าการสั่งสอนลูกเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำด้วยการพูดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก แต่ความจริงแล้ว เด็ก ๆ ไม่ได้พัฒนาค่านิยมในการหล่อหลอมบุคลิกภาพได้จากเพียงคำพูดหรือห้ามปรามของพ่อแม่ แต่เกิดจากพฤติกรรมที่แสดงออกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างมั่นใจ คือการให้ความสำคัญต่อการกระทำต่างๆ ที่มีส่วนต่อการพัฒนาบุคลิกภาพเชิงบวกของเด็ก ต่อไปนี้คือ 10 สิ่งที่คุณสามารถทำกับลูกตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อเตรียมพวกเขาให้กลายเป็นเด็กที่มีบุคลิกภาพที่ดี มีความคิดเชิงบวก ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ
10 เคล็ดลับ พัฒนาบุคลิกภาพลูก เพื่อชีวิตที่มีความสุขและสำเร็จ
1. หลีกเลี่ยงการตัดสินลูก
คำพูด คือสิ่งที่สร้างโลกได้ ในฐานะผู้ปกครอง การที่พ่อแม่ตัดสินหรือตีตราลูกสำหรับพฤติกรรมบางอย่าง อาจทำให้เด็กๆ เชื่อว่าตัวเองเขาเป็นคนแบบนั้นจริงๆ การตีตราเด็กเป็นเสมือนการปิดกั้นตัวเลือกในการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ความนับถือตนเองต่ำ จำไว้ว่าให้ระมัดระวังคำพูดของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พยายามแก้ไขข้อผิดพลาดของลูก
2. เป็นผู้ฟังที่ดี
เด็กเรียกร้องความสนใจตลอดเวลา เมื่อเด็กโตขึ้นพวกเขาจะมีความเป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยหัดเดินมีแนวโน้มที่จะแสดงออกมากขึ้นด้วยการพูดและสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทักษะทางภาษาของพวกเขากำลังพัฒนา ในฐานะผู้ปกครองสิ่งที่เหมาะสมสำหรับการช่วยพัฒนาลูกได้ คือ การที่พ่อแม่ตั้งใจฟังเรื่องราวของพวกเขาอย่างอดทน เพื่อช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจและมั่นคง สิ่งนี้ยังช่วยกำหนดความสามารถในการลำดับความสำคัญ การอดทนรอตั้งใจฟังเพื่อให้พวกเขามีบุคลิกภาพในการเป็นผู้ฟังที่ดีในอนาคต และช่วยพัฒนาความมั่นใจในการสื่อสารของพวกเขา
3. เข้าใจในสิ่งที่ลูกขาดหายไป
พ่อแม่หลายคนคาดหวังว่าลูกของเราจะต้องเก่งในทุกสิ่งที่ทำ และเมื่อเด็กไม่ตรงกับความคาดหวัง ก็อาจแสดงความผิดหวังต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจเผลอกล่าวหาเด็กๆ ว่าไม่มีความสามารถเพียงพอ หรือแสดงท่าทีไม่พอใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะยิ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อการนับถือตัวในเองของลูก ความจริงคือ เด็กแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัวที่แต่กต่างกันไป ในฐานะผู้ปกครองควรสนับสนุนลูกและชี้แนะพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างใจเย็นและเข้าใจ เพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก โดยไม่ลดความมั่นใจในตนเองของเด็กลง
4. ละเว้นจากการเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบลูกของคุณไม่ว่ากับใครก็แล้วแต่ สามารถสร้างความเสียหายอย่างมากต่อบุคลิกภาพของเด็กได้ การเปรียบเทียบเด็กกับใครบางคนอย่างต่อเนื่องจะทำให้เด็กเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าเขาดีไม่พอ เด็กจะสับสนเกี่ยวกับตัวตนของตัวเอง และเริ่มเลียนแบบผู้อื่น ดังนั้นการเคารพในความเป็นตัวของตัวเองของเด็กถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่สุดในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกของคุณ และจะสามารถนำสิ่งที่ดีที่สุดในตัวพวกเขาออกมาได้อย่างไม่ต้องสงสัย
วิธี ฝึกลูกให้เห็นคุณค่าในตัวเอง เมื่อลูกมั่นใจจะทำอะไรก็สำเร็จ
10 นิสัยที่ควรสอนลูก ปูทางให้เป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต
อย่าหาทำ! 10 ข้อผิดพลาดในการ สั่งสอนลูก ที่พบได้บ่อย!
5. เป็นแบบอย่างในพฤติกรรมที่เหมาะสม
เด็กเรียนรู้สิ่งที่พวกเขาเห็นมากกว่าสิ่งที่พวกเขาได้ยิน ดังนั้น การนำสิ่งที่คุณสนับสนุนและสั่งสอนลูกไปปฏิบัติจริงให้ลูกได้เห็น จะช่วยสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับพวกเขา เริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น การแสดงความเคารพและขอบคุณผู้ใหญ่ด้วยการไหว้ เด็กๆ จะทำตามสิ่งที่คุณทำ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่คุณสั่งสอนลูกไป
6. ให้เวลาลูกได้เล่นอย่างอิสระ
การได้เล่นอย่างอิสระของเด็กถูกจำกัดอย่างมากในยุคนี้ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ แต่ความจริงคือ ไม่มีอะไรที่จะสอนค่านิยม เช่น การแบ่งปัน การดูแล จิตวิญญาณของทีม และความยืดหยุ่น ได้ดีไปกว่าการได้เล่นอย่างอิสระ การได้เล่นกีฬาเป็นทีมร่วมกับเด็กคนอื่นๆ การได้เล่นอย่างอิสระล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
น่าเสียดายที่พ่อแม่หลายคนมักจำกัดเสรีภาพในการให้ลูกได้วิ่งเล่นอย่างอิสระ บางคนอาจถึงกับห้ามไม่ให้ลูกเล่นกีฬาเพราะต้องการให้ลูกสนใจและมุ่งเน้นที่การเรียนอย่างเดียว ดังนั้นเพื่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่ดีโดยรวมของลูก พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมกับลูกอย่างแข็งขันในการเล่น นอกจากนี้ยังเป็นการดีสำหรับเด็ก ที่จะได้ผ่อนคลายจากความเครียดจากการเรียนในแต่ละวันซึ่งจะช่วยปรับสมดุลชีวิตให้เด็กๆ ยังคงสดใสร่างเริงสมวัย
7. จำกัดเวลาหน้าจอ
ลูกติดมือถือ ติดเกม เป็นปัญหายุคใหม่ที่ผู้ปกครองหลายคนต้องเผชิญ ผลการศึกษาพบว่าการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไปส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางปัญญาและสังคมของเด็ก การเล่นเกมบนอุปกรณ์พกพานำไปสู่การเสพติด และทำให้มีเวลาน้อยลงสำหรับการโต้ตอบทางสังคม ใช้เวลากับลูกของคุณมากขึ้นในการเล่นที่ไม่ต้องพึ่งหน้าจอ และเดินทางท่องเที่ยว เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอุปกรณ์ต่างๆ และมอบประสบการณ์ชีวิตจริงของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเขา
8. ทำกฏกติกาให้เคลียร์
การให้ความกระจ่างแก่เด็กเกี่ยวกับความรับผิดชอบของพวกเขา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความเข้าใจและยอมรับในเหตุผลหรือกฎเกณฑ์ของพ่อแม่ บางครั้งพ่อแม่ล้มเหลวในการสื่อสารสิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากเด็ก และอาจจบลงด้วยการกล่าวหาว่าพวกเขาประพฤติตัวไม่เหมาะสม ถ้ากฎระเบียบของพ่อแม่ตรงไปตรงมาและชัดเจน เด็กจะเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของเขาให้สอดคล้องกับความคาดหวัง อาจต้องใช้เวลาสำหรับเด็กในการปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่การยึดมั่นในกฏกติกาอย่างต่อเนื่องคือสิ่งที่ควรทำให้เป็นนิสัยในที่สุด
9. ส่งเสริมให้ลูกได้ทำด้วยตัวเอง
พ่อแม่ที่มีลูกวัยเตาะแตะ มักจะช่วยเหลือลูก ในการทำสิ่งต่างๆ แม้แต่สิ่งที่เด็กสามารถทำเองได้ ที่พวกเขาหยุดส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกลักษณะหรือความเป็นอิสระใดๆ แม้ว่าการดูแลและเลี้ยงดูเป็นสิ่งสำคัญ แต่การสอนเด็กให้ค่อยๆ จัดการความรับผิดชอบง่ายๆ ของพวกเขาอย่างช้าๆ สำหรับสิ่งต่างๆ เช่น จัดกระเป๋านักเรียน แปรงฟัน หรือทำการบ้าน คุณสามารถส่งเสริมให้บุตรหลานของคุณมีอิสระและควบคุมดูแลเพียงเล็กน้อย สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ฝึกเด็กๆ ให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็นเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงความรู้สึกรับผิดชอบของพวกเขาด้วย
10. เลี้ยงลูกอย่างสุภาพอ่อนโยน
การตำหนิหรือลงโทษลูกทางร่างกาย หรือตะโกนใส่ลูก เมื่อลูกทำบางอย่างผิดพลาดจะทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลงสำหรับคุณและเด็ก การอธิบายผลที่ตามมาของการกระทำผิดอย่างอดทน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการนำความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการมาสู่จิตใจของเด็กๆ เมื่อคุณตะคอกใส่ลูก เขาจำเป็นต้องกลัวและไม่เข้าใจผลที่ตามมาจากการกระทำของเขา การอธิบายหรือแม้กระทั่งบางครั้งปล่อยให้เขาประสบผลจากการกระทำของเขาจะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดีขึ้น
บุคลิกภาพของลูกจะเป็นอย่างไร สำคัญที่สุด คือ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู ในช่วงอายุ 3 – 6 ขวบ การที่เด็กได้เห็นเป็นแบบอย่าง การได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจในพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมจากพ่อแม่ จะช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ ได้ซึบซับวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการแสดงออก เมื่อพ่อแม่เข้าใจในธรรมชาติของลูก และวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพให้ลูก ก็จะช่วยส่งเสริมและเสริมสร้างพัฒนาการตลอดจนทักษะชีวิตที่ดีให้กับลูกได้ โดยเฉพาะทักษะ ความฉลาดของการเข้าสังคม (SQ) ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตที่ดีและความสำเร็จในชีวิตลูกค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : parenting.firstcry.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
10 นิสัยที่ควรสอนลูก ปูทางให้เป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต
เจาะลึก 12 สไตล์การเลี้ยงลูก ส่งผลต่อเด็กต่างกันอย่างไร
ลูก เครียดเพราะเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่