อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม เช็คด่วน! ลูกเราเป็นไหม? - Amarin Baby & Kids
อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม เช็คด่วน! ลูกเราเป็นไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม
อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม – อลิซในแดนมหัศจรรย์ไม่ได้เป็นเพียงชื่อของวรรณกรรมเยาวชนสุดคลาสสิคตลอดกาล หรือภาพยนตร์แนวแฟนตาซีที่โด่งดังไปทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อของอาการเจ็บป่วยทางสมองที่หลายคนอาจยังไม่รู้จักอย่าง “Alice in the Wonderland Syndrome” (AIWS) ผู้ที่ป่วยโรคนี้จะมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวมีขนาดใหญ่หรือเล็กผิดปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะความผิดปกติบางอย่างของสมองโดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม เช็คด่วน! ลูกเราเป็นไหม?

ทำความเข้าใจ Alice in the Wonderland Syndrome (AIWS)

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม (AWS)  ถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 2495 และได้รับการตั้งชื่อในปี 2498 โดย จอห์น ทอดด์ นักจิตแพทย์ชาวอังกฤษ เป็นภาวะอาการป่วยที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุ 5-10 ปี แต่สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน โรคนี้ไม่ได้เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับสายตาหรือประสาทหลอน แต่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่ทำหน้าที่แปรเปลี่ยนสัญญาณภาพไปยังสายตา

อาการของ AIWS มักเกิดในช่วงหัวค่ำหรือตอนกลางคืน โดยลักษณะอาการที่สำคัญ คือ

  • ภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป  ผู้ป่วยจะมีการรับรู้ผิดเพี้ยนขนาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศรีษะ และมืออาจดูไม่สมส่วน  อาจรู้สึกว่าตัวเองตัวใหญ่หรือเล็กกว่าความเป็นจริง
  • มองเห็นวัตถุรอบตัวผิดเพี้ยนไป อาการที่สำคัญอีกลักษณะหนึ่งของ AIWS คือ ผู้ป่วยรับรู้ขนาดของวัตถุรอบตัวผิดเพี้ยน  เช่น อาจพบว่าห้องที่ตัวเองกำลังนั่งอยู่ หรือเฟอร์นิเจอร์รอบๆ ห้อง ดูเหมือนเคลื่อนที่ได้  รู้สึกว่าสิ่งรอบตัวห่างออกไป หรืออยู่ใกล้กว่าที่เป็นจริง เด็กบางคนอาจมองเห็นพ่อแม่มีขนาดศรีษะที่ใหญ่ผิดธรรมชาติซึ่งทำให้ร้องไห้ตกใจกลัว หรือเด็กบางคนอาจรู้สึกว่าหัวตัวเองเหมือนเป็นลูกโป่งที่กำลังลอยไปในอากศ
  • มองเห็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง ผู้ป่วยบางรายมองเห็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่ และอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์ และเหตุการณ์บางอย่าง นอกจากการรับรู้ทางสายตาจะบิดเบี้ยวแล้ว การรับรู้ทางสัมผัส และทางการได้ยินก็เช่นกัน โดยเสียงที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเบา ผู้ป่วย AIWS จะรู้สึกว่าเสียงนั้นดังหนวกหูมาก เป็นต้น

โดยทั้งสามลักษณะอาการ สามารถเกิดขึ้นได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดพร้อมกันได้ ในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเสียการรับรู้เรื่องของเวลา โดยเวลาอาจดูเหมือนผ่านไปอย่างช้า ๆ หรือเร็วเกินไป

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม
อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม

ลูกมีเพื่อนทิพย์! เพื่อนในจินตนาการ ชอบพูดคนเดียวปกติไหม?

ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกไม่เล่นของเล่น ที่ซื้อให้ เล่นแต่อะไรก็ไม่รู้!?

ลูกชอบกัดเล็บ ควรกังวลไหม ควรทำอย่างไรให้ลูกเลิกกัดเล็บ

สาเหตุของ Alice in the Wonderland Syndrome

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ AIWS ยังค่อนข้างคลุมเครือ  แต่ทางการแพทย์ลงความเห็นว่า AIWS มักมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวไมเกรน นอกจากนี้ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบการรับรู้ทางการมองเห็นผิดปกติ โรคลมบ้าหมูกลีบขมับ (TLE) เนื้องอกในสมอง ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และการติดเชื้อ Mononucleosis ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจาก ไวรัส Epstein-Barr (EBV) ซึ่งเป็นไวรัสเริมชนิดหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้สมองอักเสบเฉียบพลัน

การรักษา Alice in the Wonderland Syndrome

การวินิจฉัยโรคนี้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาการที่พบของโรค อาจมีความสับสนและดูคล้ายคลึงกับอาการผิดปกติทางอารมณ์ โรคจิตเภท หรือปัญหาการรับรู้อื่นๆ  ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ให้หายขาดได้โดยตรง แต่สามารถทำให้อาการบรรเทาลงได้

โดยทั่วไปการรักษาขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวนทางสายตา ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการเห็นภาพที่ผิดธรรมชาติได้หลายครั้งในระหว่างวัน และอาจใช้เวลาสักครู่จึงจะบรรเทาลง ผู้ป่วยอาจรู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวล และตื่นตระหนก แต่อาการเหล่านี้โดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย และมีแนวโน้มจะค่อยๆ จางหายไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม
อลิซในแดนมหัศจรรย์ซินโดรม

แม้ว่าทางการแพทย์ยังไม่มีการรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ เป็นเพียงการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น แต่ความจริงที่พบ คือ เด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการของโรคนี้ เมื่อโตขึ้นอาการต่างๆ จะหายไปได้เอง เนื่องจากการกระตุ้นของเยื่อหุ้มสมองลดลง และการรับรู้ทางสายตาจะโตเต็มที่การคอยสังเกตอาการของลูกจะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้  การปลูกฝังให้ลูกสื่อสาร และอธิบายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองจะช่วยให้เด็กๆ เกิดความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) และช่วยให้พ่อแม่รู้เท่าทันความเจ็บป่วยต่างๆ ของลูก เพื่อพาเข้าสู่กระบวนการรักษาหรือบรรเทาอาการได้อย่างทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : healthline.com , unitedwecare.com , ncbi.nlm.nih.gov

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ด(ไม่)ลับ ลูกเป็นหวัดคัดจมูก วิธีแก้แบบไม่ใช้ยา

แบบนี้ต้องระวัง! อาการป่วยในเด็ก อายุ 0-3 ปี ที่พ่อแม่ต้องรู้ให้ทัน

หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูติดเชื้อในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กถ้าลูกป่วย!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up