ยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วละค่ะ ว่าวิธีการรับมือเมื่อ ลูกโดนบูลลี่ ในโรงเรียน จะเป็นเรื่องไกลตัวที่พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องอ่านไว้ หรือรู้ไว้ เพียงเพราะคิดว่า คงไม่เกิดขึ้นกับลูกเรา จะเห็นได้ชัดว่าช่วงปีสองปีที่ผ่านมา มีกรณีน่าเศร้า จากการที่เด็ก โดนเพื่อนบูลลี่ เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยครั้ง ซึ่ง การโดนบูลลี่ ก็มีทั้งที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน และอาจต่อเนื่องด้วย การโดน ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่ตามสถิติ ไทยเราติด อันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว
จากกรณี เด็กหญิง ป.6 ผูกคอดับ ที่ห้องพัก พื้นที่ จ.นนทบุรี สันนิษฐาน ลูกโดนบูลลี่ อย่างหนัก เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่าเศร้าที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย ซึ่งคงไม่มีพ่อแม่ผู้ปกครองคนไหนอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับลูกหลานของเรา แต่การอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่อย่างในโรงเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะระแวดระวังเรื่องการที่ลูกโดนบูลลี่ได้ตลอด
โดยในที่เกิดเหตุ พบศพ ด.ญ.เอ (นามสมมติ) อายุ 12 ปี นักเรียนชั้น ป.6 สภาพ สวมกางเกงขายาว สวมเสื้อยืดสีดำ บริเวณลำคอมีรอยถูกรัด ตรวจไม่พบบาดแผลตามร่างกาย หรือร่องรอยถูกทำร้าย แพทย์ชันสูตรเบื้องต้นเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ภายหลังแม่ผู้เสียชีวิตให้การว่า “ลูกเคยบ่นให้ฟังว่ามีปัญหากับเพื่อนๆ ในกลุ่มที่โรงเรียน เพื่อนไม่ยอมพูดด้วย ในกลุ่มที่เล่นเฟซบุ๊ก และโดนเพื่อนดีดออกจากกลุ่ม แม่ไม่คิดว่าลูกสาวจะมาคิดสั้น เพราะเรื่องนี้”
ลูกโดนแกล้ง พ่อแม่ช่วยได้ ป้องกันก่อนสายใช้กำลัง- ฆ่าตัวตาย
7 วิธีสร้างเกราะป้องกัน ลูกถูกบูลลี่ และไม่ให้ลูกบูลลี่คนอื่น
แพทย์เผย! เด็กไทย ชอบแกล้งเพื่อน ติดอันดับ 2 ของโลก!
อุทาหรณ์ เด็กถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียน จนฆ่าตัวตาย
ทำความเข้าใจ ประเภทของการบูลลี่
การบูลลี่สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 4 ประเภท ได้ดังนี้
- การใช้กำลัง หรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การตบ ตี ชกต่อย การข่มขู่ ทำลายข้าวของให้เสียหาย
- การใช้คำพูด เป็นการพูดทำร้ายความรู้สึก เช่น การพูดจาข่มขู่ วิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียน เยาะเย้ย เป็นต้น
- การบูลลี่ทางสังคม (Social Bullying) ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น กดดันให้ออกจากกลุ่ม กีดกันไม่ให้ใครเข้าใกล้ หรือไม่ให้อยู่ในกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน
- การบูลลี่ทางโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) หรือเรียกว่า การระรานทางไซเบอร์ เป็นการกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นโดยการใช้สื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ซึ่งถือเป็นการกลั่นแกล้งในวงกว้าง ที่รุนแรงมากกว่าในรั้วโรงเรียน หรือในกลุ่มเพื่อน
ปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า เด็กไทยมีความเสี่ยงต่อภัยออนไลน์ จากปัญหา ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) ด้วยสื่อออนไลน์ เป็นสิ่งที่ไม่จำกัดสถานที่ ไม่ต้องไปโรงเรียนแล้วถึงจะถูกแกล้ง บางทีอยู่ที่บ้านในห้องนอน เปิดมือถือมา ก็เจอข้อความถูกเพื่อนโพสต์ด่า ซึ่งทำให้เกิดความเครียด หรือ จิตตกได้ทันที และหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดเรื่องรายตามมาได้โดยไม่คาดคิด
สถิติ จากผลสำรวจ พบเด็กไทยถึง 48% ที่เคยเกี่ยวข้องกับการ บูลลี่ และการกลั่นแกล้งบนโซเชียลมากกว่า 39 ข้อความ ต่อนาที โดยพบมากในเด็กมัธยมหรือช่วงวัยรุ่น ส่วนใหญ่ ประมาณ ม.1-ม.4 ซึ่งเป็นวัยที่เด็กมีมือถือกันแล้ว และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และที่น่าตกใจคืออายุที่พบก็เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้พ่อแม่มือใหม่ที่มีลูกในวัยเตรียมเข้าโรงเรียนก็ดี หรือที่มีลูกในวัยสุ่มเสี่ยงจะเกิดเหตุก็ดี ควรจะต้องรู้เทคนิคในการรับมือกับเรื่องเหล่านี้อย่างเร็วที่สุดแล้วค่ะ
สัญญาณบ่งบอก เมื่อลูกอาจโดนบูลลี่
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่าการบูลลี่ ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในโรงเรียน พ่อแม่จึงต้องหันมาใส่ใจ คอยสอดส่อง สังเกตพฤติกรรมลูกขณะอยู่ที่บ้านด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูก ตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ หากลูกมีอาการ หงุดหงิด เกิดความวิตกกังวล มีความกลัว หรือ บ่น ว่าไม่อยากไปโรงเรียน ที่สำคัญ คือ มีร่องรอยการถูกทำร้าย ผู้ปกครอง หรือคนใกล้ชิดควรพูดคุยแบบเปิดใจ เพื่อหารือ ถึงแนวทางในการแก้ไข ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย
เมื่อรู้ว่าลูกโดนเพื่อนบูลลี่ พ่อแม่ควรทำอย่างไร
สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจกับตัวเอง
- เราไม่สามารถสร้างแต่สิ่งแวดล้อมที่ดีรอบตัวลูกได้ (และนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำมากๆ)
- อุปสรรคและปัญหา สร้างคนที่เข้มแข็งขึ้นเสมอ
- ถ้าเราสร้างเด็กที่เข้มแข็งและจัดการปัญหาได้ เรากำลังสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้ใจลูก
- เด็กอาจต้องการคนช่วยคิดทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ไม่ได้ต้องการคนเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ทุกอย่าง
- เด็กทุกคนต้องการเวลา และโอกาสในการพัฒนาตัวเอง
- การลงโทษ การจับมาขอโทษ ให้มันจบๆ ไป “ไม่ได้ช่วยอะไร” อย่างแท้จริง หาที่มาและแก้ไขสาเหตุของการล้อแกล้งรังแกนั้นเสมอ
เมื่อพ่อแม่ได้ทราบวิธีรับมือเบื้องต้นว่า พ่อแม่ควรเริ่มคุยกับลูกอย่างไร รับฟังลูก อยู่เคียงข้างลูก ช่วยลูกจัดการกับปัญหาที่พบอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกลูกคิดแก้ปัญหา ได้เลือกวิธีแก้ปัญหาของตัวเอง เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนในสังคมโรงเรียนได้มีความสุข ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมความฉลาด (Power BQ) ให้ลูกได้หลายด้านเลยค่ะ ทั้ง ฉลาดคิด (TQ) ฉลาดเข้าสังคม (SQ) ฉลาดเผชิญอุปสรรค (AQ) และสามารถผ่านพ้นเรื่องราวแย่ๆ ในชีวิตไปได้อย่างราบรื่นค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.khaosod.co.th,www.thansettakij.com,เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
จิตแพทย์เด็กเผย! วิธีรับมือเมื่อ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง (Bullying)
ทำไม ลูกไม่อยากไปโรงเรียน หรือ “ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน” ที่พ่อแม่ต้องช่วยหาทางแก้
สอนลูกให้เข้มแข็ง พร้อมสู้ปัญหาและอุปสรรค
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่