ภาวะรังที่ว่างเปล่า รู้เอาไว้! ก่อนลูกโตไปแล้วห่างเหิน - Amarin Baby & Kids
ภาวะรังที่ว่างเปล่า

ทำความเข้าใจ ภาวะรังที่ว่างเปล่า ก่อนลูกต้องห่างจากอ้อมอก

Alternative Textaccount_circle
event
ภาวะรังที่ว่างเปล่า
ภาวะรังที่ว่างเปล่า

ภาวะรังที่ว่างเปล่า – ดูเหมือนว่าเมื่อวานนี้คุณเพิ่งจะอุ้มทารกแรกเกิดตัวน้อยไว้ในอ้อมแขน และสัญญาว่าจะรักและดูแลเขาตลอดไป ตัดภาพกลับมาที่ตอนนี้ ลูกคนสุดท้องของคุณกำลังเก็บข้าวของออกจากบ้านไปหาที่พักใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ทันใดนั้น คุณเกิดความรู้สึกแปลกๆ และไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับความรู้สึกนี้อย่างไร

สิ่งนี้ คือความรู้สึกตามปกติที่เกิดขึ้นได้กับพ่อแม่ทุกคนที่ลูกๆ หายหน้าหายตาออกไปจากบ้าน บ้านที่เคยมีแต่เสียงหัวเราะและความสุขของพ่อแม่ลูก ซึ่งภาวะอาการนี้ มีชื่อที่เรียกว่า ภาวะรังที่ว่างเปล่า (Empty Nest Syndrome) ซึ่งเกิดจากการปรับตัวไม่ทัน ความรู้สึกสูญเสีย ความเศร้า ความวิตกกังวลและความกลัว เป็นเรื่องปกติในหมู่พ่อแม่ที่มีอาการนี้  และภาวะนี้มีผลต่อทั้งชายและหญิงได้เช่นเดียวกัน

ทำความเข้าใจ ภาวะรังที่ว่างเปล่า ก่อนลูกต้องห่างจากอ้อมอก

ภาวะรังที่ว่างเปล่า (Empty Nest Syndrome) คืออะไร?

นายแพทย์พร ทิสยากร จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงภาวะรังที่ว่างเปล่านี้ว่า “เป็นอาการเมื่อผู้ปกครองรู้สึกเหงา เศร้า เสียใจ จากสาเหตุเมื่อผู้เป็นลูกโตขึ้นและต้องออกจากบ้านไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง จากเคสที่เคยพบได้บ่อยมักผู้หญิงวัยกลางคน อายุ 40 – 50 ปี ที่มีลูกวัยเริ่มเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

และต่อไปนี้คือสัญญาณห้าประการที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการนี้

1. การสูญเสียวัตถุประสงค์ในชีวิต

วันเวลาส่วนใหญ่ในอดีตของคุณเคยใช้ไปกับการต้องดูแลลูก ส่งลูกไปเรียนพิเศษ ประชุมผู้ปกครอง-ครู  โดยสารรถร่วมกัน และ มีความสุขในงานเลี้ยงวันเกิด เมื่อความเร่งรีบและบรรยากาศที่มีความสุขในการเลี้ยงลูกกลายเป็นอดีตไปแล้ว แม้จะมีเพื่อนครอบครัว งาน และกิจกรรมอื่น ๆ ให้ได้ทำ แต่วันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน คุณอาจรู้สึกว่างเปล่าอยู่บ้าง ข่าวดีก็คือหลังจากช่วงเวลาปรับตัว คุณจะพบจุดมุ่งหมายใหม่ในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้เวลาหางานอดิเรกใหม่ๆ หรือรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในขณะที่คุณปรับตัวเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกถึงความเศร้าโศกเมื่อคุณตกลงกับความจริงที่ว่าบทหนึ่งในชีวิตของคุณสิ้นสุดลงแล้ว อย่าละสายตาจากบทใหม่ที่กำลังเริ่มต้น – ในชีวิตของลูกและของคุณเอง

ภาวะรังที่ว่างเปล่า
ภาวะรังที่ว่างเปล่า

2. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อลูกมีโลกส่วนตัว

มันเป็นเวลาหลายปีที่คุณสามารถควบคุมการจัดตารางชีวิตของลูก ๆได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนทุกอย่างเปลี่ยนไป วันนี้คุณอาจไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับวันของพวกเขาเหมือนที่เคยผ่านมา เมื่อลูกเข้าเรียน ไปทำงาน ออกเดท หรือไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ อาจทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด คุณอาจรู้สึกอึดอัดไม่มากก็น้อยที่ไม่ทราบรายละเอียดของตารางเวลาในแต่ละวันของบลูก

มีการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเลี้ยงในแบบที่พ่อแม่มีส่วนร่วมมากเกินไปและมักชอบบงการชีวิตลูก ผลการศึกษาพบว่าทำให้ความรู้สึกเป็นอยู่ที่ดีลดลงในเด็กวัยเรียนได้ แม้ว่าพ่อแม่จะมีเจตนาที่ดีที่สุด แต่เมื่อเด็กกลุ่มนี้เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มสาว อาจไม่พอใจสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นการก้าวก่ายชีวิตใหม่ของพวกเขาเหมือนที่พ่อแม่เคยทำเมื่อพวกเขายังเป็นเด็ก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยินดีรับคำแนะนำจากคุณ แต่การคิดแทนหรือให้คำแนะนำมากเกินไปจะขัดขวางลูกของคุณจากการเรียนรู้ที่จะตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตด้วยตัวเอง

ทางที่ดีควรมองว่าลูกของคุณกำลังใช้ทักษะที่คุณสอนพวกเขาเพื่อเริ่มต้นชีวิตของตัวเอง และนี่คือช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับพวกเขา พยายามมั่นใจในความสามารถในการเรียนรู้และเติบโตอย่างอิสระ การเป็นปัจเจกบุคคลสามารถช่วยคนหนุ่มสาวให้เป็นคนของตัวเองได้อย่างไร แม้ลูกของคุณอาจยังต้องการคุณอยู่ แต่บทบาทของคุณตอนนี้ควรเป็นที่ปรึกษาคนหนึ่ง แทนที่จะเป็นผู้สั่งสอนหรือช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตของพวกเขา

แทนที่จะพยายามควบคุมรายละเอียดในชีวิตของลูก ให้มุ่งเน้นไปที่การรับมือกับความรู้สึกแย่ที่อาจเกิดขึ้นด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยแนวคิดเหล่านี้:

  • ทำตามความสนใจที่คุณไม่เคยมีเวลาได้ทำในอดีต เช่นงานอดิเรก ต่างๆ
  • หาความรู้ใหม่ๆ เข้าชั้นเรียนออนไลน์ในหัวข้อที่น่าสนใจ
  • นัดพบปะเพื่อนเก่าอีกครั้ง
  • เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อให้ชีวิตไม่น่าเบื่อ

เมื่อเวลาผ่านไปการมีรังว่างจะง่ายขึ้น คุณจะคุ้นเคยกับการที่ลูกของคุณต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง และคุณสามารถเริ่มพัฒนาความรู้สึกปกติใหม่ในชีวิตของคุณได้

 

ภาวะรังที่ว่างเปล่า

 

3. ความทุกข์ทางอารมณ์

หากคุณน้ำตาไหล รู้สึกหดหู่ ขับรถอย่างเหม่อลอย เมื่อนึกถึงอดีตระหว่างคุณและลูก ให้รู้ว่านี่เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

ภาวะอาการรังที่ว่างเปล่า สามารถกระตุ้นอารมณ์ที่หลากหลายให้เกิดขึ้นได้ โดยคุณอาจเกิดความรู้สึก ต่างๆ ได้ดังนี้ :

  • เสียใจที่ลูกโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
  • โกรธตัวเองที่อาจเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดีพอสำหรับลูกๆ ในอดีตที่ผ่านมา
  • กังวลเกี่ยวกับสถานะของการแต่งงานของคุณ
  • กังวลกับอายุที่มากขึ้น กลัวการเจ็บไข้ได้ป่วย
  • ผิดหวังที่ลูกไม่อยู่ในชีวิตของคุณเหมือนเดิมอีกต่อไป

จงปล่อยให้ตัวเองรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และจำไว้ว่าอารมณ์นั้นไม่ได้ถูกหรือผิด แต่เป็นภาพสะท้อนของสถานการณ์ที่คุณกำลังเผชิญ การประสบกับอารมณ์ที่ไม่สบายใจอย่างหนักหน่วง ต้องใช้เวลาจนกว่าความรู้สึกเหล่านั้นจะบรรเทาลงเอง ความจริงแล้วมีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้ความรู้สึกเหล่านั้นดำเนินไปและจางหายไปเร็วขึ้น

4. ความเครียดในชีวิตสมรส

ในกระบวนการเลี้ยงลูก คู่รักหลายคู่อาจละทิ้งความสัมพันธ์อันหวานชื่นไป และทำให้ครอบครัวหมุนรอบลูกๆ จนความหวานเหมือนจะกลายเป็นฝุ่นไปแล้ว หากคุณละเลยการใช้ชีวิตคู่ที่หวานนิดๆ โรแมนติกหน่อยๆ มานานหลายปี คุณอาจจะพบว่าความสัมพันธ์ของคุณอาจต้องการบางสิ่งบางอย่างที่กล่าวมา เมื่อลูกๆ ของคุณเริ่มหายหน้าไป คุณอาจไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับตัวเองในฐานะคู่รัก เพราะกิจกรรมของคุณมักจะเกี่ยวกับโรงเรียนและกิจกรรมของเด็กๆ มากกว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา  ดังนั้นการได้รู้จักกันและกันและมีเวลาร่วมกันสองคนมากขึ้นอีกครั้งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องท้าทาย

นอกจากนี้ คู่รักบางคู่พบว่าพวกเขามีปฏิกิริยาแตกต่างกันไปจากการมี ภาวะรังที่ว่างเปล่า หากคุณคนใดคนหนึ่งกำลังปรับตัวเพื่อให้ชีวิตยามที่ลูกห่างหายให้ดีขึ้น หรือไม่ทุกข์ร้อนมากนักกับชีวิตที่ไม่มีลูกในบ้านมากกว่าคู่ของคุณ คุณอาจพบกับความตึงเครียดในความสัมพันธ์มากขึ้นได้ ดังนั้นจงตั้งเป้าหมายเพื่อทำความคุ้นเคยกับชีวิตคู่ ให้เวลานี้เป็นโอกาสในการสานสัมพันธ์กับคู่ของคุณ และพากันค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้คุณตกหลุมรักกันได้เหมือนครั้งแรกตอนที่พบกันในวัยหนุ่มสาวอีกครั้ง

5. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตรหลาน

เป็นเรื่องปกติที่ไม่ได้ดูแลลูกใกล้ชิดเหมือนเมื่อตอนพวกเขายังเล็ก อาจมีบ้างที่คุณจะรู้สึกกังวลว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไรหลังจากที่พวกมีชีวิตเป็นของตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ปกติคือ ความรู้สึกวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าลูกของคุณจะผ่านแต่ละวันไปได้อย่างไร การเช็คความเคลื่อนไหวของลูกผ่านโซเชียลมีเดียอย่างหมกหมุ่นไม่ใช่ความคิดที่ดี  นี่เป็นโอกาสที่ลูกของคุณจะกางปีกและฝึกฝนโดยใช้ทักษะทั้งหมดที่คุณสอนในขณะที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่บ้าน สำหรับวิธีที่คุณจะไม่พลาดการติดต่อ คุณอาจตั้งค่าโทรศัพท์ทุกสัปดาห์ สื่อสารกับลูกบ่อยๆ ผ่านข้อความ หรืออีเมล หรือนัดทานอาหารเย็นประจำสัปดาห์ละครั้ง

 

ภาวะรังที่ว่างเปล่า

 

เมื่อคุณเป็นพ่อแม่ของเด็กหนุ่มสาวที่อายุ 18 ปีขึ้นไป นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่น่าใจหาย และสะเทือนอารมณ์ แต่วางใจได้เลยความรู้สึกที่คุณกำลังประสบอยู่จะค่อยๆ จางหายไปเมื่อคุณคุ้นเคยกับบ้านที่เงียบและมีชีวิตที่จดจ่ออยู่กับความปรารถนาและมีเวลาของตัวคุณเองมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่าชีวิตของคุณหดหู่่ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต หรือไม่มีค่าอีกต่อไป เป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวลของคุณอาจแย่กว่าปกติ ถ้าเป็นเช่นนั้นควรพิจารณษขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : verywellfamily.com , thestandard.co

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ด(ไม่)ลับ เลี้ยงลูกด้วยสติ ช่วยยุติได้ทุกปัญหา!

9 ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก ที่อาจทำลายอนาคตของลูกได้

ส่อง 10 เคล็ดลับ เลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะ แบบชาวยิว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up